Saturday, April 9, 2016

เรื่องราว ชีวิตทหารเกณฑ์ ถูกครูฝึกนับ10คนรุมซ้อมจนตายคาตีน

น้ำลดตอผุด ฉาวโฉ่ หยุดปกป้องทหารฆาตกร พวกมึงเองเสียที!
"ไอ้บิ๊กหมู" สั่งเอง-ย้ายด่วน! 'พ.ท.-ร.อ.'พ้นร.152พัน1 รับผิดชอบครูฝึกนับ10ตัวรุมซ้อม พลทหาร ป.โท 3วัน2คืนติต่อกัน...จนทีตายคาตีน
..

"ไอ้บิ๊กหมู"เผยย้ายทหาร "พ.ท.-ร.อ." พ้นร.152 พัน1 ชี้ต้องรับผิดชอบ ปมซ้อมทหารเกณฑ์ดับ

..

เมื่อวันที่ 7 เมษายน พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผู้บัญชาการทหารบก กล่าวถึงกรณี 6 นายทหารที่ร่วมกันลงโทษ พลทหารทรงธรรม หมุดหมัด สังกัด ร.152 พัน 1 ค่ายพยัคฆ์ อ.บันนังสะตา จ.ยะลา จนเสียชีวิต ว่า ตนได้สั่งให้ย้าย พ.ท.สมคิด คงแข็ง ผบ.ร.152 พัน 1 และนายทหารยศ ร.อ. ออกนอกหน่วยแล้ว เพราะถือว่าเป็นผู้ที่ต้องร่วมรับผิดชอบกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ในส่วนของทหาร 6 นายที่กระทำความผิดนั้น ขอยืนยันว่าจะไม่ปกป้อง พร้อมทั้งจะเอาผิดทางวินัยและอาญาขั้นสูงสุด ทั้งนี้ ในกองทัพบกกำลังพลประมานสองแสนนาย แต่มีทหารที่ไม่อยู่ในระเบียบวินัยแค่เพียงไม่กี่นายเท่านั้น เพราะฉะนั้นตนจึงไม่ต้องการให้สังคมเหมารวมว่าทหารทั้งหมดไม่ดี.....

..

เรื่องราว ชีวิตทหารเกณฑ์ ถูกครูฝึกนับ10คนรุมซ้อมจนตายคาตีน

ญาติของทหารเกณฑ์ ที่ถูกซ้อมอย่างทารุณ 3 วัน จนเสียชีวิตเมื่อ 4 ปีก่อน เปิดเผยความลำบากในการเอาผิดผู้กระทำผิด ระบุมีทุกรูปแบบ และผู้กระทำผิดยังได้เลื่อนยศ เธอย้ำว่าหากประชาชนไม่ทวงความยุติธรรม อาจมีทหารเกณฑ์รายต่อไปต้องเสียชีวิต
..
กระทู้ในเว็บไซต์พันทิป เปิดเผยรายละเอียดเอกสารการสอบสวนข้อเท็จจริงของกองทัพภาคที่ 4 ในกรณีการทารุณทหารเกณฑ์อย่างโหดเหี้ยม ในหน่วยฝึกทหารใหม่ ค่ายกรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เมื่อปี 2554
..
พลทหารวิเชียร เผือกสม อายุ 26 ปี บวชเรียนจนจบปริญญาตรีเกียรตินิยมอันดับหนึ่ง มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย และจบปริญญาโท คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ธรรมศาสตร์ สมัครเป็นทหารเกณฑ์เมื่อปี 2554
..
1 มิถุนายน 2554 หลังเข้าฝึกเพียงเดือนเดียว เขาถูกครูฝึกนับ 10 คนรุมทำร้าย โดยอ้างต้องลงโทษเพราะพยายามหลบหนีจากหน่วยฝึก 2 ครั้ง ทั้งการตบหน้า บังคับให้กินพริกสด ลากตัวไปกับพื้นปูน ใช้เกลือทาที่บาดแผล เหยียบหน้าอก ใช้ผ้าขาวห่อตัวเหลือแต่หน้า พร้อมมัดตราสังข์เหมือนศพทั้งที่ยังมีชีวิต
..
เขายังถูกบังคับให้กินข้าวบนก้อนน้ำแข็ง วางก้อนน้ำแข็งทับหน้าอก ถูกฟาดด้วยไม้ไผ่จนไม้ไผ่แตก 3 อัน ขาถูกแทงด้วยไม้ไผ่แหลม ถูกเตะที่ชายโครง หน้าอก กระทืบท้ายทอยจนคางแตก และเตะใบหน้าจนเลือดออกปาก
..
พยานในเหตุการณ์เล่าว่า พลทหารวิเชียรก้มลงกราบเท้าครูฝึก และขอร้องให้หยุดทำร้าย แต่ครูฝึกยังไม่หยุด เสียงร้องอย่างเจ็บปวด สลับกับเสียงกระทืบ ดังจนร้อยโทผู้บังคับหน่วยฝึก ชะโงกหน้าจากอาคารชั้นบนมาดู และพูดว่าอย่าทำแรงมากนัก ครูฝึกจึงพาพลทหารวิเชียรไปทำร้ายต่อบริเวณอื่น
..
หลังถูกรุมทำร้ายนาน 3 วัน พลทหารวิเชียรไตวายเพราะกล้ามเนื้อบาดเจ็บรุนแรง และเสียชีวิตที่โรงพยาบาลขณะอายุ 26 ปี สภาพศพบวมช้ำทั้งตัวจนญาติแทบจำไม่ได้ คือการฆ่าทรมานกลางสถานที่ราชการ ต่อหน้าผู้บังคับหน่วยฝึก ข้าราชการ และทหารใหม่ไม่ต่ำกว่า 200 คน
..
ผู้ตายคือน้าชายของ นริศราวัลถ์ แก้วนพรัตน์ หรือเมย์ ผู้เผยแพร่เรื่องราวในเว็บไซต์พันทิป เธอสูญเสียน้าชายขณะเรียนชั้นปี 2 และหลายครั้งต้องหยุดเรียน มาเดินเรื่องฟ้องคนฆ่าน้าชาย ซึ่งเต็มไปด้วยอุปสรรคตลอด 4 ปีที่ผ่านมา
..
ในงานศพพลทหารวิเชียร หน่วยทหารต้นสังกัดไม่ได้เปิดเผยเรื่องราวทั้งหมดแก่ญาติ แต่เสนอที่จะขอพระราชทานเพลิงศพและคลุมศพธงชาติ ซึ่งทางครอบครัวปฏิเสธ และเรียกร้องให้สืบสวนข้อเท็จจริง โดยส่งหนังสือไปยังหน่วยต่างๆ แต่ถูกเพิกเฉย
..
"เราตัดสินใจทำหนังสือร้องถึงกรมทหารราบที่ 151 ต้นสังกัดของพลทหารวิเชียร ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น ทำหนังสือถึงกองพลทหารราบที่ 15 ซึ่งดูแล 3 จังหวัดชายแดนใต้ และเป็นต้นสังกัด ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น หลังจากนั้นตัดสินใจยื่นหนังสือถึงแม่ทัพภาคที่ 4 ก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น จึงตัดสินใจเดินทางมากรุงเทพ ร้องเรียนกองทัพบก เรียนถึง ผบ.ทบ. ในช่วงนั้น คือ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา เพื่อขอความเป็นธรรม มันก็ไม่มีอะไรเกิดขึ้น" นริศราวัลถ์กล่าว
..
ในช่วงเวลานั้น ครอบครัวยังถูกข่มขู่ ทั้งการส่งกระสุนปืนมาที่บ้าน มีคนมาถามหาครอบครัวและมีรถตู้ปริศนามาจอดใกล้ที่พัก จนต้องขอกำลังตำรวจมาช่วยรักษาความปลอดภัยระหว่างการจัดงานศพ และก่อนเผาศพ พวกเขาส่งร่างพลทหารวิเชียรไปชันสูตรอย่างลับ ๆ ข้อสรุปที่ได้คือ เขาถูกทำร้ายร่างกายอย่างหนักจนเสียชีวิต
..
"คนหนึ่งโดนแล้ว เสียชีวิตไปแล้ว แล้วเขายังมายุ่งกับครอบครัวเรา เราก็ห่วงสวัสดิภาพของครอบครัวเรา ก็เลยได้พูดไปชัดเจนในงานศพต่อหน้าทหารที่มา และชาวบ้าน พระ อาจารย์ ทุกคน บอกเลยว่ากรณีนี้ หนูเป็นคนทำคนเดียว ที่บ้านหนูไม่เกี่ยวข้อง ไม่รู้เห็นในเรื่องคดีด้วย แค่เขาอยากได้ความเป็นธรรม แต่ในเรื่องขั้นตอนการเดินที่เราไม่ยอมแพ้ คือเป็นเรา ถ้าจะทำอะไรก็คือทำเรา อย่าไปยุ่งกับที่บ้านของเรา เพราะเขาไม่เกี่ยวข้อง ทุกวันนี้ก็เงียบลง ไม่มีการมายุ่งอะไร แต่มีบ้างบางครั้งที่มีผู้โทรมาคุยกับคุณแม่หนู หรือแม่ของพลทหารวิเชียร เสนอนู่นเสนอนี่" นริศราวัลถ์กล่าว
..
หลังตัดสินใจยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมกับพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ ประธานองคมนตรี แม่ทัพภาค 4 จึงทราบเรื่อง และเกิดการสอบสวนและสั่งลงโทษทางวินัยผู้เกี่ยวข้อง 16 นาย ทั้งภาคทัณฑ์ ขัง กักบริเวณ จำขัง และปลด ส่วนครอบครัวได้รับค่าสินไหมทดแทนกว่า 7 ล้านบาท
..
ส่วนการดำเนินคดีอาญาไม่คืบหน้ามา 4 ปี จนล่าสุด คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ หรือ ป.ป.ท. เพิ่งชี้มูลทหารที่ก่อเหตุ 10 ราย ทำผิดในข้อหาละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ รวมถึงร้อยเอกภูริ เพิกโสภณ ผู้บังคับหน่วยฝึกซึ่งดำรงยศร้อยโทขณะนั้น ที่ปัจจุบันได้เลื่อนขั้นเป็นว่าที่พันตรี
..
"บางครั้งมันอาจจะมีซ้อมหรือใช้ไม้ตีบ้าง แต่มันควรจะอยู่ในปริมาณที่คนเรารับได้ ไม่ใช่ 3 วัน 3 คืน แบบกรณีของพลทหารวิเชียร จิตใจเล่นด้วยความสนุกหรือว่าอะไรคะ ก็เลยอยากจะให้กองทัพทบทวนบทบาทของครูฝึกด้วย เพราะชายไทยทุกคนมีสิทธิได้ไปเป็นทหารไงคะ" นริศราวัลถ์กล่าว
..
ล่าสุดอัยการจังหวัดนราธิวาส เปิดเผยว่าขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาสำนวนคดี
..
นริศราวัลถ์ ยอมรับว่ามีหลายคนไม่เห็นด้วยการเดินหน้าฟ้องในคดีอาญา เพราะส่วนใหญ่คิดว่า สู้ยังไงก็ไม่ชนะคดี แต่เธอต้องการสู้เพื่อให้สังคมเห็นว่า ลูกชาวบ้าน ก็ลุกขึ้นมาทวงความยุติธรรมได้.....



สิ้นแล้วประยุทธ์ตายคาที่ ถูกกระชากหน้ากาก จับโกหกได้

สิ้นแล้วประยุทธ์ตายคาที่ ถูกกระชากหน้ากาก จับโกหกได้ แต่ทำเป็นเฉย กรณีรับสินบน"นายเจริญ-นางวรรณา( นอมินีทุนอำมาตย์สามานตย์" ในรูปแบบการซื้อที่ดินไร้ราคาของพ่อประยุทธ์ให้ราคาสูงเกินจริงไปได้ถึง 600 ล้าน เจาะฐานข้อมูลปานามาลีก แล้วประยุทธ์เน่าแน่ก่อนจะเรียกคนไทย 21 คนที่มีรายชื่อในปานามาลีกมาสอบ เอาเรื่องฉาวโฉ่ที่เสี่ยเจริญ-นางวรรณายกเอาเงินส่วนที่ฟอกอยู่เมืองนอกมาจ้างประยุทธ์ทำการยึดอำนาจก่อนเลย


คนไทยสิ้นสงสัย!เสี่ยเจริญโยก"หุ้นใหญ่"ซื้อที่ดินห่างไกลความเจริญของพ่อประยุทธ์ มีที่อยู่ชื่อบริษัทของเสี่ยเจริญบนเกาะบริติชเวอร์จิน แหล่งฟอกเงินผิดกฎหมายของมาเฟียทั่วโลก หนึ่งในนั้นคือ นายเจริญ-นางวรรณา ผัวเมียนักธุรกิจชั่วจ้างพลเอกประยุทธ์ยึดอำนาจ 22 พ.ค.57 หลังจากยึดอำนาจบริษัทเสี่ยเจริญ-นางวรรณาได้รับประโยชน์เอื้อทางธุรกิจมากมาย ประจานนายเจริญ-นางวรรณาได้เน่าไปทั่วโลกแล้ว


http://isranews.org/isranews-scoop/item/34206-com02_34206.html บิดาพลเอกประยุทธ์แก่มากแล้ว ไม่อยากลวงโลกเหมือนลูกชาย เกิดความไม่สบายใจรับราชการมาจนเกษียณแค่พันเอก และไม่เคยมีเงินมากพอสะสมซื้อที่ดินทิ้งไว้จนขายได้ราคาสูง 600 ล้าน เวรกรรมที่ประยุทธ์ก่อกรรมทำเข็ญ อย่ายกให้พ่อที่แก่เฒ่า พ่อไม่รู้เรื่อง ไม่สนใจอะไรแล้ว ตอนนี้นอนอย่างเดียว

ขอเชิญพี่น้องประชาชนร่วมคว่ำ รัฐธรรมนูญ ทรราช คสช.


ทัศนะของนักข่าวต่างชาติ ต่อนายกรัฐมนตรีทรราช ที่ชื่อ ".ประยุทธ์ จันทร์โอชา"

