Wednesday, March 18, 2015

ความหวังที่จะใช้อำนาจอุบาทว์แบบไทย ๆ ไปดำเนินคดีกับคนอเมริกัน

ยกบทความสั้น ๆ จากอาจารย์ธนบูลย์ ครับ... เห็นว่ามีประโยชน์กับพี่น้องทุกฝ่าย อ่านประดับปัญญาไว้นะครับ




ว่าด้วยเรื่องที่ทางราชการไทย จะนำสำนวนการสอบสวนในประเทศไทย พร้อมหมายจับ ไปขอความร่วมมือจากทางการสหรัฐอเมริกา เพื่อจับตัวผู้ร่วมกระทำความผิดในฐานะผู้จ้างวาน หรือ ผู้ใช้ ที่อาศัยอยู่ในสหรัฐอเมริกา กลับมาดำเนินคดีในประเทศไทย

นี่ไม่ได้ต่อต้านท่านผู้มีอำนาจ ที่มีอำนาจบริหาร(เถื่อน) อยู่ในมือ ในระบบกฏหมายสหรัฐอเมริกา ไม่เหมือนบ้านเรา ต่างกันไกลลิบลับ ไม่ใช่สำนวนสอบสวน ที่พวกคุณทำขึ้นชนิด ที่ขัดหรือแย้ง กับคำพิพากษาของ Supeme Court ของสหรัฐอเมริกา {ศาลรัฐธรรมนูญของสหรัฐฯ} ที่วางหลัเกณฑ์ ไว้ในคดีที่ชื่อว่า Ecobedo v. Illinois 378 U.S. 478 (1964) และคดีที่ดังลั่นไปทั้งโลก คือ Miranda v. Arizona 384 U.S. 436 (1966)  ที่วางหลักเกณฑ์เอาไว้ว่าในการสอบปากคำผู้ต้องหา หรือ จำเลย จะต้องมีทนายจำเลย นั่งอยู่ต่อหน้าคนสอบปากคำตลอดเวลา เพื่อให้เป็นพี่เลี้ยงให้คำปรึกษา

ก่อนลงมือสอบปากคำ ผู้สอบปากคำ ต้องเตือนสติจำเลยว่า "คุณมีสิทธิที่จะไม่ตอบคำถาม ผู้สอบปากคำ และมีสิทธิที่จะนิ่งเฉยเสีย" ดังที่ปรากฏข้อความในภาษาอังกฤษว่า " ํ You are entitled to remain silent..."
และห้ามไม่ให้เจ้าพนักงานตัดการคมนาคมทุกชนิด ระหว่างตัวจำเลย หรือ ผู้ถูกกล่าวหา กับญาติมิตรของเขา หรือคนที่เขาคบหาสมาคมด้วย หรือ In comicado)

ทั้งสามหลักการ ที่ผมได้บรรยายมาให้ทราบนั้น เป็นการค้ำประกันแก่จำเลย หรือผู้ต้องหาว่า คำให้การที่จำเลย หรือผู้ต้องหา ที่ได้ให้ไปกับเจ้าหน้าที่ผู้สอบปากคำเขา ได้กระทำไปโดยจำเลย หรือผู้ต้องหาในคดีอาญา มิได้ให้การปรักปรำตนเอง เป็นเหตุให้ตน ต้องคดีอาญา

เป็นการค้ำประกันสิทธิแก่พลเมืองโดยทั่วไป ไม่จำกัดเชื้อชาติ และสีผิว ฯลฯ ทั้งนี้คำพิพากษาของศาล Supreme Court ของสหรัฐในลำดับหลัง เป็นหลักเกณฑ์ใหญ่ในการดำเนินคดีอาญาฯ

ที่ประเทศไทยเอง เคยไปยืมหลักเกณฑ์นี้มาบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญของไทย ปี พ.ศ. ๒๕๔๐..ฯ
และหลักเกณฑ์ที่ว่านี้ก็ไปปรากฏอยู่ใน(สนธิสัญญาหลายฝ่าย) กติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิพลเมือง และสิทธิในทางการเมือง ปีค.ศ.๑๙๖๖ ที่ประเทศไทย ไปประกาศเข้าร่วมเป็นรัฐคู่ภาคีของสนธิสัญญานี้ ในปีพ.ศ.๒๕๓๙ และ ต้องให้สัตยาบันด้วยแก่สนธิสัญญาฉบับนี้ สนธิสัญญานี้ มีผลบังคับประเทศไทยในวันที่ ๑ มกราคม ปีพ.ศ.๒๕๔๐

ต้องถามตรงนี้ว่า คุณส่งสำนวนสอบสวนในคดีเรื่องนี้ไปยังกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐฯ ที่จัดว่า เป็นกระทรวงกองทัพนักกฏหมาย เขาจะยอมทำตามที่คุณร้องขอไปหรือไม่? ในการออกหมายจับคน ที่คุณอ้างว่า "เป็นผู้ร่วมการกระทำความผิดด้วยในฐานะ ผู้จ้างวาน หรือ ผู้ใช้ให้ผู้อื่นกระทำความผิดได้แน่หรือ?

ในเมื่อสำนวนการสอบสวนจำเลยทั้งหมดในคดีนี้ ได้จัดทำไป ขัดกับหลักกฏหมายของเขาโดยสิ้นเชิง กระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา จะทำให้ไทยได้ ๒ ประการสำคัญ คือ 

๑. เชิญผู้แทนกระทรวงต่างประเทศของไทย คือฑูตไทย ไปรับสำนวนการสอบสวนคืน

หรือ 

๒. หากฝ่ายไทยยังดึงดัน จะให้เขารับสำนวนการสอบสวน พร้อมหมายจับตัวผู้ร่วมกระทำผิด ถ้าคนผู้นั้น มีสัญชาติอเมริกัน เขาก็ไม่ดำเนินการให้ ถ้ายังมีสัญชาติไทยอยู่ พร้อมด้วยสัญชาติสหรัฐอเมริกา ที่เรียกว่า "Dual Nationality"  เขาก็จะใช้สิทธิตรงนี้ เรียกผู้แทนฝ่ายไทย พร้อมฑูตไทยไปยังกระทรวงต่างประเทศ ของสหรัฐอเมริกา พร้อมถามว่า "คุณจะรับสำนวนการสอบสวนของคุณกลับไปดีๆ หรือไม่" หากฝ่ายไทยยังคงยืนยันคำเดิม
เจ้าหน้าที่ของกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา ก็จะเชิญฝ่ายไทย ออกมาที่หน้ากระทรวงการต่างประเทศ พร้อมกับบอกว่า "คุณรอรับสำนวนการสอบสวนของฝ่ายคุณอยู่ตรงนี้" ว่าแล้ว ก็ขว้างสำนวนการสอบสวน พร้อมหมายจับตัวผู้กระทำความผิด ออกมาจากกระทรวงการต่างประเทศของสหรัฐอเมริกา

เอวัง ก็มีด้วยประการ ฉะนี้





No comments:

Post a Comment