ทัศนะของนักข่าวต่างชาติ ต่อนายกรัฐมนตรีทรราช ที่ชื่อ ".ประยุทธ์ จันทร์โอชา"
-
หลังจาก สนช. มีมติเลือก ทรราช ประยุทธ์ จันทร์โอชา ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 29 ของประเทศไทย สื่อมวลชนจำนวนมากต่างก็ให้ความสนใจกับการเคลื่อนไหวและปูมประวัติของว่าที่ผู้นำคนใหม่
-
ไม่ใช่แค่สื่อไทยเท่านั้นที่ค้นคว้าเรื่องราวในแง่มุมต่างๆ ของ ทรราชประยุทธ์ กันให้จ้าละหวั่น แต่สื่อต่างชาติหลายสำนัก ต่างก็พยายามวิเคราะห์ถึงการขึ้นครองอำนาจของหัวหน้า คสช. รวมทั้งสิ่งที่ว่าที่นายกฯ อาจต้องเผชิญในอนาคต
-
นี่เป็นบางส่วนจากบทวิเคราะห์ของสื่อต่างชาติเหล่านั้น
-
โธมัส ฟุลเลอร์ ผู้สื่อข่าวนิวยอร์คไทม์ส แสดงทัศนะในบทวิเคราะห์ของเขาว่า การเข้าควบคุมอำนาจของกองทัพไทยในปีนี้ ดูเหมือนจะสวนกระแสประชาธิปไตยในภูมิภาคอาเซียน เช่น ในอินโดนีเซีย ซึ่งนักการเมืองท้องถิ่นที่ได้รับความนิยมจากประชาชน เพิ่งชนะการเลือกตั้งประธานาธิบดี เหนืออดีตนายพลของกองทัพ ส่วนที่เมียนมาร์ ระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตยที่มีหลายพรรคการเมืองก็เริ่มลงหลักปักฐาน หลังจากที่ต้องปกครองด้วยระบอบเผด็จการทหารมาร่วมห้าทศวรรษ
-
ฟุลเลอร์ตั้งข้อสังเกตว่า ทรราช คสช. กล่าวว่าจะทำการฟื้นฟูระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทย ทว่าพวกเขาก็ไม่ได้กำหนดตารางเวลาที่แน่นอนสำหรับการเลือกตั้งครั้งต่อไป นอกจากนี้ รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว ยังระบุด้วยว่า ระบอบประชาธิปไตยที่จะถูกฟื้นฟูขึ้นนั้น จะต้อง "มีความเหมาะสมกับบริบทของสังคมไทย" ซึ่งเป็นคุณสมบัติอันคลุมเครือ ที่ยังมิได้ถูกนิยามให้มีความหมายกระจ่างชัด
-
ผู้สื่อข่าวต่างประเทศรายนี้ อ้างอิงคำสัมภาษณ์ของ นายธงชัย วินิจจะกูล ศาสตราจารย์ด้านประวัติศาสตร์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แห่งมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสัน ซึ่งชี้ว่า คสช. มีท่าทีรังเกียจนักการเมือง และปรารถนาถึงระบบเผด็จอำนาจที่มีคุณธรรม เช่นเดียวกับคนไทยบางพวก อย่างไรก็ดี นายธงชัยเตือนว่า การปกครองแบบพ่อขุนอุปถัมภ์นั้นจะไม่เหมาะสมกับสังคมไทยอีกต่อไป เพราะสภาพสังคมมีความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น ผู้นำทหารที่มีความเข้มแข็งในยุคก่อน สามารถปกครองประเทศไทยที่เป็นสังคมเกษตรกรรมยากจนได้ ทว่า ประเทศไทยในปัจจุบันนั้น มีประชากรผู้มีความตื่นตัวทางการเมืองมากยิ่งขึ้น
-
ฟุลเลอร์ยังสัมภาษณ์ นายสุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้เชี่ยวชาญในประเด็นวิชาการเรื่องกองทัพไทย ซึ่งอธิบายระบอบอำนาจปัจจุบันว่าเป็น "ระบบเผด็จการแบบอ่อน" และเห็นว่า นายทหารระดับสูงกำลังพยายามแสวงหาตำแหน่งแห่งที่อันมั่นคงในอนาคตให้แก่ตนเอง
-
"สิ่งที่นายทหารระดับสูงต้องการคือ ระบอบประชาธิปไตยแบบชี้นำ ซึ่งกองทัพมีบทบาทในการบังคับควบคุม" นายสุรชาติ คาดการณ์
-
อาจารย์จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ วิเคราะห์ว่า การยอมรับที่สาธารณชนชาวไทยจะมีให้แก่รัฐบาลทหารนั้น ขึ้นอยู่กับว่านายทหารระดับสูงที่เข้ามาควบคุมอำนาจจะ "มือสะอาด" มากแค่ไหน และคำถามที่หลายคนอาจมีก็คือ นายทหารเหล่านี้จะหวนกลับไปมีพฤติกรรมคอร์รัปชั่นเหมือนผู้นำทหารในยุคก่อนๆ หรือไม่
-
ขณะเดียวกัน โจนาธาน เฮด ผู้สื่อข่าวบีบีซี ก็ประเมินว่า การประสบความสำเร็จของ พล.อ.ประยุทธ์ จะขึ้นอยู่กับว่า ว่าที่นายกฯ ของไทย จะสามารถบริหารจัดการอำนาจที่ถือครองอยู่ได้ดีเพียงใด นักวิจารณ์บางคนเห็นว่า หัวหน้าททราช คสช. มีอารมณ์ค่อนข้างร้อนและมีความอดทนต่ำ รวมทั้งมีภาพลักษณ์เชิงอนุรักษนิยม 
-
อย่างไรก็ดี ผู้สนับสนุนทรราช.ประยุทธ์  อย่าง สนช. กรธ. กะดอมาทอ และเหล่าสมุนรับใช้เผด็จการ กลับระบุว่า ทรราช ประยุทธ์ .ผู้นี้ เป็นคนเด็ดเดี่ยว กล้าได้กล้าเสีย แม้จะมีความโง่เป็นทุนเดิมติดตัวอยู่บ้าง แต่นั้นก็ไม่ใช่ปัญหา เพราะ ฮิลเลอร์  กัดดาฬี หรือแม้แต่ ซัดดัม แห่งอีรัก ก็มี ลักษณะกล้าพูดกล้าทำและนำประเทศ ให้ยิ่งใหญ่มาแล้วในอดีต  แม้บางคราวจะมี ท่าทีไม่รับฟังผู้อื่นก็ตาม

นักข่าวนักต่างประเทศ ก็เคย ทำนายสถานการณ์ไว้ด้วยว่า แม้แรงต่อต้านทรราช คสช. ภายหลังรัฐประหาร 22 พฤษภาคม จะมีไม่มากนัก แต่สถานการณ์อาจเปลี่ยนแปลงไป หากรัฐบาลทหารทรราช คสช. ชุดนี้ต้องเผชิญหน้ากับปัญหายากๆ ที่ถั่งโถมเข้ามามากยิ่งขึ้น  เหมือนปัจจุบัน  และดูเสมือนว่า ประเทศไทย เดินเข้าสู่ทางตันแล้ว ณ. เวลานี้  ทั้งร่างรัฐธรรมนูญ และปัญหาปากม้องของประชาชน

-

ขอขอบคุณนักข่าวต่างประเทศและมติชน

-
เสรีชน


ใครคือผู้สร้างสถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนใต้

ใครคือผู้สร้างสถานการณ์ 3 จังหวัดชายแดนใต้
-

ผมได้เห็นบทความของหลายสำนักข่าว  ตีข่าวใหญ่เรื่อง ระเบิดขนาดใหญ่ 160 กิโล ที่ยะลา แล้วก็หวนคิดถึง ระเบิดที่หน้าศาลอาญารัชฏา ที่จับแพะเป็นจำนวนมากได้ ลามไปถึงน้องแหวน พยานปากเอกคดี ทหารฆ่าประชาชนในวัดประทุม 6 ศพ แล้ว ก็เกิดข้อสงใส เหมือนกัน เหตุที่ต้องสงใส
-
เพราะ..............
-
1. ตกลงทหารที่สมัย อุดมแดก อดีต ผบ.ทบ.. กล่าวไว้ว่าจะถอนทหารรออกจากพื้นที่ 3 จังหวัดชานแดนใต้ไม่ถอนแล้วใช่ไหม  เพราะต้องการกวาดล้างโจรใต้ให้สิ้น ภายใน 6 เดือน
-
2. ตกลงชีวิตของพี่น้องชาว ยะลา นรา ปัตตานี กว่า 8 พันกว่าศพ ที่ต้องสังเวย ทหารทรราช คสช. ยังคงดำรงอยู่ต่อไป งั้นหรือ
-
3. และตกลงว่างบประมาณ ของแผ่นดินที่ทหารทรราช ถลุงไปกว่า หลายแสนล้านบาท  เป็นการ ตำน้ำพริก ละลายแม่นำ้โก-ลกงั้นซิ

4. แผนการสร้างสถานการณ์ นำต้นแบบ และวิธีการมาจาก ระเบิดหน้าศาลอาญารัชฏาใช่หรือไม หากไม่ใช่  ทำไมวิธีการ ชั่งเหมือนกันเหลือเกิน

5. งบประมาณและอายุราชการของทหารที่ได้ จากการลงไปพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนใต้ มีความหอมหวานถึงขนาดต้องฆ่าต้องแกง ประชาชน เพื่อให้สมจริงได้ถึงขนาดนี้หรือ  ความเป็นคนไม่หลงเหลืออยู่เลยหรือในกมรสันดานของ ทรราช คสช.

-----------------------------------------------------------

สิ่งที่เห็น อาจไม่ใช่สิ่งที่เป็น!

-
เหตุรุนแรง 2 เหตุการณ์สำคัญ คือ คนร้ายกว่า 50 คนบุกยึดโรงพยาบาลเจาะไอร้อง จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 13 มี.ค. และกรณีคนร้าย 7-8 คน ปล้นรถสองสามีภรรยาจาก อ.บันนังสตา จ.ยะลา ก่อนนำไปบรรทุกระเบิด แล้วบังคับให้ขับไปจอดเพื่อก่อวินาศกรรมกลางเมืองยะลา เมื่อวันที่ 5 เม.ย.นั้น กลายเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงอย่างกว้างขวางทั้งในและนอกพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 
-
 เป็นการถูกพูดถึงในแง่ของการตั้งคำถามเกี่ยวกับรายละเอียดของเหตุการณ์ที่เต็มไปด้วยข้อสงสัย แม้ว่าทั้งสองเหตุการณ์จะไม่ได้นำมาซึ่งความสูญเสียขนาดใหญ่ก็ตาม
-
          รายงานพิเศษชิ้นนี้ไม่ได้มีเจตนาชี้นำความคิดหรือความเชื่อใดๆ ทั้งสิ้น เป็นแต่เพียงการรวบรวมข้อสังเกตของฝ่ายต่างๆ ประกอบข้อมูลและบทวิเคราะห์ของเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงบางหน่วยมานำเสนอเท่านั้น
-
          ทั้งนี้เพื่อสะท้อนว่าพื้นที่ชายแดนใต้ยังคงเป็นดินแดนสนธยา และเต็มไปด้วยความซับซ้อนจริงๆ
-

ยึด รพ.ใช้กระสุนเปลือง!
-
          เริ่มจากเหตุคนร้ายบุกยึดโรงพยาบาลเจาะไอร้อง เพื่อใช้เป็นที่มั่นและจุดสูงข่มในการระดมยิงฐานทหารพราน กองร้อยทหารพรานที่ 4816 ซึ่งตั้งอยู่ติดกับรั้วโรงพยาบาล แม้จนถึงขณะนี้จะมีข้อมูลยืนยันจนสิ้นสงสัยแล้วว่าไม่ได้เป็นการกระทำในลักษณะ "จัดฉาก" ของเจ้าหน้าที่รัฐบาลทรราช ด้วยกันเอง
-
          ทว่าก็ยังมีข้อสงสัยว่าอาจเป็นการ "สร้างสถานการณ์" โดยใครหรือกลุ่มใด เพื่อวัตถุประสงค์อื่นนอกเหนือจากการแสดงศักยภาพของขบวนการที่อ้างอุดมการณ์แบ่งแยกดินแดนหรือไม่
-
          ประเด็นที่ตั้งข้อสังเกตกันมากก็คือ ปลอกกระสุนของคนร้ายที่ตรวจพบในที่เกิดเหตุซึ่งมีมากถึง 1,825 ปลอก จากปืนสงคราม 52 กระบอก เหตุใดถึงได้ยิงกันอย่างฟุ่มเฟือยถึงเพียงนี้ ราวกับกระสุนเป็นของหาง่าย
-
          ประเด็นนี้ผู้เชี่ยวชาญหลายรายมองตรงกันว่า ที่ผ่านมาหากเป็นปฏิบัติการของนักรบบีอาร์เอ็น การยิงจะมุ่งผลสัมฤทธิ์มากกว่านี้ และใช้กระสุนประหยัดกว่านี้ เนื่องจากกระสุนหายาก และอาวุธของบรรดานักรบเกือบทั้งหมดได้ไปจากการปล้นชิงเจ้าหน้าที่
-
          ขณะเดียวกัน ในขณะที่ยิงกันอย่างสะบั้นหั่นแหลกถึงเกือบ 2 พันนัด แต่กลับไม่ได้ก่อความสูญเสียต่อชีวิตของทหารพรานภายในฐานเลย มีเพียงผู้ได้รับบาดเจ็บ 7 นาย เป็นทหารพราน 6 นาย และ อส.1 นาย
-
          ข้อสังเกตนี้ไม่ได้มีขึ้นเพราะต้องการให้เกิดความสูญเสีย แต่ด้วยความที่คนร้ายอยู่ในจุดสูงข่มที่สามารถเลือกยิงได้ถนัดถนี่ ขณะที่ฝ่ายทหารก็ไม่กล้ายิงตอบโต้ เพราะคนร้ายใช้โรงพยาบาลซึ่งมีผู้ป่วยและหมอ พยาบาลเป็นสถานที่กำบัง แต่ด้วยวิถีการยิงที่ได้เปรียบ กับการใช้กระสุนจำนวนมาก กลับไม่อาจก่อผลที่สมกับรูปแบบความรุนแรงที่ได้กระทำ
-
          ยิ่งไปกว่านั้น อาวุธปืนสงคราม 52 กระบอกที่คนร้ายใช้ มีเพียง 18 กระบอกที่มีประวัติในสารบบของฝ่ายความมั่นคงว่าเคยใช้ก่อเหตุรุนแรงมาก่อน แสดงว่าอาวุธปืนอีกถึง 34 กระบอก หรือเกือบ 2 เท่า เป็นอาวุธที่ไม่เคยถูกนำมาใช้ หรือเคยใช้แต่ไม่เคยถูกเก็บประวัติ (ซึ่งไม่น่าเป็นไปได้)
-

          คำถามคืออาวุธเหล่านี้มาจากไหน?

-
          ขณะที่การติดตามจับกุมคนร้ายที่ก่อเหตุอุกอาจถึงขั้นควงอาวุธบุกยึดโรงพยาบาล เจ้าหน้าที่ที่รับผิดชอบก็อยู่ในอาการมืดแปดด้าน หมายจับที่ออกมาแล้ว 2-8 หมาย เป็นการออกตามประวัติการใช้ปืน 18 กระบอกในพื้นที่ 5 อำเภอของ จ.นราธิวาสเป็นหลัก ซึ่งต้องเรียกว่าเป็น "ฐานข้อมูลเก่า"
-
          ที่สำคัญ ผู้ก่อเหตุหลายคนไม่ได้ใช้ผ้าหรือหมวกคลุมศีรษะปกปิดใบหน้า ซ้ำยังเดินผ่านกล้องวงจรปิดแบบไม่กลัวใครจำได้อีกด้วย
-

7ข้อสงสัยปล้นรถ-ซุกบอมบ์
-
          เหตุการณ์ที่ 2 กรณีคนร้ายปล้นรถของลุงกับป้า สองสามีภรรยาจากพื้นที่บันนังสตา แล้วนำระเบิดถังแก๊ส 2 ถัง น้ำหนักระเบิด 160 กิโลกรัมยัดใส่รถ จากนั้นบังคับให้คุณลุงขับรถเข้าไปจอดกลางเมืองยะลาเพื่อกดระเบิด
-
          ยุทธวิธีของกลุ่มคนร้าย นอกจากจะจับคุณป้าแยกขึ้นรถไปอีกคันเพื่อเป็นตัวประกันแล้ว ยังให้คุณลุงสวมเสื้อที่ผูกระเบิดติดไว้ เป็นการกดดันและบังคับอีกชั้นหนึ่งให้คุณลุงทำภารกิจให้สำเร็จอีกด้วย
-
          เหตุการณ์นี้หากมีการระเบิดเกิดขึ้นจริง จะก่อความสูญเสียอย่างมหาศาล เพราะจุดที่คนร้ายบังคับให้คุณลุงขับรถไปจอด อยู่ใกล้ปั๊มน้ำมัน และบริษัทโตโยต้า พิธานพาณิชย์ยะลา ภาพที่คาดว่าจะออกมาหากเกิดระเบิด คือคนขับสวมเสื้อระเบิด คล้ายเป็น "ระเบิดพลีชีพ" เท่ากับเป็นการยกระดับความรุนแรงของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้เทียบเท่าก่อการร้ายสากล
-
          เคราะห์ดีที่เหตุการณ์ไม่ได้บานปลายถึงเพียงนั้น แต่ก็ยังมีประเด็นข้อสงสัยจากฝ่ายต่างๆ จากหลายวงสนทนา พอสรุปได้ดังนี้
-
          1.วิธีการของคนร้ายที่ก่อเหตุ โดยการปล้นรถแล้วจับตัวประกันบังคับให้ขับรถของตัวเองบรรทุกระเบิดเข้าไปจอดในตัวเมือง เป็นวิธีการใหม่ที่ไม่เคยใช้มาก่อน ที่ผ่านมามีแต่คนร้ายฆ่าเจ้าทรัพย์ แล้วชิงรถไปติดตั้งระเบิด ก่อนนำไปจุดระเบิดตรงบริเวณที่เป็นเป้าหมายทันที เห็นได้จากเหตุ "คาร์บอมบ์" ล่าสุดใน อ.เมืองปัตตานี หน้าฐานของตำรวจหน่วยปฏิบัติการพิเศษ เมื่อ 27 ก.พ.ที่ผ่านมา ก็เป็นการฆ่าเจ้าทรัพย์ ชิงรถ ติดตั้งระเบิด แล้วโจมตี
-
          คำถามคือเหตุใดคนร้ายจึงเลือกใช้วิธีการที่ซับซ้อนและมีโอกาสผิดพลาดได้ง่าย หากหวังผลให้เกิดการระเบิดเพื่อสร้างความสูญเสียในเขตเมืองและย่านเศรษฐกิจ
-
          2.ความโหดเหี้ยมในการก่อเหตุของคนร้ายดูจะลดน้อยลงกว่าที่ผ่านๆ มา โดยเฉพาะหากเป็นกลุ่มผู้ก่อเหตุรุนแรงในพื้นที่ อ.บันนังสตา และ อ.กรงปินัง ซึ่งมีประวัติการก่อเหตุอย่างเหี้ยมโหด เพราะคุณป้าที่ตกเป็นตัวประกันก็ปลอดภัย แม้คุณลุงจะทำการไม่สำเร็จ คือไม่เกิดการระเบิดขึ้นก็ตาม
-
          3.คนร้ายบางส่วนหรือทั้งหมด ไม่ได้ปกปิดหน้าตา การปล่อยตัวประกันทำให้นำไปสู่การออกภาพสเก็ตช์และติดตามตัวคนร้ายได้ง่าย ซึ่งล่าสุดก็มีข่าวตำรวจเริ่มจับกุมผู้ต้องสงสัยแล้ว
-
          4.การวางระเบิดของคนร้าย จากข้อมูลของเจ้าหน้าที่ระบุว่า ระเบิดถังแก๊สทั้ง 2 ถังประกอบวงจรระเบิดไว้สมบูรณ์แล้ว และมีวงจรจุดระเบิดซ้อนมากกว่า 1 วงจร แต่หลังจากที่คนร้ายบังคับให้คุณลุงขับรถผ่านด่านตรวจเข้ามาในพื้นที่เขตเมืองได้แล้ว มีบางช่วงที่คุณลุงขับรถหลุดพ้นจากการควบคุมของคนร้าย เหตุใดคนร้ายจึงไม่จุดระเบิดทันที 
-
          5.กรณีเสื้อผูกระเบิดที่คนร้ายบังคับให้คุณลุงสวมใส่เพื่อข่มขู่ให้ขับรถบรรทุกระเบิดไปจอดยังเป้าหมาย โดยข้อมูลจากเจ้าหน้าที่ระบุว่าคนร้ายต่อวงจรเอาไว้แล้ว เหตุใดคุณลุงจึงสามารถใช้กรรไกรตัดเสื้อระหว่างขับรถแล้วโยนทิ้งไปได้โดยไม่ระเบิด แต่กลับมีข่าวว่าเสื้อดังกล่าวระเบิดขึ้นระหว่างที่เจ้าหน้าที่เข้าทำการเก็บกู้ 
-
          6.เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นถือเป็นเหตุการณ์ใหญ่ และรูปแบบการก่อเหตุไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน เหตุใดจึงมีแต่เพียงฝ่ายตำรวจและฝ่ายปกครองเท่านั้นที่มีข้อมูลและให้ข่าวกับสื่อ แต่ไม่ปรากฏข้อมูลในรายงานเหตุการณ์ของหน่วยงานทางทหาร
-
          7.ระเบิดแสวงเครื่องที่คนร้ายประกอบใส่ถังแก๊ส 2 ถังบรรทุกมาในรถ ยังมีข้อมูลสับสนว่าขับผ่านด่านตรวจของเจ้าหน้าที่เข้ามาหรือไม่ เพราะข้อมูลบางแหล่งระบุว่าขับผ่านด่านตรวจตามปกติ แต่บางแหล่งระบุว่าขับลัดเลาะหลบด่านทุกด้านจนเข้าเมืองได้
-
          นอกจากนั้นข้อมูลที่รายงานผ่านสื่อบางแขนงอ้างว่าคุณลุงถูกคนร้ายใช้ถุงดำคลุมศีรษะเกือบตลอดทาง แต่บางสื่อกลับอ้างว่าคุณลุงรู้เส้นทางขับรถของคนร้ายว่าหลบด่านเข้าเมืองได้อย่างไร ถึงขนาดพาเจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครองย้อนดูเส้นทางลัดเลาะหลบด่าน ในลักษณะย้อนรอยคนร้ายด้วย
-

สมมติฐานใครคือผู้สร้างสถานการณ์

-
          ทั้งสองเหตุการณ์ ปฏิเสธไม่ได้ว่ามีฝ่ายรัฐบาล ทรราช คสช.  หรือต้องการสร้างภาพใน สถาณ๋การเลวร้าย ในแง่ลบ ตั้งประเด็นว่าเป็นการ "จัดฉาก" เพื่อหวังงบประมาณหรือด้วยเหตุผลของการต้องการ ฆ่าพี่้องมุสลิม
-
          ข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญหลายหน่วยยืนยันตรงกันว่า เป็นไปได้น้อยมากที่เหตุการณ์ระดับนี้ ใช้คนมากขนาดนี้ จะกระทำโดย "โจรใต้"  เพราะปัจจุบันมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคงหลายหน่วย หลายสี ปฏิบัติงานในพื้นที่จำนวนมาก มีการตรวจสอบซึ่งกันและกันค่อนข้างสูง และสิ่งที่โจรใต้ ไม่เคยพลาด จากการวางระเบิดมานัดครั้งไม่ถ้วนนั้น หากนำมาประกอยวิธีการวาง จะแตกต่างจาก เหตุการณ์ ระเบิด 160โล ครั้งนี้อย่างเห็นได้ชัด แค่มองก็รู้แล้วว่าเป็นฝีมือของรัฐบาล ทรราช คสช.
-
          ฉะนั้นการสร้างสถานการณ์โดยหน่วยใดหรือกลุ่มคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งจึงเป็นเรื่องไม่ยาก ที่จะคาดเดา
-
เหตุการณ์ ทั้ง 2 ครั้งนี้ จุดประสงค์เพื่ออะไร ถ้าไม่ใช่ งบประมาณและการคงอยู่ของกองกำลังทหารกว่า 5 หมื่นนาย ที่จะได้เบี้ยและอายุราชการทวีคูณอีกทั้งสวัสดิการต่างๆ อีกมากมาย บนคลาดน้ำตาและกองเลือดของพี่น้องประชาชน สืบต่อไป
-
          สิ่งที่เห็น อาจไม่ใช่สิ่งที่เป็น!

ขอขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก อิศรา

-
เสรีชน


บทเรียนจากการรัฐประหาร ถึงบทสรูปที่เพื่อไทยหลาบจำ

-
เริ่มแล้ว! ปล่อยนักโทษการเมืองทั่วพม่า หลังอองซานซูจีออกประกาศวาระเร่งด่วน
-
สำนักข่าวอิระวดี รายงานว่า ตั้งแต่ช่วงเช้าวันนี้ (8 เม.ย. 2559) ในเมียนมาได้เริ่มการปล่อยตัวนักโทษทั่วประเทศ โดยที่เรือนจำอินเส่ง ในย่างกุ้ง มีนักโทษได้รับการปล่อยตัวกว่า 108 คน รวมถึง Thet Wai นักโทษการเมือง ซึ่งถูกจับกุมตามมาตรา 18 ของกฏหมายการชุมนุมอย่างสงบ จากการประท้วงเดี่ยวเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวเพื่อนนักกิจกรรม
-
ในมัณฑะเลย์มีนักโทษกว่า 400 คนได้รับการปล่อยตัว แต่ยังมีนักโทษทางความคิดที่ยังไม่ถูกปล่อยตัว 
-
นอกจากนั้น คาดว่านักศึกษาและนักกิจกรรมที่ถูกจับกุมจากการประท้วงต้านกฎหมายด้านการศึกษาที่พวกเขามองว่าไม่เป็นประชาธิปไตย เมื่อปีที่แล้ว (พ.ศ. 2558) จะได้รับการปล่อยตัวในวันนี้ด้วย
-
อองซานซูจีคือคนจริงคนหนึ่งที่กล้าต่อสู้และยอมตายในสนามประชาธิปไตย
-
หันมามองประเทศไทย  ประชาชนกว่า 14 ล้านคนมอบอำนาจให้แก่เพื่อไทยไปต่อสู้เพื่อพวกเขา แต่รัฐบาลเพื่อไทยไม่กล้าต่อสู้เพื่อปล่อยนักเคลื่อนไหวและนักโทษการเมือง กลับยอมก้มหัวเป็นเครื่องมือให้กับพวกอำมาตย์ โดยหวังว่าจะได้รับความเมตตา แม้จะเป็น เศษเสี่ยวของกากเดนของความ ยุติธรรม ซึ่งในที่สุดก็ถูกพวกมันใช้ทหาร ในนาม คสช. ล้มรัฐบาลที่มาจากประชาชน อยู่ดี 
-
หากเรามามอง ที่ผ่านนั้นคือความผิดของ เพื่อไทย หรือ 
-
ขอตอบดังๆ ว่า..............................ใช่
-
ผิดที่เพื่อไทย ไม่เคยสำนึก ว่าขบวนการ ยุติธรรม ของไทยได้ถูกครอบงำด้วย เหล่าอำมาตย์ทรราช และก็มีบทเรียนแล้วจากการยึดทรัพย์ของ ดร.ทักษิญ ชินวัตร จนถึงตัดสิน บนความอยุติธรรม อย่างชัดแจ้ง มาแล้ว
-
ผิดที่เพิ่อไทย  เชื่อว่าความ ยุติธรรม ในประเทศนั้นมีอยู่จริง 
-
และผิดอย่างมากที่ ไว้ใจ ทหารหมาหน้าตัวเมียอย่าง ประยุทธ์ จันทรโอชา ที่มาวันนี้ได้เห็นแล้ว ถึงความ อำมหิต โกหก หลอกลวง ตอแหล และหน้าด้านของ ทหารหมาหน้าตัวเมียเหล่านั้น 
-
บทเรียน ในปี 2549 คราวที่ทำรัฐประหาร  ของไอ้ ทหารชั่ว สนธิ ยังตอกย้ำ เพื่อไทยไม่พออีกหรือ
-
และบทเรียนของปี 2557 ที่ ทรราช คสช. ที่ฝากความเลวระยำ ทำชาติฉิบหายไปกว่า 5 ล้าน ๆ บาท.......... และได้จารึกความชั่วไว้กับแผ่นดินที่ต้องหวังรัฐบาลใหม่เข้ามาแก้ไข  ทั้งปัญหา แรงงานทาส ปัญหาเศรษกิจ ปัญหาฉ้อโกง ปัญหาการละเมิดสิทธฺมนุษยชน  และปัญหาทางการศึกษา  ก็น่าจะเพียงพอ สำหรับ ทำให้เพื่อไทย หลาบจำ ในความระยำของ เหล่าอำมาตย์ทรราช ที่ครอบงำ ประเทศอยู่ในขณะนี้
-
ผมในฐานะ ประชาชนคนหนึ่ง  ผมไม่เคยเชื่อว่าเลยว่า ประชาชนจะได้รับ อิสระภาพ เสรีภาพ และความ เสมอภาค จาก เหล่าอำมาตย์ทรราช คสช. หรือในร่าง รัฐธรรมนูญฉบับ มีชัย 
-
เพราะทั้งการคัดเลือกผู้ร่าง กรรมการร่าง รวมถึงระบบการ่างและวิธีการ ก็ล้วนแล้วแต่ เป็นผลผลิตจาก มดลูกของเผด็จการ ทั้งหมดทั้งสิ้น
-
แล้วอย่างนี้ประชาชนจะมี ประชาธิปไตย ได้อย่างไร
-
หากว่า......จะมีการเลือกตั้งในปี 60 อย่างที่ ทรราช คสช. กล่าวอ้าง ผมก็หวังว่า บทเรียนที่ผ่านมาจะเป็นบทสรูป ของเพื่อไทยและพี่น้องประชาชนฝ่าย ประชาธืปไตยเสียที
-
เพราะเพื่อไทย คือความหวังสุดท้ายของประชาชน 
-
เสรีชน


Friday, April 8, 2016

หาก สว. หรือร่างทรงของ ทรราช คสช. มีอำนาจเลือกนายกฯ ได้ คุณยอมไหม

หาก สว. หรือร่างทรงของ ทรราช คสช. มีอำนาจเลือกนายกฯ ได้

ถาม.......... คุณจะยอมไหม ?

ที่รัฐสภา สถุนมีชัย ฤชุพันธ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ให้สัมภาษณ์ถึงกรณีที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติเห็นชอบคำถามของสภาขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.) ในประเด็นการให้ ส.ว. ลากตั้ง มีอำนาจในการเลือกนายกรัฐมนตรี ในช่วง 5 ปีแรก 

-
เสรีชน


จดหมายเปิดผนึกถึง ธีรยุทธ บุญมี- ไม่สนใจความอยุติธรรมบ้างหรือ?

จดหมายเปิดผนึกถึง   ธีรยุทธ บุญมี-ไม่สนใจความอยุติธรรม?
-
เมื่อวันที่ 6 เมษายน 2559 ยุกติ มุกดาวิจิตร ได้โพสต์จดหมายเปิดผนึกถึงธีรยุทธ์ บุญมี หลังจากแสดงความเห็นถึงสถานการณ์บ้านเมือง ร่างรัฐธรรมนูญและคณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.) ดังนี้
-
หากผมจะเลิกเรียกอาจารย์ว่าอาจารย์เสีย ก็คงไม่มีใครใส่ใจอะไร เพียงแต่ผมเองต่างหากที่ยังใส่ใจว่า อาจารย์เคยสอนหนังสือผม และอาจารย์ก็ยังเป็นนักวิชาการรุ่นอาวุโสที่อยางน้อยก็มีศักดิ์ทางวิชาการที่โลกวิชาการในสายอาชีพเดียวกับผมเขายกย่องนับถือกัน ไม่อย่างนั้นอาจารย์ก็คงไม่ได้รับการยกย่องมาจนทุกวันนี้
-
แต่อย่างที่อาจารย์และสังคมไทยทราบดี ว่าในทางการเมือง ผมมีความคิดเห็นไม่ลงรอยกับอาจารย์อยู่เสมอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งตั้งแต่การเดินขบวนของ กปปส. และมวลชนที่สนับสนุนแนวทางเดียวกัน อาจารย์คงไม่ได้ใส่ใจอะไรกับข้อวิจารณ์ของผมมากนัก มาจนวันนี้ ในโอกาสที่อาจารย์พูดได้มากกว่าผม แต่ผมก็ยังไม่เห็นว่าอาจารย์ได้สนใจข้อท้วงติงที่ผ่านมาของผมเลย เพราะดูเหมือนอาจารย์จะยังคงสนับสนุนทิศทางของประเทศที่ไปคนละทิศกับการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพและประชาธิปไตยของประชาชน
-
เอาล่ะ ผมจะไม่อ้อมค้อม ผมขอวิจารณ์ข้อเสนอของอาจารย์ในปาฐกถามเมื่อวันที่ 5 เมษายนที่ผ่านมาตามข่าวในมติชนออนไลน์ 


อย่างตรงมาว่า นี่เป็นอีกครั้งหนึ่งที่อาจารย์ใช้วิชาชีพมานุษยวิทยาในการผลักให้สังคมไทยไม่เพียงหันเหออกไปจากเส้นทางของประชาธิปไตย แต่ยังต้องตกไปสู่หุบเหวของอำนาจเผด็จการทหาร นี่เป็นอีกครั้งที่อาจารย์ไม่ได้ใช้โอกาสที่อาจารย์มีมากกว่าหลาย ๆ คน ช่วยเตือนสติผู้มีอำนาจให้เคารพอำนาจของประชาชน เคารพบุญคุณที่ประชาชนเลี้ยงดูเขามา
-
ในข้อสรุปตามข่าว แม้ว่าอาจารย์จะเสนอปัญหาข้อสำคัญของสังคมไทยว่าเป็นปัญหาเรื่องความอยุติธรรม แต่อาจารย์ก็โยนความผิดให้นักการเมืองฝ่ายเดียว ส่วนกับข้าราชการประจำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งข้าราชการทหาร แม้แต่จะกล่าวถึงความฉ้อฉลของทหารในอดีต มาบัดนี้อาจารย์ก็ยังไม่กล้า ส่วนความฉ้อฉลของทหารในปัจจุบันเล่า ผมคงไม่ต้องกล่าวถึงเรื่องบัดสีต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการแต่งตั้งผู้คนในครอบครัวรับตำแหน่ง การเข้าไปรับตำแหน่งกรรมการบริหารองค์กรต่าง ๆ หรือเรื่องด่างพร้อยที่หาทางกลบเกลื่อนกันไปอย่างหน้าด้าน ๆ แต่ผมจะกล่าวถึงเฉพาะเรื่องที่เห็นตำตาว่าเลวร้าย แต่อาจารย์ก็หลีกเลี่ยงไม่กล่าวถึง
-
อาจารย์ครับ อาจารย์เชื่ออย่างนั้นจริง ๆ หรือว่าระบบอุปถัมภ์ของชาวบ้านและนักการเมืองเป็นปัญหาสำคัญจนถูกมองว่าเป็นต้นตอของการซื้อเสียง เอาล่ะ นั่นก็เป็นปัญหาสำคัญแน่ ๆ แต่ปัญหาตำตาขณะนี้มีอะไรทำไมอาจารย์ไม่กล่าวถึง แล้วการอุปถัมภ์ในวงราชการล่ะ การสร้างระบบอุปถัมภ์ให้ข้าราชการกลายเป็นผู้อุปถัมภ์ชาวบ้าน ให้ชาวบ้านเป็นเบี้ยล่างล่ะ เป็นปัญหาไหม แล้วที่เราระบบการบริหารประเทศ กระบวนการยุติธรรม ระบบการออกกฎหมายที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้ ภายใต้การปกครองของคณะรัฐประหาร มันไม่ใช่การหวนกลับไปสร้างระบบอุปถัมภ์ที่มีข้าราชการอยู่บนยอดของการเป็นผู้อุปถัมภ์หรอกหรือ
-
นอกจากนั้น ผมคงไม่ต้องยกชื่องานและไล่เรียงทบทวนวรรณกรรมทางวิชาการในระยะเกือบ 20 ปีที่ผ่านมาจำนวนมากให้อาจารย์อ่านนะครับว่ามีงานของใครบ้าง ทั้งในประเทศและต่างประเทศรวมทั้งผมเอง ที่ศึกษาแล้วเสนอว่า ก่อนการรัฐประหารสองครั้งที่ผ่านมานั้นระบบอุปถัมภ์ในสังคมไทยเปลี่ยนไปแล้ว ระบบอุปถัมภ์ในท้องถิ่นลดทอนพลังลงไปมากแล้ว การเมืองเปลี่ยนไปแล้ว ประชาชน ชาวบ้านเข้าใจประชาธิปไตยมากขึ้นแล้ว อาจารย์ไม่คิดว่าข้อเสนอเหล่าน้ีเป็นประเด็นข้อถกเถียงที่จะต้องมาพิจารณากันหรอกหรือ
-
อาจารย์ครับ มวลชนที่ลุกฮือขึ้นมาต่อต้านนักการเมืองน่ะ ไม่ได้มีแต่ฝ่ายที่อาจารย์เห็นอกเห็นใจเท่านั้นหรอกนะครับ มวลชนที่เขาตื่นรู้แล้วลุกฮือขึ้นมาต่อต้านระบบอุปถัมภ์ที่มีข้าราชการประจำอยู่บนยอดสุดน่ะ ก็มีไม่น้อยหรืออาจจะมากกว่ามวลชนที่สนับสนุนอำนาจอุปถัมภ์ของข้าราชการด้วยซ้ำ นั่นย่อมแสดงว่าความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทยไม่ได้มีเฉพาะการลดทอนพลังลงของระบบอุปถัมภ์ในท้องถิ่น แต่ยังมีการต่อต้านท้าทายระบบอุปถัมภ์ที่เคยอยู่ในอำนาจของข้าราชการประจำด้วย
-
อาจารย์ไม่คิดว่ามวลชนที่เรียกร้องให้มีการรัฐประหารคือมวลชนที่ฟื้นฟูระบบอุปถัมภ์ของข้าราชการประจำเหรอครับ แล้วข้อเรียกร้องที่มีแนวโน้มค้ำจุนอำนาจทหารแบบของอาจารย์ล่ะ จะไม่กลับไปเรียกอำนาจที่อาจารย์เคยท้าทายให้กลับมาครอบงำประเทศอีกหรอกหรือ หรือเพราะขณะนี้อาจารย์เข้าไปอยู่บนยอดของระบบอุปถัมภ์นี้ด้วยแล้ว ก็เลยเลิกคิดจะท้าทายมันแล้ว
-
เอาล่ะ ถ้าจะเข้าประเด็นใหญ่ของอาจารย์ว่า ปัญหาใหญ่ของสังคมไทยคือปัญหาเรื่องความอยุติธรรม แต่ความอยุติธรรมน่ะแสดงออกแค่ในเรื่องการใช้กฎหมายไม่เป็นธรรม อย่างคนจนติดคุก กับเรื่องการมองว่าชาวบ้านเป็นปัญหา อย่างเรื่องการจัดระเบียบปากคลองตลาด แค่นั้นเหรอครับ
-
ผมว่าข้อเสนอของอาจารย์ประหลาดมากตรงที่ว่า ปัญหาที่ชาวบ้านผู้ได้รับผลกระทบมองเห็นคือปัญหาเรื่องความอยุติธรรม แต่อาจารย์กลับเสนอแนวทางการแก้ไขจากมุมมองของผู้ที่ประท้วงเรียกร้องให้ทหารเข้ามาแก้ปัญหาประเทศ แต่กลุ่มบุคคลเหล่านี้ส่วนใหญ่พวกเขาเป็นคนกรุงเทพฯ ไม่ใช่หรือ คนเหล่านี้ส่วนมากเขาอยู่บนยอดหรือเป็นชนชั้นกลางระดับบนไม่ใช่หรือ แล้วข้อเรียกร้องของเขาวางอยู่บนการดูถูกประชาชนระดับล่างลงมาไม่ใช่หรือ ถ้าอย่างนั้นคนเหล่านี้ไม่ใช่เหรอครับที่เป็นกลุ่มคนซึ่งค้ำจุนความอยุติธรรมอยู่ คนเหล่านี้ไม่ใช่เหรอครับที่กินอยู่ได้บนความเหลื่อมล้ำของสังคมไทย
-
แต่ส่วนประชาชนอีกส่วนที่เขาได้รับผลกระทบจากความอยุติธรรม เป็นบรรดาคนจนที่ติดคุก เป็นคนที่ถูกไล่ที่ ถูกจัดระเบียบ เป็นคนหาเช้ากินค่ำ เป็นชนชั้นกลางระดับล่างไม่มีเงินเดือนประจำน่ะ พวกเขาเป็นประชากรส่วนใหญ่ที่ไม่เห็นด้วยกับการรัฐประหารไม่ใช่เหรอ พวกเขาไม่ได้อยากให้มีการปฏิรูปไม่ใช่เหรอ พวกเขาอยากให้มีการเลือกตั้ง อยากให้นักการเมืองที่พวกเขาควบคุมได้ผ่านการเลือกตั้งเข้ามาบริหารประเทศไม่ใช่เหรอ
-
ข้อเสนอของอาจารย์ประหลาดก็ตรงนี้แหละครับ อาจารย์มองปัญหาในมุมคนกลุ่มหนึ่ง แต่เลือกทิศทางการแก้ปัญหาจากมุมคนอีกกลุ่มหนึ่ง คนกลุ่มแรกคือผู้รับผลจากปัญหาโดยตรง แต่เขาเสนอทางแก้ปัญหาที่อาจารย์ไม่ยอมรับ ตรงกันข้าม อาจารย์กลับเลือกทางแก้ปัญหาของคนกลุ่มหลัง ซึ่งเป็นกลุ่มคนซึ่งมีส่วนสร้างระบบความอยุติธรรมขึ้นมา เป็นกลุ่มคนที่ก่อปัญหาให้คนกลุ่มแรก ทำไมอาจารย์ไม่เลือกฟังบ้างล่ะครับว่าคนที่ถูกความอยุติธรรมกระทำกับเขาทุกเมื่อเชื่อวันนั้น เขาสรุปบทเรียนมาว่าอย่างไร แล้วทหารจะแก้ปัญหาพวกเขาได้จริงหรือ ในเมื่อทุกวันนี้พวกเขาก็ยังถูกความไม่ยุติธรรมรังแกอยู่ตลอด แต่คนกลุ่มที่อาจารย์ฟังเขาน่ะ เขาไม่ได้มีปัญหา เขาต่างหากที่ก่อปัญหา
-
ความประหลาดยิ่งกว่านั้นคือ อาจารย์ไม่สนใจความอยุติธรรมที่คณะรัฐประหารเองสร้างขึ้นมา บรรดาการใช้อำนาจซึ่งชาวโลกเขาประณามกันทุกเมื่อเชื่อวันตลอดระยะเวลาจนจะสองปีแล้วน่ะ ไม่สมควรนับว่าเป็นความอยุติธรรมที่ก่อปัญหากับสังคมไทยหรอกหรือ ยกตัวอย่างเช่น
-
1. คำสั่งคสช. ที่ 13/2559 มีความยุติธรรมอย่างไร
-
2. การดำเนินคดีประชาชนด้วยศาลทหาร มีความยุติธรรมอย่างไร
-
3. การเรียกตัวบุคคลต่าง ๆ ไปปรับทัศนคติ การจับกุมตัวนักศึกษาโดยพลการไม่แสดงหมายจับ การคุกคามการจัดประชุม เสวนา การแสดงความเห็นสาธารณะที่ไม่ได้ก่อให้เกิดการชุมนุมทางการเมือง หากแต่ละเว้นการจับกุมกลุ่มมวลชนที่สนับสนุนทหารหากแต่ก็เป็นการชุมนุมทางการเมือง มีความยุติธรรมอย่างไร
-
4. การรัฐประหารฉีกรัฐธรรมนูญ ฉีกกฎหมายสูงสุดของประเทศ แล้วตั้งรัฐบาลเองตามอำเภอใจของกลุ่มคณะรัฐประหาร แล้วนิรโทษกรรมตนเองไปทั้งข้างหน้าและย้อนหลัง เป็นความยุติธรรมอย่างไร
-
ภายใต้อำนาจเผด็จการเหล่านี้ อาจารย์คิดว่าจะเกิดการปฏิรูปให้เกิดความยุติธรรมได้หรือครับ การปิดปากประชาชน ปิดปากนักการเมือง คุกคามสื่อมวลชน ด้วยอำนาจเผด็จการเหล่านี้ จะเป็นพื้นฐานที่ดีให้เกิดความยุติธรรมได้หรือครับ การที่มีเพียงคนแบบอาจารย์ธีรยุทธกับบรรดาทหาร ที่สามารถพูดอย่างไรก็ได้โดยไม่เปิดให้มีการวิพากษ์วิจารณ์อย่างตรงไปตรงมาจากผู้ที่เห็นต่าง จะก่อให้เกิดการปฏิรูปที่นำมาซึ่งสังคมที่ยุติธรรมได้อย่างไรครับ
-
อาจารย์ครับ อาจารย์ไม่เพียงไม่วิจารณ์การกระทำเหล่านั้นของทหาร แต่อาจารย์ยังส่งเสริมระบอบรัฐประหารให้เดินหน้าการปฏิรูปต่อไป ให้กระทำอย่างเร่งด่วนไม่ต้องขยายเวลาไปอีกนาน 


แล้วอาจารย์ยังเสนอกระบวนการที่ปูทางให้เกิดระบอบอภิสิทธิ์ชน นำข้อเสนอจากรายชื่อบุคคลที่ไม่ได้ผ่านการกลั่นกรองจากประชาชน แล้วนี่เป็นระบบที่แสดงความศรัทธาต่อชาวบ้านอย่างไร หรือชาวบ้านที่น่าเลื่อมใสมีแต่บรรดาปราชญ์ชาวบ้าน บรรดาผู้ทรงภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ล้วนแต่อยู่ในข่ายใยของระบบอุปถัมภ์ขององค์กรพัฒนาที่ไม่ต้องบอกก็รู้ว่าใครบ้างที่เป็นผู้อุปถัมภ์รายใหญ่ไม่กี่คนเหล่านั้น ส่วนชาวบ้านที่เขาต่อต้านการรัฐประหาร เป็นชาวบ้านที่อยู่ใต้ระบบความอยุติธรรม ความเห็นของพวกเขาไม่น่ารับฟังเพราะล้วนตกอยู่ใต้อิทธิพลของนักการเมืองอย่างนั้นหรือ แล้วจะมีกระบวนการอย่างไรให้เขาได้มีส่วนร่วมถ้าไม่ยกเลิกอำนาจของคณะรัฐประหารไปโดยเร็วเสียที
-
ผมคิดมาตลอดว่าสักวันหนึ่งจะต้องแยกแยะให้ชัดเจนว่ามีนักวิชาการคนใดที่สนับสนุนการรัฐประหาร แล้วผมจะไม่เริ่มจากใครอื่นไกล แต่จะเริ่มจากบรรดานักวิชาการที่อยู่ในสายอาชีพเดียวกัน ก็คือนักมานุษยวิทยาและสถาบันทางวิชาการที่ใช้ชื่อมานุษยวิทยานี่แหละ เพียงแต่คอยโอกาสว่าจะได้นำเสนอในเวทีวิชาการสากลให้ชาวโลกเขารับรู้กัน
-
แต่ไม่ทันต้องรอโอกาสนั้น ในระหว่างที่สังคมไทยกำลังครุกรุ่นด้วยปัญหารุมเร้าต่าง ๆ นานา ก็มีนักวิชาการที่นิยมเผด็จการเสนอหน้ากันออกมาปกป้องประคับประคองการรัฐประหาร เพียงแต่ผมก็ไม่นึกเลยว่า นักวิชาการคนแรก ๆ ที่จะต้องกล่าวถึงว่าเป็นนักมานุษยวิทยาที่พยายามประคับประคองเผด็จการทหาร ก็คืออาจารย์ธีรยุทธ บุญมีนั่นเอง


เหตุนองเลือด 2535 ย้อนดูลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ถึง พ.ศ. 2535

ลำดับเหตุการณ์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 ถึง พ.ศ. 2535

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้า ฯ ให้พลเอกสุจินดา และพลตรีจำลอง เข้าเฝ้า

พ.ศ. 2534

พ.ศ. 2535

  • 22 มีนาคม - มีการเลือกตั้งใหญ่ทั่วประเทศ พรรคสามัคคีธรรม ของนายณรงค์ วงศ์วรรณ ได้รับเลือกตั้งมาเป็นลำดับหนึ่ง แต่ถูกขึ้นบัญชีดำผู้ค้ายาเสพย์ติดจากสหรัฐอเมริกา
  • 7 เมษายน -พลเอกสุจินดา คราประยูร ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
  • 8 เมษายน - ร้อยตรีฉลาด วรฉัตร เริ่มอดอาหารประท้วงวันแรก
  • 17 เมษายน - มีพระบรมราชโองการแต่งตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่
  • 20 เมษายน - พรรคฝ่ายค้านเริ่มการปราศรัยที่ลานพระบรมรูปทรงม้ามีผู้ร่วมชุมนุมเกือบ100,000คน
  • 4 พฤษภาคม -พลตรีจำลอง ศรีเมือง เริ่มอดอาหารประท้วงวันแรก
  • 7 พฤษภาคม -พลเอกสุจินดา แถลงนโยบายต่อรัฐสภา แต่พรรคฝ่ายค้านไม่เข้าร่วม ขณะเดียวกันบริเวณหน้ารัฐสภามีผู้ชุมนุมร่วมประท้วง จนต้องมีการปิดประชุมโดยกะทันหัน
  • 8 พฤษภาคม -พลเอกสุจินดา แถลงถึงเหตุผลที่ต้องมารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
  • 9 พฤษภาคม - นายอุกฤษ มงคลนาวิน ประธานรัฐสภาประสานให้พรรคร่วมรัฐบาลและพรรคฝ่ายค้านร่วมกันตกลงว่าจะแก้ไขรัฐธรรมนูญบางประการ และพลตรีจำลอง ประกาศเลิกอดอาหาร
  • 11 พฤษภาคม -พลตรีจำลอง ประกาศสลายการชุมนุมและประกาศชุมนุมใหม่อีกครั้งในวันที่ 17 พฤษภาคม หากในวันที่ 15 พฤษภาคม ซึ่งเป็นวันที่พรรคร่วมรัฐบาลให้สัญญาว่าจะแถลงถึงเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญไม่มีความคืบหน้า
  • 15 พฤษภาคม - พรรคร่วมรัฐบาลเปลี่ยนท่าทีเรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญ โดยอ้างว่าเป็นการให้สัมภาษณ์โดยพลการของ นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยอ้างว่าจะแก้ให้มีบทเฉพาะกาล ว่า นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง ซึ่งพลเอกสุจินดา ต้องดำรงตำแหน่งจนครบวาระ 4 ปี เสียก่อน
  • 17 พฤษภาคม - รัฐบาลจัดคอนเสิร์ตต้านภัยแล้งสกัดม็อบที่สนามกีฬากองทัพบกและวงเวียนใหญ่ โดยขนรถสุขาของกรุงเทพ ฯ มาไว้ที่นี่หมด ช่วงเที่ยงคืนเริ่มเกิดการตำรวจปะทะกันระหว่างผู้ชุมนุมกับตำต่อเนื่องถึงเช้าวันที่ 18 พฤษภาคม
  • 18 พฤษภาคม - ก่อนรุ่งสาง รัฐบาลเริ่มนำทหารจัดการกับผู้ชุมนุมอย่างรุนแรงและประกาศสถานการณ์ฉุกเฉิน เวลาบ่ายพลตรีจำลอง ศรีเมือง และผู้ชุมนุมบางส่วนถูกจับกุม
  • 19 พฤษภาคม - กลุ่มผู้ชุมนุมที่ไม่ได้ถูกจับกุมย้ายสถานที่ชุมนุมไปที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง
  • 20 พฤษภาคม - พลเอก สุจินดา คราประยูร ได้ประกาศห้ามมิให้บุคคลใดในกรุงเทพมหานครออกนอกเคหสถาน เวลา 21.00น.ถึง 04.00 น. ของวันที่ 21 พฤษภาคม[10]
  • 20 พฤษภาคม - พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีรับสั่งให้ผู้นำทั้งสองฝ่าย คือพลเอกสุจินดา และพลตรีจำลอง เข้าเฝ้า โดยผู้ที่นำเข้าเฝ้าคือพลเอกเปรม ติณสูลานนท์
  • 24 พฤษภาคม -พลเอกสุจินดา และพลตรีจำลอง แถลงการณ์ร่วมกันผ่านโทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทยและพลเอกสุจินดา ลาออกจากตำแหน่ง
  • 26 พฤษภาคม - ได้มีประกาศยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในกรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดนนทบุรี และจังหวัดปทุมธานี โดยยกเลิกตั้งแต่เวลา 12.00 น.ของวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2535[11]
  • 10 มิถุนายน - แกนนำจัดตั้งรัฐบาลเสนอชื่อพลอากาศเอกสมบุญ ระหงษ์ หัวหน้าพรรคชาติไทย เป็นนายกรัฐมนตรี แต่นายอาทิตย์ อุไรรัตน์ รองหัวหน้าพรรคสามัคคีธรรม ในฐานะประธานสภาผู้แทนราษฎร และรักษาการประธานรัฐสภา ตัดสินใจนำชื่อนายอานันท์ ปันยารชุน ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อโปรดเกล้าฯ ให้ กลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง
  • 13 กันยายน - มีการเลือกตั้งใหญ่ทั่วทั้งประเทศ พรรคประชาธิปัตย์ได้รับคะแนนเสียงมาเป็นลำดับหนึ่ง นายชวน หลีกภัย ได้เป็นนายกรัฐมนตรี

ย้อนดูเหตุนองเลือด พฤษภาทมิฬ ไทยจะย้ำรอยเดิมอีกหรือ?

พฤษภาทมิฬ 2535



ชนวนเหตุ

เหตุการณ์ครั้งนี้ เริ่มต้นมาจากเหตุการณ์รัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2534 หรือ 1 ปีก่อนหน้าการประท้วง ซึ่ง รสช. ได้ยึดอำนาจจากรัฐบาล ซึ่งมีพลเอกชาติชาย ชุณหะวัณ เป็น นายกรัฐมนตรี โดยให้เหตุผลหลักว่า มีการฉ้อราษฎร์บังหลวงอย่างหนักในรัฐบาล และรัฐบาลพยายามทำลายสถาบันทหาร โดยหลังจากยึดอำนาจ คณะ รสช. ได้เลือก นายอานันท์ ปันยารชุน เป็นนายกรัฐมนตรีรักษาการ มีการแต่งตั้งสภานิติบัญญัติแห่งชาติขึ้น รวมทั้งการแต่งตั้งคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 20 คน เพื่อร่างรัฐธรรมนูญใหม่

หลังจากร่างรัฐธรรมนูญสำเร็จ ก็ได้มีการจัดการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2535 โดยพรรคที่ได้จำนวนผู้แทนมากที่สุดคือ พรรคสามัคคีธรรม (79 คน) ได้เป็นแกนนำจัดตั้งรัฐบาล โดยมีการรวมตัวกับพรรคร่วมรัฐบาลอื่น ๆ คือ พรรคชาติไทย พรรคกิจสังคม และพรรคราษฎร[6] และมีการเตรียมเสนอนายณรงค์ วงศ์วรรณ หัวหน้าพรรคสามัคคีธรรมในฐานะหัวหน้าพรรคที่มีผู้แทนมากที่สุด ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ปรากฏว่า ทางโฆษกกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐอเมริกา นางมาร์กาเร็ต แท็ตไวเลอร์ ได้ออกมาประกาศว่า นายณรงค์ นั้นเป็นผู้หนึ่งที่ไม่สามารถขอวีซ่าเดินทางเข้าสหรัฐฯ ได้ เนื่องจากมีความใกล้ชิดกับนักค้ายาเสพติด

ในที่สุด จึงมีการเสนอชื่อ พลเอกสุจินดา คราประยูร ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน ซึ่งเมื่อได้รับพระราชทานแต่งตั้งอย่างเป็นทางการแล้ว ก็เกิดความไม่พอใจของประชาชนในวงกว้าง เนื่องจากก่อนหน้านี้, ในระหว่างที่มีการทักท้วงโต้แย้งเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญที่ร่างขึ้นมาใหม่ว่า ไม่มีความเป็นประชาธิปไตย, ซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับนี้ก็ได้ถูกประกาศใช้

พรรคเทพ พรรคมาร

พรรคเทพ พรรคมาร เป็นคำที่สื่อมวลชนใช้เรียกกลุ่มพรรคการเมืองในเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ที่แบ่งแยกเป็น 2 ฝ่ายชัดเจน พรรคที่ถูกเรียกว่า พรรคเทพ คือพรรคที่ประกาศตัวเป็นฝ่ายค้าน ไม่สนับสนุนการดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของ พลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้นำคณะรัฐประหาร รสช. ที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง และได้ประกาศต่อสาธารณะมาตลอดว่าจะไม่รับตำแหน่งนายกรัฐมนตรี โดยที่กระแส "นายกฯ ต้องมาจากการเลือกตั้ง" เป็นกระแสหลักของสังคมไทยในขณะนั้น พรรคเทพ ประกอบด้วย 4 พรรคการเมืองคือ พรรคความหวังใหม่ (72 เสียง) พรรคประชาธิปัตย์ (44 เสียง) พรรคพลังธรรม (41 เสียง) และพรรคเอกภาพ (6 เสียง)

ในขณะที่ พรรคมาร คือพรรคที่สนับสนุนพลเอกสุจินดา คราประยูร ประกอบด้วยพรรคการเมือง 5 พรรค ได้แก่ พรรคสามัคคีธรรม (79 เสียง) พรรคชาติไทย (74 เสียง) พรรคกิจสังคม (31 เสียง) พรรคประชากรไทย (7 เสียง) และพรรคราษฎร (4 เสียง) ซึ่งก่อนเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬมีกระแสเรียกร้องให้แก้ไขรัฐธรรมนูญ ให้นายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง และทั้ง 5 พรรคนี้ต่างเคยตอบรับมาก่อน แต่ในที่สุดกลับหันมาสนับสนุนพลเอกสุจินดา คราประยูร และเห็นว่าเป็นการพยายามสืบทอดอำนาจของคณะรัฐประหาร (รสช.)

การต่อต้านของประชาชน

พลเอกสุจินดา คราประยูร ได้ให้สัมภาษณ์หลายครั้งว่า ตนและสมาชิกในคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติจะไม่รับตำแหน่งทางการเมือง ใด ๆ แต่ภายหลังได้มารับตำแหน่งรัฐมนตรี ซึ่งไม่ตรงกับที่เคยพูดไว้ เหตุการณ์นี้ จึงได้เป็นที่มาของประโยคที่ว่า "เสียสัตย์เพื่อชาติ" และเป็นหนึ่งในชนวนให้ฝ่ายที่คัดค้านรัฐธรรมนูญฉบับนี้ทำการเคลื่อนไหวอีกด้วย

การรับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของพลเอกสุจินดา ดังกล่าว นำไปสู่การเคลื่อนไหวคัดค้านต่าง ๆ ของประชาชน รวมถึงการอดอาหารของ ร้อยตรีฉลาด วรฉัตร และ พลตรีจำลอง ศรีเมือง (หัวหน้าพรรคพลังธรรมในขณะนั้น) สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ที่มีนายปริญญา เทวานฤมิตรกุล เป็นเลขาธิการ ตามมาด้วยการสนับสนุนของพรรคฝ่ายค้านประกอบด้วยพรรคประชาธิปัตย์, พรรคเอกภาพ, พรรคความหวังใหม่และพรรคพลังธรรม โดยมีข้อเรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออกจากตำแหน่ง และเสนอว่าผู้ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีต้องมาจากการเลือกตั้ง

หลังการชุมนุมยืดเยื้อตั้งแต่เดือนเมษายน เมื่อเข้าเดือนพฤษภาคม รัฐบาลเริ่มระดมทหารเข้ามารักษาการในกรุงเทพมหานคร และเริ่มมีการเผชิญหน้ากันระหว่างผู้ชุมนุมกับเจ้าหน้าที่ตำรวจและทหารใน บริเวณราชดำเนินกลาง ทำให้สถานการณ์ตึงเครียดมากขึ้นเรื่อย ๆ

กระทั่งในคืนวันที่ 17 พฤษภาคม ขณะที่มีการเคลื่อนขบวนประชาชนจากสนามหลวงไปยังถนนราชดำเนินกลางเพื่อไปยัง หน้าทำเนียบรัฐบาล ตำรวจและทหารได้สกัดการเคลื่อนขบวนของประชาชน เริ่มเกิดการปะทะกันระหว่างประชาชนกับเจ้าหน้าที่ตำรวจในบางจุด และมีการบุกเผาสถานีตำรวจนครบาลนางเลิ้ง จากนั้นวันที่ 18 พฤษภาคม เวลา 00.30น.[7]รัฐบาลได้ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในกรุงเทพมหานคร จังหวัดปทุมธานี จังหวัดสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรสงคราม และจังหวัดนนทบุรี[8] และให้ทหารทำหน้าที่รักษาความสงบ แต่ได้นำไปสู่การปะทะกันกับประชาชน มีการใช้กระสุนจริงยิงใส่ผู้ชุมนุมในบริเวณถนนราชดำเนินจากนั้นจึงเข้าสลาย การชุมนุมในเช้ามืดวันเดียวกันนั้น ตามหลักฐานที่ปรากฏมีผู้เสียชีวิตหลายสิบคน

เวลา 15.30 นาฬิกา ของวันที่ 18 พฤษภาคม ทหารได้ควบคุมตัวพลตรีจำลอง ศรีเมือง จากบริเวณที่ชุมนุมกลางถนนราชดำเนินกลาง และรัฐบาลได้ออกแถลงการณ์หลายฉบับและรายงานข่าวทางโทรทัศน์ของรัฐบาลทุกช่อง ยืนยันว่าไม่มีการเสียชีวิตของประชาชน แต่การชุมนุมต่อต้านของประชาชนยังไม่สิ้นสุด เริ่มมีประชาชนออกมาชุมนุมอย่างต่อเนื่องในหลายพื้นที่ทั่วกรุงเทพ โดยเฉพาะที่มหาวิทยาลัยรามคำแหง พร้อมมีการตั้งแนวป้องกันการปราบปรามตามถนนสายต่าง ๆ ขณะที่รัฐบาลได้ออกประกาศจับแกนนำอีก 7 คน คือ นายปริญญา เทวานฤมิตรกุล, นายแพทย์เหวง โตจิราการ, นายแพทย์สันต์ หัตถีรัตน์, นายสมศักดิ์ โกศัยสุข, นางประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ, นางสาวจิตราวดี วรฉัตร และนายวีระ มุสิกพงศ์ โดยระบุว่าบุคคลเหล่านี้ยังคงชุมนุมไม่เลิก และยังปรากฏข่าวรายงานการปะทะกันระหว่างเจ้าหน้าที่กับประชาชนในหลายจุดและ เริ่มเกิดการปะทะกันรุนแรงมากขึ้นในคืนวันนั้นในบริเวณถนนราชดำเนิน

19 พฤษภาคม เจ้าหน้าที่เริ่มเข้าควบคุมพื้นที่บริเวณถนนราชดำเนินกลางได้ และควบคุมตัวประชาชนจำนวนมากขึ้นรถบรรทุกทหารไปควบคุมไว้พลเอกสุจินดา คราประยูร นายกรัฐมนตรี แถลงการณ์ย้ำว่าสถานการณ์เริ่มกลับสู่ความสงบและไม่ให้ประชาชนเข้าร่วม ชุมนุมอีก แต่ยังปรากฏการรวมตัวของประชาชนใหม่ที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงในคืนวันเดียวกัน และมีการเริ่มก่อความไม่สงบเพื่อต่อต้านรัฐบาลโดยกลุ่มจักรยานยนต์หลาย พื้นที่ในกรุงเทพมหานคร เช่นการทุบทำลายป้อมจราจรและสัญญาณไฟจราจร

วันเดียวกันนั้นเริ่มมีการออกแถลงการณ์เรียกร้องให้นายกรัฐมนตรีลาออกจาก ตำแหน่งเพื่อรับผิดชอบต่อการเสียชีวิตของประชาชน ขณะที่สื่อของรัฐบาลยังคงรายงานว่าไม่มีการสูญเสียชีวิตของประชาชน แต่สำนักข่าวต่างประเทศอย่างซีเอ็นเอ็นและบีบีซีได้ รายงานภาพของการสลายการชุมนุมและการทำร้ายผู้ชุมนุม หนังสือพิมพ์ในประเทศไทยบางฉบับเริ่มตีพิมพ์ภาพการสลายการชุมนุม ขณะที่รัฐบาลได้ประกาศให้มีการตรวจและควบคุมการเผยแพร่ข่าวสารทางสื่อมวลชน เอกชนในประเทศ

ซึ่งการชุมนุมในครั้งนี้ ด้วยผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลางในเขตตัวเมือง เป็นนักธุรกิจหรือบุคคลวัยทำงาน ซึ่งแตกต่างจากเหตุการณ์ 14 ตุลา ในอดีต ซึ่งผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เป็นนิสิต นักศึกษา ประกอบกับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือที่ เพิ่งเข้ามาในประเทศไทย และใช้เป็นเครื่องมือสำคัญในการติดต่อสื่อสารในครั้งนี้ เหตุการณ์พฤษภาทมิฬนี้จึงได้ชื่อเรียกอีกชื่อนึงว่า "ม็อบมือถือ"

ไอ้แหลม

ไอ้แหลม เป็นชื่อที่เรียกบุคคลลึกลับซึ่งไม่ทราบว่าเป็นผู้ใดจนถึงทุกวันนี้ เป็นชายที่ ส่งเสียงรบกวนวิทยุสื่อสารของทหารและตำรวจตลอดระยะเวลาการชุมนุม โดยมักกวนเป็นเสียงแหลมสูง และมีประโยคด่าทอรัฐบาล ทหารและตำรวจด้วยวาทะที่เจ็บแสบ[9]

แผนไพรีพินาศ

แผนไพรีพินาศ เป็นแผนยุทธการจัดวางกองกำลังและสลายการชุมนุม ในลักษณะของแผนเผชิญเหตุ จัดทำขึ้นโดยกองกำลังรักษาพระนครตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความสงบ ได้แก่ ทหาร ตำรวจ และข้าราชการพลเรือน นำไปปฏิบัติ ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 และ พ.ศ. 2529 ได้มีการพัฒนาปรับปรุงแผนให้สอดคล้องกับสถานการณ์มากขึ้น

ส่วนแผนที่มีผลบังคับใช้ขณะเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ คือ แผนไพรีพินาศ/33 ซึ่งมี 4 ขั้นตอน ได้แก่

  1. ขั้นการเตรียมการ โดยให้ทุกกองกำลังออกหาข่าว รวบรวมข่าวสาร และเตรียมกำลัง เจ้าหน้าที่ รวมถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการปฏิบัติการ
  2. ขั้นป้องกัน ใช้กองกำลังตำรวจในการสกัดกั้น ให้การประชาสัมพันธ์เพื่อให้ผู้ก่อความไม่สงบ ทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์โดยถูกต้องและยุติการกระทำเอง ทางเจ้าหน้าที่จะปิดล้อมพื้นที่สำคัญ เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งอารักขาสถานที่และบุคคลสำคัญของประเทศ
  3. ขั้นปราบปรามรุนแรง หากการปฏิบัติการขั้นที่ 2 หรือกองกำลังตำรวจไม่สามารถที่จะระงับสถานการณ์ได้สำเร็จ และสถานการณ์ทวีความรุนแรงจนไม่สามารถควบคุมได้แล้ว จึงใช้กองกำลังของกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ เข้าระงับยับยั้งยุติภัยคุกคาม
  4. ขั้นสุดท้าย คือ การส่งมอบพื้นที่และความรับผิดชอบ ให้แก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนหรือตำรวจรับผิดชอบต่อไป เมื่อสถานการณ์คลี่คลายแล้ว

แผนไพรีพินาศ เป็นแผนยุทธการจัดวางกองกำลังและสลายการชุมนุม ในลักษณะของแผนเผชิญเหตุ จัดทำขึ้นโดยกองกำลังรักษาพระนครตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความสงบ ได้แก่ ทหาร ตำรวจ และข้าราชการพลเรือน นำไปปฏิบัติ ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 และ พ.ศ. 2529 ได้มีการพัฒนาปรับปรุงแผนให้สอดคล้องกับสถานการณ์มากขึ้น

ส่วนแผนที่มีผลบังคับใช้ขณะเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ คือ แผนไพรีพินาศ/33 ซึ่งมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1.ขั้นการเตรียมการ โดยให้ทุกกองกำลังออกหาข่าว รวบรวมข่าวสาร และเตรียมกำลัง เจ้าหน้าที่ รวมถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการปฏิบัติการ 2.ขั้นป้องกัน ใช้กองกำลังตำรวจในการสกัดกั้น ให้การประชาสัมพันธ์เพื่อให้ผู้ก่อความไม่สงบ ทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์โดยถูกต้องและยุติการกระทำเอง ทางเจ้าหน้าที่จะปิดล้อมพื้นที่สำคัญ เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งอารักขาสถานที่และบุคคลสำคัญของประเทศ 3.ขั้นปราบปรามรุนแรง หากการปฏิบัติการขั้นที่ 2 หรือกองกำลังตำรวจไม่สามารถที่จะระงับสถานการณ์ได้สำเร็จ และสถานการณ์ทวีความรุนแรงจนไม่สามารถควบคุมได้แล้ว จึงใช้กองกำลังของกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ เข้าระงับยับยั้งยุติภัยคุกคาม 4.ขั้นสุดท้าย คือ กาแผนไพรีพินาศ เป็นแผนยุทธการจัดวางกองกำลังและสลายการชุมนุม ในลักษณะของแผนเผชิญเหตุ จัดทำขึ้นโดยกองกำลังรักษาพระนครตั้งแต่ปี พ.ศ. 2524 เพื่อให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการรักษาความสงบ ได้แก่ ทหาร ตำรวจ และข้าราชการพลเรือน นำไปปฏิบัติ ต่อมาในปี พ.ศ. 2527 และ พ.ศ. 2529 ได้มีการพัฒนาปรับปรุงแผนให้สอดคล้องกับสถานการณ์มากขึ้น

ส่วนแผนที่มีผลบังคับใช้ขณะเกิดเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ คือ แผนไพรีพินาศ/33 ซึ่งมี 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1.ขั้นการเตรียมการ โดยให้ทุกกองกำลังออกหาข่าว รวบรวมข่าวสาร และเตรียมกำลัง เจ้าหน้าที่ รวมถึงอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการปฏิบัติการ 2.ขั้นป้องกัน ใช้กองกำลังตำรวจในการสกัดกั้น ให้การประชาสัมพันธ์เพื่อให้ผู้ก่อความไม่สงบ ทราบถึงข้อเท็จจริงเกี่ยวกับสถานการณ์โดยถูกต้องและยุติการกระทำเอง ทางเจ้าหน้าที่จะปิดล้อมพื้นที่สำคัญ เพื่อป้องกันมิให้เกิดความเสียหายเพิ่มขึ้น พร้อมทั้งอารักขาสถานที่และบุคคลสำคัญของประเทศ 3.ขั้นปราบปรามรุนแรง หากการปฏิบัติการขั้นที่ 2 หรือกองกำลังตำรวจไม่สามารถที่จะระงับสถานการณ์ได้สำเร็จ และสถานการณ์ทวีความรุนแรงจนไม่สามารถควบคุมได้แล้ว จึงใช้กองกำลังของกองทัพบก กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ เข้าระงับยับยั้งยุติภัยคุกคาม 4.ขั้นสุดท้าย คือ การส่งมอบพื้นที่และความรับผิดชอบ ให้แก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนหรือตำรวจรับผิดชอบต่อไป เมื่อสถานการณ์คลี่คลายแล้ว รส่งมอบพื้นที่และความรับผิดชอบ ให้แก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือนหรือตำรวจรับผิดชอบต่อไป เมื่อสถานการณ์คลี่คลายแล้ว

"บิ๊กป้อม"ตอบตรง!!! ปมคำถามพ่วงประชามติ "ส.ว."เลือกนายกรัฐมนตรีได้



Download

อ ชูพงศ์ เปลี่ยนระบอบ 8 เมษ 59 พิเศษ สำหรับคอการเมือง โค้งอันตราย ประเทศไทย

อ ชูพงศ์ เปลี่ยนระบอบ 8 เมษ 59   พิเศษ สำหรับคอการเมือง โค้งอันตราย ประเทศไทย

ทางออกของประเทศไทย คือ ต้องโค้นล้ม ราชาธิปไตย

และตั้งกองทัพเพื่อประชาชน     

Thursday, April 7, 2016

แถลงการณ์คณะนิติราษฎร์ เรื่อง ร่างรัฐธรรมนูญฉบับออกเสียงประชามติ

แถลงการณ์คณะนิติราษฎร์

เรื่อง ร่างรัฐธรรมนูญฉบับออกเสียงประชามติ

 

เมื่อวันที่ ๒๙ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช .... เพื่อให้ประชาชนได้ศึกษาก่อนออกเสียงประชามติว่าจะรับร่างรัฐธรรมนูญฉบับดัง กล่าวทั้งฉบับหรือไม่

คณะนิติราษฎร์ : นิติศาสตร์เพื่อราษฎร ได้ศึกษาร่างรัฐธรรมนูญฉบับออกเสียงประชามติโดยละเอียดแล้ว มีความเห็นในเบื้องต้นเกี่ยวกับเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญ ข้อวิจารณ์เกี่ยวกับข้อดีของร่างรัฐธรรมนูญตามการโฆษณาประชาสัมพันธ์ของฝ่าย ต่าง ๆ หลักเกณฑ์การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ และการให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญโดยความมุ่งหวังที่จะนำไปสู่การเลือก ตั้งและการปกครองโดยรัฐบาลพลเรือนโดยเร็วดังนี้

ส่วนที่ ๑

เนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญ

คณะนิติราษฎร์ได้ศึกษาและวิเคราะห์เนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญแล้ว มีความเห็นในประเด็นสำคัญ เกี่ยวกับเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญในบทเฉพาะกาล และเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญในหมวดอื่น ๆ ดังนี้

๑.๑ เนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญในบทเฉพาะกาล

๑.๑.๑ อำนาจเบ็ดเสร็จของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

หลังจากรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวสิ้นสุดลงและมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับ ถาวรเพื่อก่อตั้งระบบกฎหมายขึ้นใหม่ โดยหลักการแล้ว อำนาจของคณะรัฐประหารต้องสิ้นสุดลง กรณีนี้เป็นหลักทั่วไปในการจัดทำรัฐธรรมนูญที่ปรากฏมาโดยตลอดใน ประวัติศาสตร์การจัดทำรัฐธรรมนูญในประเทศไทย แต่ร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๖๕ กลับบัญญัติรับรองให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติยังคงมีอำนาจตามมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. ๒๕๕๗ ต่อเนื่องไปอีกจนกว่าคณะรัฐมนตรีที่เข้าดำรงตำแหน่งเป็นครั้งแรกตามร่าง รัฐธรรมนูญจะเข้ารับหน้าที่ จึงเท่ากับว่าหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติยังคงมีอำนาจสูงสุดเด็ดขาดต่อ ไป การบัญญัติรัฐธรรมนูญในลักษณะเช่นนี้ทำให้กฎเกณฑ์สำคัญในร่างรัฐธรรมนูญโดย เฉพาะกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของบุคคลหมดความหมายลงอย่าง สิ้นเชิง เพราะหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติยังสามารถใช้อำนาจดังกล่าวละเมิดสิทธิ และเสรีภาพของประชาชนโดยผู้ถูกล่วงละเมิดไม่อาจฟ้องร้องโต้แย้งในทางใดได้ ดังนั้นการออกเสียงประชามติให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จึงเท่ากับ บุคคลผู้ทรงสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญยินยอมให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่ง ชาติสามารถใช้อำนาจตามมาตรา ๔๔ ละเมิดสิทธิเสรีภาพของตนโดยผู้ที่ใช้อำนาจดังกล่าวไม่ต้องมีความรับผิดใด ๆ ทั้งสิ้น

๑.๑.๒ ที่มาของสมาชิกวุฒิสภาในวาระห้าปีแรกหลังประกาศใช้รัฐธรรมนูญ

ร่างรัฐธรรมนูญมาตรา ๒๖๙ กำหนดให้มีสมาชิกวุฒิสภาโดยตำแหน่งจากผู้บัญชาการเหล่าทัพและตำรวจ ประกอบกับสมาชิกวุฒิสภาซึ่งมีที่มาจากการคัดเลือกของคณะรักษาความสงบแห่ง ชาติ ในขณะที่วุฒิสภาตามร่างรัฐธรรมนูญนี้มีบทบาทและอำนาจหน้าที่สำคัญทั้งในการ แก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ การออกกฎหมาย การให้ความเห็นชอบบุคคลไปดำรงตำแหน่งในศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระต่าง ๆ และการกำกับการปฏิรูปประเทศ ฯลฯ เมื่อโครงสร้าง ที่มา และอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภาเป็นเช่นนี้ จึงกล่าวได้ว่า ในวาระห้าปีแรกของการบังคับใช้รัฐธรรมนูญ การปฏิบัติหน้าที่ในด้านต่าง ๆ ของสมาชิกวุฒิสภา ย่อมเป็นไปได้ยากที่จะปลอดพ้นจากการครอบงำของคณะรักษาความสงบแห่งชาติซึ่ง เป็นผู้คัดเลือกสมาชิกวุฒิสภาได้

๑.๑.๓ คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญและการยกร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ

ร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๖๗ กำหนดให้ "คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ" อยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปเพื่อจัดทำร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ๑๐ ฉบับรวมถึงร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญในส่วนที่เกี่ยวกับการเลือก ตั้งให้แล้วเสร็จภายใน ๒๔๐ วัน

ระยะเวลาในการจัดทำร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญดังกล่าวเป็นระยะ เวลายาวนานเกินไป ทั้ง ๆ ที่สมควรเร่งรัดให้จัดทำร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญที่จำเป็นต่อการ เลือกตั้งให้แล้วเสร็จก่อนเพื่อนำไปสู่การเลือกตั้งโดยเร็ว อีกทั้งร่างรัฐธรรมนูญก็ไม่ได้กำหนดสภาพบังคับเอาไว้ว่าหากคณะกรรมการร่าง รัฐธรรมนูญจัดทำร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญไม่แล้วเสร็จภายใน ๒๔๐ วันจะมีผลอย่างไร จึงอาจทำให้การเลือกตั้งถูกเลื่อนออกไปได้อย่างไม่มีกำหนดเวลาแน่นอน

นอกจากนั้น เนื้อหาสำคัญที่ควรปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญหลายเรื่อง ถูกบัญญัติให้ไปกำหนดรายละเอียดในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ อย่างเช่น วิธีการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งโดยตรงแต่มาจากการ สรรหาคัดเลือก ทำให้ในชั้นของการออกเสียงประชามติว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ประชาชนไม่อาจทราบเนื้อหาสำคัญในเรื่องดังกล่าวเพื่อประกอบการตัดสินใจ ผลจากการนี้ ประชาชนจึงอาจออกเสียงประชามติให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญเพราะ "สำคัญผิด" ในสาระสำคัญได้ ซึ่งหากเนื้อหาของเรื่องนั้นปรากฏอยู่ในร่างรัฐธรรมนูญ แทนที่จะปรากฏในพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ประชาชนก็อาจตัดสินใจไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้

๑.๑.๔ การรับรองความชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายให้แก่ประกาศ คำสั่ง และการกระทำของคณะรักษาความสงบแห่งชาติและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ

ร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๗๙ ได้บัญญัติรับรองความชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมายให้แก่ประกาศ คำสั่ง และการกระทำของคณะรักษาความสงบแห่งชาติและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ตลอดจนการกระทำอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะได้กระทำก่อนหรือหลังวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับลงประชามติ กรณีเช่นนี้ ทำให้บรรดาการกระทำทั้งหลายเหล่านั้น แม้โดยเหตุผลของเรื่องจะไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและกฎหมาย ก็ถูกทำให้ชอบด้วยรัฐธรรมนูญและชอบด้วยกฎหมายโดยที่บุคคลใดก็ไม่อาจโต้แย้ง ได้ การบัญญัติรัฐธรรมนูญไว้ในลักษณะเช่นนี้ย่อมมีผลเป็นการทำลายหลักความเป็น กฎหมายสูงสุดของรัฐธรรมนูญโดยมาตรา ๒๗๙ ของรัฐธรรมนูญเอง ยิ่งไปกว่านั้น นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การร่างรัฐธรรมนูญไทยที่มีการบัญญัติให้การ ใช้อำนาจพิเศษของคณะรัฐประหารได้รับการรับรองให้ชอบด้วยรัฐธรรมนูญนี้ แม้การใช้อำนาจพิเศษดังกล่าวนั้นจะเกิดขึ้นภายหลังการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับที่มุ่งหมายให้ใช้บังคับเป็นถาวรแล้วก็ตาม กรณีจึงเท่ากับว่าแม้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับที่มุ่งหมายให้ใช้บังคับ เป็นการถาวร โดยรับรองหลักการแบ่งแยกอำนาจและได้กระจายอำนาจรัฐให้แก่องค์กรของรัฐต่าง ๆ ตามสถานการณ์ปกติแล้ว แต่หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติก็ยังคงมีและสามารถใช้ "อำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาด" ต่อไปได้อีก จนกว่าคณะรัฐมนตรีที่เข้าดำรงตำแหน่งเป็นครั้งแรกตามรัฐธรรมนูญฉบับออกเสียง ประชามติจะเข้ารับหน้าที่ ซึ่งไม่ถูกต้องและหาเหตุผลใด ๆ มารองรับไม่ได้

๑.๒ เนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญในหมวดอื่น ๆ

๑.๒.๑ วิธีการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร

ร่างรัฐธรรมนูญฉบับออกเสียงประชามติ มาตรา ๘๓ กำหนดให้มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน ๕๐๐ คน แบ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง ๓๕๐ คน และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรซึ่งมาจากบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองอีก ๑๕๐ คน โดยผู้มีสิทธิเลือกตั้งมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งได้คนละหนึ่งคะแนนและกำหนด ให้ใช้บัตรเลือกตั้งเพียงใบเดียว โดยให้มีผลเป็นการเลือกทั้งตัวผู้สมัครซึ่งมาจากเขตเลือกตั้งและจากบัญชีราย ชื่อของพรรคการเมืองไปพร้อมกัน

การกำหนดระบบการเลือกตั้งดังกล่าว ไม่เปิดโอกาสให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งสามารถออกเสียงเลือกบัญชีรายชื่อ พรรคการเมืองได้โดยตรง แต่จะนำคะแนนที่ผู้สมัครแบบแบ่งเขตเลือกตั้งได้รับไปคำนวณจำนวนที่นั่ง สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรของแต่ละพรรคการเมือง การคำนวณเช่นนี้อาจส่งผลให้เจตจำนงที่แท้จริงของผู้ออกเสียงลงคะแนนถูกบิด ผันไป เนื่องจากในกรณีที่ผู้ออกเสียงลงคะแนนประสงค์จะเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้ง แบบแบ่งเขตเลือกตั้งคนหนึ่ง แต่ไม่ประสงค์จะเลือกบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองที่ผู้สมัครรับเลือกตั้ง แบบแบ่งเขตเลือกตั้งคนนั้นสังกัด การออกเสียงลงคะแนนแบบแบ่งเขตเลือกตั้งดังกล่าวจะมีผล "บังคับ" ให้เป็นการเลือกบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองที่ผู้สมัครรับเลือกตั้งคนนั้น สังกัดทันที ในทางกลับกัน ในกรณีที่ผู้ออกเสียงลงคะแนนประสงค์จะเลือกบัญชีรายชื่อของพรรคการเมือง หนึ่ง แต่เนื่องจากไม่มีบัตรให้ออกเสียงลงคะแนนแบบบัญชีรายชื่อ ผู้ออกเสียงลงคะแนนจึงจำเป็นต้องเลือกผู้สมัครในเขตเลือกตั้งที่สังกัดพรรค นั้นทั้งที่ไม่ประสงค์จะเลือก เพื่อจะได้นำคะแนนนั้นไปคำนวณให้แก่บัญชีรายชื่อพรรคการเมืองตามที่ตน ต้องการ

ภายใต้ระบบการเลือกตั้งในลักษณะเช่นนี้ หากเกิดเหตุการณ์ที่กระทบต่อผลการเลือกตั้งของผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่ง เขตเลือกตั้งภายในหนึ่งปี เช่น ผู้ชนะการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง ขาดคุณสมบัติหรือถึงแก่ความตาย กรณีจะกระทบต่อสัดส่วนคะแนนที่พรรคการเมืองได้รับเพื่อไปคำนวณหาจำนวนสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองนั้น และอาจส่งผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อของพรรคการเมืองนั้นต้อง พ้นจากตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งจะส่งผลให้เกิดความไม่มั่นคงแน่นอนของตำแหน่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบ บัญชีรายชื่อ

คณะนิติราษฎร์เห็นว่าหากต้องการให้ระบบการเลือกตั้งสะท้อน "เจตจำนงอันแท้จริง" ของประชาชนและต้องการให้มีผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งในระบบแบ่งเขตเลือกตั้ง และระบบบัญชีรายชื่อ จะต้องกำหนดให้ประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน สองคะแนน โดยให้ลงคะแนนเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้งหนึ่งคะแนนและ แบบบัญชีรายชื่อพรรคการเมืองอีกหนึ่งคะแนน ไม่ใช่ให้ผู้มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งลงคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทน ราษฎรทั้งจากผู้สมัครรับเลือกตั้งในระบบแบ่งเขตเลือกตั้งและระบบบัญชีราย ชื่อโดยใช้บัตรเลือกตั้งเพียงใบเดียวและนับเพียงคะแนนเดียว

๑.๒.๒ วิธีการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภา

ร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๐๗ กำหนดให้สมาชิกวุฒิสภามาจากการคัดเลือกกันเองระหว่างผู้สมัครเข้ารับเลือก วิธีการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาดังกล่าวนี้ ไม่สอดคล้องกับหลักการเลือกตั้งตามมาตรฐานในรัฐเสรีประชาธิปไตยและไม่เชื่อม โยงกับประชาชนผู้ทรงอำนาจอธิปไตย เนื่องจากประชาชนไม่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งสมาชิกวุฒิสภาไม่ว่าจะทางตรง หรือทางอ้อม กรณีไม่มีสิทธิเลือกตั้งทางตรง หมายความว่า ประชาชนไม่มีสิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกผู้สมัครรับเลือกตั้งโดยไม่มีบุคคล หรือคณะบุคคลใดคั่นกลางระหว่างผู้เลือกกับผู้ได้รับเลือก ส่วนกรณีไม่มีสิทธิเลือกตั้งทางอ้อม หมายความว่า ประชาชนไม่สามารถใช้สิทธิออกเสียงลงคะแนนเลือกคณะผู้เลือกสมาชิกวุฒิสภาได้

เมื่อพิจารณาอำนาจหน้าที่ของวุฒิสภาตามร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้แล้ว จะเห็นว่าผู้ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดให้วุฒิสภามีอำนาจหน้าที่สำคัญหลายประการ ทั้งการให้ความเห็นชอบบุคคลไปดำรงตำแหน่งในศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระต่าง ๆ การถ่วงดุลอำนาจของสภาผู้แทนราษฎรในกระบวนการตราพระราชบัญญัติ การเป็นองค์กรร่วมใช้อำนาจกับสภาผู้แทนราษฎรในการตราพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญและการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ การทำหน้าที่เป็นรัฐสภาในกิจการสำคัญในกรณีสภาผู้แทนราษฎรสิ้นอายุ หรือถูกยุบ หรือไม่มีสภาผู้แทนราษฎร เมื่อวุฒิสภามีอำนาจหน้าที่สำคัญเช่นนี้ การกำหนดวิธีการได้มาซึ่งสมาชิกวุฒิสภาโดยขาดความเชื่อมโยงกับประชาชน จึงทำให้วุฒิสภาขาดความชอบธรรมทางประชาธิปไตยในการทำหน้าที่ต่าง ๆ เหล่านั้น

๑.๒.๓ การบริหารราชการแผ่นดินของคณะรัฐมนตรี

ร่างรัฐธรรมนูญ หมวด ๑๖ กำหนดให้มีการปฏิรูปประเทศในด้านต่าง ๆ ตามกฎหมายว่าด้วยแผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ กรณีนี้ แม้นายกรัฐมนตรีจะมาจากการคัดเลือกของสภาผู้แทนราษฎรซึ่งเป็นผู้แทนปวงชนชาว ไทย และคณะรัฐมนตรีจะต้องบริหารราชการแผ่นดินตามความประสงค์ของประชาชนก็ตาม แต่ตามร่างรัฐธรรมนูญหมวดนี้ คณะรัฐมนตรีจะไม่มีอำนาจและไม่มีความเป็นอิสระในการกำหนดนโยบายอย่างแท้จริง เพราะนโยบายในการบริหารประเทศด้านต่าง ๆ ได้ถูกกำหนดเอาไว้แล้วในหมวดนี้ และบังคับให้คณะรัฐมนตรีต้องดำเนินการตามหมวดหน้าที่ของรัฐ ดังนั้น ตามร่างรัฐธรรมนูญฉบับออกเสียงประชามตินี้คณะรัฐมนตรีจึงไม่ได้เป็น "องค์กรผู้มีอำนาจกำหนดนโยบายสาธารณะ" อย่างแท้จริง ตามความต้องการของประชาชน หากเป็นแต่เพียง "องค์กรผู้มีหน้าที่ต้องปฏิบัติงานประจำ" ตามแผนการปฏิรูปประเทศที่คณะรัฐประหารและคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้กำหนด เอาไว้

๑.๒.๔ อำนาจขององค์กรตุลาการและองค์กรอิสระ

ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดอำนาจหน้าที่ให้องค์กรตุลาการและองค์กรอิสระมีอำนาจ ตรวจสอบฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติอย่างกว้างขวางในหลายมิติ ในลักษณะที่ไม่ได้ดุลยภาพ ดังตัวอย่างที่จะได้แสดงให้เห็นดังต่อไปนี้ คือ

กรณีตามมาตรา ๒๑๙ ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระมีอำนาจร่วมกันในการกำหนดมาตรฐานทางจริยธรรม ซึ่งมาตรฐานทางจริยธรรมดังกล่าวนี้ไม่ได้ใช้บังคับเฉพาะแก่สมาชิกในองค์กร ของตนเท่านั้น แต่ยังนำไปใช้บังคับแก่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา และคณะรัฐมนตรีด้วย หากคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติเห็นว่าผู้ดำรงตำแหน่ง ทางการเมืองคนใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงตาม ที่ศาลรัฐธรรมนูญและองค์กรอิสระกำหนด ก็อาจไต่สวนและเสนอเรื่องไปยังศาลฎีกาให้วินิจฉัยได้ ทั้งนี้ตามมาตรา ๒๓๕ (๑)  และศาลฎีกาก็อาจวินิจฉัยให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองคนนั้นพ้นจากตำแหน่ง และถูกเพิกถอน "สิทธิสมัครรับเลือกตั้ง" ตลอดชีวิต และศาลฎีกายังอาจเพิกถอน "สิทธิเลือกตั้ง" ของบุคคลดังกล่าวเป็นเวลาไม่เกินสิบปีได้อีกด้วย

กรณีตามมาตรา ๑๗๐ มาตรา ๑๖๐ ประกอบมาตรา ๘๒ สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจำนวน สมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของแต่ละสภา สามารถเข้าชื่อร้องต่อประธานสภาที่ตนสังกัดเพื่อส่งคำร้องไปยังศาล รัฐธรรมนูญ หรือคณะกรรมการการเลือกตั้งก็สามารถส่งคำร้องไปยังศาลรัฐธรรมนูญได้เช่นกัน เพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้รัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งเพราะไม่มี "ความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์" ถ้อยคำดังกล่าวนี้ ไม่มีบทนิยามอย่างชัดแจ้งว่ามีความหมายอย่างไร การตีความถ้อยคำเช่นว่านี้จึงขึ้นอยู่กับ "อัตวิสัย" ของศาลรัฐธรรมนูญ ทำให้นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีสามารถพ้นจากตำแหน่งได้อย่างง่ายดาย เพียงเพราะศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่านายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีผู้นั้นไม่มีความ ซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ประจักษ์ หรืออาจซื่อสัตย์สุจริต แต่ศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าความซื่อสัตย์สุจริตนั้นยังไม่เป็นที่ประจักษ์ ถึงแม้ว่าวิญญูชนทั่วไปจะเห็นว่าบุคคลดังกล่าวมีความซื่อสัตย์สุจริตเป็นที่ ประจักษ์เพียงพอแล้วก็ตาม

กรณีตามมาตรา ๑๔๔ เรื่องการพิจารณาร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ศาลรัฐธรรมนูญมีบทบาทสำคัญในการวินิจฉัยให้คณะรัฐมนตรีพ้นจากตำแหน่งทั้งคณะ และจะไม่สามารถปฏิบัติหน้าที่ได้อีกต่อไปแม้จะยังไม่มีคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ เข้ามาปฏิบัติหน้าที่ หากศาลรัฐธรรมนูญเห็นว่าคณะรัฐมนตรีเป็นผู้กระทำการ หรืออนุมัติให้กระทำการ หรือรู้ว่ามีการกระทำแต่ไม่สั่งยับยั้ง จนมีผลให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร สมาชิกวุฒิสภา หรือกรรมาธิการ มีส่วนไม่ว่าโดยทางตรงหรือทางอ้อมในการใช้งบประมาณรายจ่าย เรื่องนี้เป็นการกำหนดบทบัญญัติที่มีลักษณะไม่ชัดเจนเพียงพอว่าจะมุ่งหมาย ให้ใช้บังคับกับกรณีใดในลักษณะใด ทำให้ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจตีความได้อย่างกว้างขวางจนอาจทำให้คณะรัฐมนตรีพ้น จากตำแหน่งได้โดยง่าย อีกทั้งบทลงโทษต่อคณะรัฐมนตรีก็รุนแรงเกินสมควร ไม่ได้สัดส่วนกับการกระทำ กล่าวอีกนัยหนึ่ง ไม่สอดคล้องกับหลักความพอสมควรแก่เหตุ เพราะคณะรัฐมนตรีจะถูกเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งตลอดชีวิต หรือจะต้องรับผิดชดใช้เงินนั้นคืนพร้อมด้วยดอกเบี้ย

คณะนิติราษฎร์เห็นว่าแม้มีความจำเป็นที่องค์กรตุลาการและองค์กรอิสระต้อง มีอำนาจตรวจสอบฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติ แต่การกำหนดให้องค์กรตุลาการและองค์กรอิสระมีอำนาจดังกล่าวต้องไม่ถึงขนาด ที่ทำให้องค์กรเหล่านั้นมีอำนาจวินิจฉัยให้ฝ่ายบริหารหรือสมาชิกฝ่าย นิติบัญญัติพ้นจากตำแหน่งโดยง่ายผ่านการใช้ดุลพินิจในการตีความถ้อยคำที่ ไม่มีความชัดเจนแน่นอน เสมือนหนึ่งองค์กรตรวจสอบดังกล่าวแสดงเจตจำนงทางการเมืองมากกว่าที่จะ วินิจฉัยชี้ขาดประเด็นปัญหาทางกฎหมาย อนึ่ง เมื่อรัฐธรรมนูญกำหนดให้องค์กรตุลาการและองค์กรอิสระมีอำนาจตรวจสอบองค์กร บริหารและองค์กรนิติบัญญัติซึ่งมีความชอบธรรมทางประชาธิปไตย องค์กรตุลาการและองค์กรอิสระก็สมควรที่จะต้องมีความชอบธรรมทางประชาธิปไตย เช่นกัน ซึ่งตามร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ หาได้เป็นเช่นนั้นไม่  

๑.๒.๕ ประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา ๕ กำหนดว่า เมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้กระทำการนั้นหรือวินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบ ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญจัดให้มีการประชุมร่วมระหว่างประธานสภาผู้แทน ราษฎร ผู้นำฝ่ายค้านในสภาผู้แทนราษฎร ประธานวุฒิสภา นายกรัฐมนตรี ประธานศาลฎีกา ประธานศาลปกครองสูงสุด ประธานศาลรัฐธรรมนูญ และประธานองค์กรอิสระ เพื่อวินิจฉัยชี้ขาด

บทบัญญัติดังกล่าวไม่ได้มีการกำหนดไว้ให้มีองค์กรหรือบุคคลใดเป็นผู้ร้อง เพื่อขอให้ที่ประชุมร่วมวินิจฉัย แต่จากถ้อยคำของบทบัญญัติอาจตีความได้ว่าประธานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้มีอำนาจ ในการวินิจฉัยชี้ขาดว่าเป็นกรณีที่ไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญใช้บังคับ แก่กรณี เพื่อให้ที่ประชุมร่วมฯ มีอำนาจวินิจฉัย ทั้ง ๆ ที่กรณีดังกล่าวอาจเป็นเรื่องที่อยู่ภายในแดนอำนาจขององค์กรทางรัฐธรรมนูญ อื่นซึ่งได้ตีความโต้แย้งตามอำนาจของตนว่าเป็นกรณีที่มีบทบัญญัติแห่ง รัฐธรรมนูญใช้บังคับแก่กรณีนั้นอยู่แล้ว กรณีเช่นนี้จะทำให้ประธานศาลรัฐธรรมนูญเป็นผู้ผูกขาดการตัดสินใจว่ากรณีใด ไม่มีบทบัญญัติรัฐธรรมนูญใช้บังคับแก่กรณี และการตัดสินใจนั้นอาจมีผลเป็นการก้าวล่วงอำนาจองค์กรอื่นด้วย

สำหรับการวินิจฉัยความหมายของ "ประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข" ร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา ๕ กำหนดให้เป็นอำนาจตีความของ "ที่ประชุมร่วม" โดยกำหนดต่อไปด้วยว่าให้ "คำวินิจฉัยของที่ประชุมร่วม" มีผลเป็นที่สุด และผูกพันรัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ โดยบทบัญญัติเช่นนี้ จึงเปิดโอกาสให้ "ที่ประชุมร่วม" เป็นผู้ผูกขาดในการกำหนดเนื้อหาว่า "ประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็น ประมุข" ที่จะใช้บังคับแก่กรณีนั้นได้แก่เรื่องอะไร เช่นกัน

ความจริงแล้วในระบบกฎหมายรัฐธรรมนูญ องค์กรตามรัฐธรรมนูญที่เป็นผู้ใช้รัฐธรรมนูญย่อมมีอำนาจในการตีความ รัฐธรรมนูญในแดนอำนาจหน้าที่ของตน และการตีความรัฐธรรมนูญขององค์กรต่าง ๆ เหล่านั้นจะส่งผลทำให้การแบ่งแยกอำนาจหน้าที่เป็นไปอย่างได้ดุลยภาพ แต่เมื่อบทบัญญัติของร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา ๕ ให้อำนาจแก่ "ประธานศาลรัฐธรรมนูญ" และ "ที่ประชุมร่วม" มีอำนาจตีความตามกรณีที่กล่าวมาแล้ว ก็ย่อมส่งผลให้ "ประธานศาลรัฐธรรมนูญ" และ "ที่ประชุมร่วม" เป็น "องค์กรเหนือองค์กรอื่น" ยิ่งเมื่อพิจารณาองค์ประกอบของ "ที่ประชุมร่วม" ด้วยแล้ว เห็นได้ชัดว่าสัดส่วนขององค์กรที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้งมีมากกว่าสัดส่วน ขององค์กรที่มาจากการเลือกตั้งอย่างมีนัยสำคัญ กรณีจึงหมายความว่าร่างรัฐธรรมนูญมาตรานี้ กำหนดให้ "องค์กรที่ขาดความชอบธรรมทางประชาธิปไตย" มีความสำคัญยิ่งกว่า "องค์กรที่มีความชอบธรรมทางประชาธิปไตย" ต่อการ "ชี้เป็นชี้ตาย" ในปัญหาเกี่ยวกับการใช้รัฐธรรมนูญ

อนึ่ง ตามบริบทของประวัติศาสตร์การเมืองไทยในอดีต พบว่าเคยมีความพยายามตีความถ้อยคำ "ประเพณีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" เพื่อใช้เป็นช่องทางในการนำไปสู่ "การงดบังคับใช้รัฐธรรมนูญบางมาตรา" หรือ "การเรียกร้องให้มีนายกรัฐมนตรีพระราชทาน" ดังนั้น หากเกิดความขัดแย้งทางการเมืองขึ้นอีกในอนาคต ย่อมมีความเป็นไปได้ที่จะกล่าวอ้างว่าได้เกิด "กรณีที่ไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้ไปบังคับใช้" เพื่อเปิดช่องให้ "ประธานศาลรัฐธรรมนูญ" และ "ที่ประชุมร่วม" พิจารณาวินิจฉัยให้เกิดผลในลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดที่ขัดต่อเจตจำนงของ ประชาชนส่วนใหญ่ และมีผลผูกพันองค์กรของรัฐทุกองค์กร อันจะทำให้บรรดาผู้ที่ต้องการได้อำนาจทางการเมือง ไม่แสวงหาการสนับสนุนจากประชาชน แต่จะใช้ช่องทางลัดดังกล่าวเข้าสู่อำนาจทางการเมืองแทน

๑.๒.๖ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ

กฎเกณฑ์เกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญนั้น ปรากฏอยู่ในร่างรัฐธรรมนูญ หมวด ๑๕ ซึ่งเมื่อพิเคราะห์แล้วจะเห็นได้ว่าคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้กำหนด กระบวนการแก้ไขเพิ่มรัฐธรรมนูญเอาไว้ในลักษณะที่ยากแก่การแก้ไขอย่างยิ่ง กล่าวคือ ในวาระที่หนึ่ง ขั้นรับหลักการ จะต้องมีคะแนนเสียงเสียงเห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมไม่น้อย กว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสภาผู้แทนราษฎรและ วุฒิสภารวมกัน และจะต้องมีสมาชิกวุฒิสภาเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิก ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของวุฒิสภา ซึ่งหมายความว่าแม้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรส่วนใหญ่หรือทั้งหมดเห็นชอบด้วยกับ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ แต่หากสมาชิกวุฒิสภาเห็นชอบด้วยน้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิกวุฒิสภา ทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมก็ไม่อาจผ่านวาระที่หนึ่งไปได้  และหากร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมผ่านวาระที่หนึ่งและวาระที่สองไปได้แล้ว ในวาระที่สามนั้นนอกจากจะต้องได้คะแนนเสียงเกินกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิก สภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภารวมกันแล้ว ผู้ร่างรัฐธรรมนูญยังกำหนดเอาไว้ด้วยว่าในจำนวนผู้เห็นชอบนั้นจะต้องจะต้อง มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคการเมืองที่สมาชิกมิได้ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ประธานสภาผู้แทนราษฎร หรือรองประธานสภาผู้แทนราษฎรเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่าร้อยละยี่สิบของทุก พรรคการเมืองดังกล่าวรวมกัน และต้องมีสมาชิกวุฒิสภาเห็นชอบด้วยไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามของจำนวนสมาชิก วุฒิสภาทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ ยิ่งไปกว่านั้นผู้ร่างรัฐธรรมนูญยังกำหนดให้ศาลรัฐธรรมนูญเข้าควบคุมตรวจสอบ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญอีกด้วย ในกรณีที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาตามจำนวนที่รัฐธรรมนูญกำหนด เข้าชื่อกันยื่นคำร้องเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญตรวจสอบว่าการแก้ไขเพิ่มเติม รัฐธรรมนูญขัดหรือแย้งต่อข้อจำกัดการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหรือไม่ ส่งผลให้ศาลรัฐธรรมนูญกลายเป็นองค์กรซึ่งทรงอำนาจผูกขาดการให้ความหมายของ ข้อจำกัดในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญว่าเรื่องใดไม่สามารถแก้ไข เปลี่ยนแปลงได้ และแม้จะมีการกำหนดให้ต้องทำประชามติในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญบางกรณี แต่ประชามติดังกล่าวก็ไม่ได้สะท้อนถึงความเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยของปวงชน เนื่องจากยังถูกจำกัดโดยข้อจำกัดการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่ศาล รัฐธรรมนูญจะเป็นผู้ให้ความหมายอยู่นั่นเอง

ยิ่งไปกว่านั้น โดยเหตุที่ในวาระห้าปีแรก สมาชิกวุฒิสภาจะมาจากการคัดเลือกตามวิธีการที่ผู้ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดโดยคณะ รักษาความสงบแห่งชาติจะมีบทบาทสำคัญในการคัดเลือก กรณีจึงย่อมประจักษ์ชัดอยู่ในตัวเองว่าในวาระห้าปีแรกของการบังคับใช้ รัฐธรรมนูญ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจะกระทำได้ยากยิ่งขึ้นไปอีก เพราะแทบจะเป็นไปไม่ได้ที่สมาชิกวุฒิสภาซึ่งมาจากการคัดเลือกของคณะรักษา ความสงบแห่งชาติ จะเห็นชอบด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งใน สาม ซึ่งหากสมาชิกวุฒิสภาไม่เห็นชอบด้วยแล้ว แม้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรทุกคนจะเห็นพ้องด้วยกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญก็มีโอกาสตกไปตั้งแต่ในชั้นการพิจารณาของรัฐสภา ในวาระที่หนึ่ง เพราะเหตุที่ไม่มีสมาชิกวุฒิสภาจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสามเห็นพ้องด้วย

การกำหนดให้การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่เป็นไปได้ยากมากเช่นนี้ ย่อมขัดต่อสภาพของรัฐธรรมนูญที่ต้องมีความสมดุลกันระหว่างการแก้ไขยากเพื่อ รักษาความมั่นคงของรัฐธรรมนูญกับการแก้ไขง่ายเพื่อให้สอดคล้องกับความ เปลี่ยนแปลงของบ้านเมืองและความเป็นพลวัตรของการเมือง คณะนิติราษฎร์เห็นว่าการกำหนดกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเอาไว้ใน ลักษณะเช่นนี้จะส่งผลให้โอกาสในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพื่อให้ รัฐธรรมนูญมีความเป็นประชาธิปไตยที่ได้รับการยอมนับจากนานาอารยประเทศเหลือ น้อยลงมาก และอาจเกิดความพยายามเปลี่ยนแปลงรัฐธรรมนูญด้วยวิถีทางที่จะก่อให้เกิดความ รุนแรงขึ้นต่อไป โดยที่จะไม่มีผู้ใดสามารถรับผิดชอบต่อความรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้นนั้นได้

ส่วนที่ ๒

ข้อวิจารณ์เกี่ยวกับ "ข้อดี" ของร่างรัฐธรรมนูญตามการโฆษณาประชาสัมพันธ์ของฝ่ายต่าง ๆ

คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญและองค์กรต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องได้หยิบยก "ข้อดี" ของร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อใช้เป็น "จุดขาย" ในการรณรงค์ให้ประชาชนให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ คณะนิติราษฎร์ได้พิจารณาถึงการโฆษณาประชาสัมพันธ์ดังกล่าวแล้ว มีความเห็น ดังนี้

๒.๑ ข้อวิจารณ์เรื่องร่างรัฐธรรมนูญเพื่อ "ปราบโกง"

ผู้ร่างรัฐธรรมนูญกล่าวอ้างว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีเจตนารมณ์เพื่อป้องกัน ตรวจสอบ และขจัดการทุจริตและประพฤติมิชอบที่เข้มงวดและเด็ดขาด กล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ เป็น "ร่างรัฐธรรมนูญปราบโกง"

คณะนิติราษฎร์ไม่มีข้อขัดข้องใด ๆ ต่อนโยบายของรัฐที่มุ่งประสงค์ป้องกัน ตรวจสอบ และปราบปรามการทุจริต หากการป้องกัน ตรวจสอบและปราบปรามการทุจริตนั้นมีลักษณะที่ไม่เป็นการเลือกปฏิบัติ ตั้งอยู่บนพื้นฐานของเหตุผล กระทำไปพอสมควรแก่เหตุ และสอดคล้องกับกระบวนการยุติธรรมภายใต้หลักนิติรัฐ อย่างไรก็ตาม รัฐธรรมนูญนั้น โดยเนื้อหาแล้ว คือกฎหมายพื้นฐานที่ก่อตั้งสถาบันทางการเมือง กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันการเมือง และประกันสิทธิและเสรีภาพของบุคคล และที่สำคัญที่สุดรัฐธรรมนูญจะต้องบรรจุไว้ซึ่งคุณค่าพื้นฐานร่วมกันของ ผู้คนในสังคม ทั้งนี้เพื่อให้ผู้คนได้อยู่ร่วมกันอย่างเป็นปกติสุข หากพิจารณาจากธรรมชาติในทางกฎหมายของรัฐธรรมนูญให้ละเอียดแล้ว ย่อมจะเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญไม่ใช่กฎหมายที่มีวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันและ ปราบปรามการทุจริต และแม้จะเขียนรัฐธรรมนูญเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริต การเขียนรัฐธรรมนูญเช่นนั้นก็ไม่สามารถจัดการปัญหาดังกล่าวได้ เพราะหากการป้องกันและปราบปรามการทุจริตสามารถกระทำได้แต่เพียงการเขียน รัฐธรรมนูญ นานาอารยประเทศก็คงจะเขียนรัฐธรรมนูญเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริต และการทุจริตก็คงจะหมดสิ้นไปเพราะเหตุที่ได้มีการเขียนรัฐธรรมนูญเช่นนั้น แต่กรณีก็หาได้เป็นเช่นนั้นไม่ ทั้งนี้เนื่องจากการป้องกันและปราบปรามการทุจริตให้ได้ผลมีองค์ประกอบหลาย ประการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตย และระบบการตรวจสอบถ่วงดุลที่ได้ดุลยภาพ

ยิ่งไปกว่านั้น หากพิจารณาเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญอย่างละเอียดรอบคอบแล้ว จะพบว่าบทบัญญัติที่ถูกอ้างและเชื่อว่าเป็นกลไกในการป้องกันและปราบปรามการ ทุจริตนั้น แท้ที่จริงแล้วได้กลายเป็นกลไกที่มุ่งหมายตรวจสอบองค์กรที่มาจากการเลือก ตั้งของประชาชนเพียงอย่างเดียว ส่วนบรรดาองค์กรที่ไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง เช่น องค์กรอิสระต่าง ๆ และองค์กรตุลาการ โดยเฉพาะศาลฎีกาและศาลรัฐธรรมนูญ กลับไม่ถูกตรวจสอบภายใต้ระบบตรวจสอบถ่วงดุลที่มีการคานอำนาจกับองค์กรทางการ เมืองที่มาจากการเลือกตั้ง ทั้ง ๆ ที่องค์กรเหล่านั้นต่างก็ใช้อำนาจรัฐเช่นเดียวกับองค์กรที่มาจากการเลือก ตั้ง นอกจากนั้น ตามเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญบางเรื่องที่อ้างว่าเขียนขึ้นเพื่อป้องกันและ ปราบปรามการทุจริต ก็หาใช่เป็นเรื่องของการทุจริตประพฤติมิชอบไม่ แต่เป็นกรณีที่ต้องวินิจฉัยในเรื่องที่มีลักษณะเป็นเรื่องทางการเมือง มากกว่า

การกล่าวอ้างว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นร่างรัฐธรรมนูญที่มีความมุ่ง หมายเพื่อป้องกันและปราบปรามการทุจริต จึงเป็นเรื่องที่คณะนิติราษฎร์เห็นว่าไม่สอดรับกับความเป็นจริง ค่อนไปในทางเลือกตรวจสอบเฉพาะกับผู้ใช้อำนาจรัฐบางกลุ่มเท่านั้น และเห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้หาได้วางกลไกการตรวจสอบระหว่างองค์กรของรัฐ ให้ได้ดุลยภาพไม่

๒.๒ ข้อวิจารณ์เรื่องร่างรัฐธรรมนูญเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคล

ผู้ร่างรัฐธรรมนูญกล่าวอ้างว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีเจตนารมณ์ในการรับรอง ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทย

คณะนิติราษฎร์เห็นว่าบทบัญญัติที่รับรองสิทธิเสรีภาพไม่อาจเกิดผลใช้ บังคับได้เพียงเพราะว่าผู้ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดรับรองไว้ในรัฐธรรมนูญ เท่านั้น แต่ต้องวางกลไกในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพที่มีประสิทธิภาพ ตลอดจนวางหลักเกณฑ์อันเป็นหลักประกันว่าการจำกัดสิทธิเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญ รับรองไว้จะเป็นไปได้เพียงเท่าที่รัฐธรรมนูญอนุญาตเท่านั้นและการจำกัดสิทธิ เสรีภาพดังกล่าวต้องไม่กระทบต่อแก่นหรือสาระสำคัญของสิทธินั้น

แม้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้โดยภาพรวมแล้วจะมีการรับรองสิทธิเสรีภาพต่าง ๆ เหมือนเช่นรัฐธรรมนูญฉบับก่อน ๆ แต่มีการเพิ่มข้อจำกัดด้วยถ้อยคำที่ไม่ชัดเจนแน่นอน หรือมีความหมายไม่เฉพาะเจาะจงจำนวนมาก เช่น ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ความมั่นคงของรัฐ ความปลอดภัยของรัฐ หรือแม้แต่คำว่า "เหตุอย่างอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ" ทำให้รัฐสามารถก้าวล่วงสิทธิเสรีภาพของประชาชนได้อย่างกว้างขวาง ในขณะเดียวกันบทบัญญัติที่มีลักษณะเป็นการวางข้อจำกัดของการตรากฎหมายเพื่อ จำกัดสิทธิเสรีภาพว่าจะต้องเป็นไปเท่าที่จำเป็นและไม่กระทบกระเทือนสาระ สำคัญแห่งสิทธิเสรีภาพดังเช่นที่เคยปรากฏในรัฐธรรมนูญฯ พุทธศักราช ๒๕๔๐ และ ๒๕๕๐ ซึ่งเป็นบทบัญญัติที่สำคัญอย่างยิ่ง กลับไม่ปรากฏอยู่ในร่างรัฐธรรมนูญนี้ ทั้ง ๆ ที่บทบัญญัติดังกล่าวเป็นหลักการสำคัญในประกันสิทธิเสรีภาพของประชาชนตาม รัฐธรรมนูญไม่ให้ถูกล่วงละเมิดโดยอำนาจรัฐ การไม่บัญญัติข้อจำกัดของการตรากฎหมายเพื่อจำกัดสิทธิเสรีภาพดังกล่าวไว้ ทำให้รัฐสามารถตรากฎหมายกระทบถึงแก่นของสิทธิเสรีภาพได้โดยอ้างข้อจำกัดที่ ใช้ถ้อยคำซึ่งสามารถได้รับการตีความได้อย่างกว้างขวาง และส่งผลให้ในที่สุดแล้วการรับรองสิทธิเสรีภาพไว้ในรัฐธรรมนูญย่อมหาความ หมายอันใดมิได้

นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นแล้ว หากบุคคลต้องการโต้แย้งว่าประกาศ คำสั่งของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติหรือคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือการกระทำที่เกี่ยวเนื่อง หรือคำสั่งของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติที่อาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) ๒๕๕๗ นั้นละเมิดสิทธิและเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้และขัดหรือแย้งกับ รัฐธรรมนูญนี้ บุคคลนั้นก็ไม่อาจโต้แย้งได้ เพราะ มาตรา ๓๗ และมาตรา ๔๔ ของรัฐธรรมนูญ ฯ ฉบับชั่วคราวดังกล่าว และมาตรา ๒๗๙ ของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ได้รับรองให้การกระทำเหล่านี้เป็นที่สุด ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ และชอบด้วยกฎหมาย เท่ากับว่ามีการกระทำอยู่กลุ่มหนึ่งซึ่งไม่อาจถูกโต้แย้งได้เลยว่าละเมิด สิทธิและเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญ และทำให้การกระทำของรัฐดังกล่าวนั้น แม้จะละเมิดสิทธิเสรีภาพก็ไม่อาจถูกตรวจสอบได้ตราบเท่าที่รัฐธรรมนูญที่ รับรองการกระทำเหล่านั้นให้เป็นที่สุดยังใช้บังคับอยู่     

ด้วยเหตุนี้ การกล่าวอ้างว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ คือร่างรัฐธรรมนูญที่มีความมุ่งหมายเพื่อรับรอง ปกป้อง และคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคล จึงเป็นเรื่องที่ไม่สอดรับกับบทบัญญัติที่ปรากฏในรัฐธรรมนูญเอง

๒.๓ ข้อวิจารณ์เรื่องร่างรัฐธรรมนูญเพื่อการปฏิรูปและสร้างความปรองดอง

ผู้ร่างรัฐธรรมนูญกล่าวอ้างว่า ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มีเจตนารมณ์เพื่อการปฏิรูปและสร้างความปรองดอง

คณะนิติราษฎร์เห็นว่า การปฏิรูปและการปรองดองจะเกิดขึ้นอย่างแท้จริงได้ จำต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของประชาชนอย่างกว้างขวางจากทุกฝ่าย เพื่อถกเถียงอภิปรายจนได้ฉันทามติที่เป็นที่ยอมรับกัน และทุกฝ่ายเคารพหลักการอันเป็นคุณค่าพื้นฐานที่ผ่านการอภิปรายถกเถียงกัน นั้น หากวิธีการปฏิรูปและการปรองดองถูกกำหนดขึ้นโดยคณะรักษาความสงบแห่งชาติ รัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร สภานิติบัญญัติแห่งชาติ สภาขับเคลื่อนการปฏิรูป และคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เพียงกลุ่มเดียว การปฏิรูปและการสร้างความปรองดอง ย่อมยากที่จะสำเร็จลงได้ และกรณีก็ย่อมไม่อาจกล่าวได้ว่าแท้ที่จริงแล้วร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้มี เจตนารมณ์เพื่อการปฏิรูปและสร้างความปรองดอง เนื่องจากไม่ได้ออกแบบบนฐานของการทำให้ทุกฝายได้มีส่วนร่วมตามหลัก ประชาธิปไตยนั่นเอง

ส่วนที่ ๓

หลักเกณฑ์การออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญ

ในการจัดให้มีการออกเสียงประชามตินั้น เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่า การออกเสียงประชามติคือการให้ประชาชนใช้สิทธิทางตรงเพื่อตัดสินใจในประเด็น ทางการเมือง ร่างรัฐธรรมนูญ ร่างกฎหมาย หรือนโยบายสำคัญของรัฐ ฯลฯ และเพื่อให้การออกเสียงประชามติเป็นกลไกที่สะท้อนเจตจำนงของประชาชนอย่าง แท้จริง การดำเนินการจัดให้มีการออกเสียงประชามติ จึงต้องเป็นไปภายใต้บรรยากาศประชาธิปไตย ปราศจากอิทธิพลกดดัน ทั้งทางตรงและทางอ้อม ทั้งโดยชัดแจ้งและโดยปริยาย จากผู้ที่ถืออำนาจรัฐ นอกจากนั้น ก็ต้องไม่มีการทำลายความน่าเชื่อถือของอีกฝ่ายหนึ่งด้วยข้อกล่าวหาที่ไร้ เหตุผล รวมทั้งต้องเปิดช่องให้ทั้งฝ่ายที่เห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับร่าง รัฐธรรมนูญ มีโอกาสรณรงค์เพื่อให้บรรลุเป้าหมายโดยชอบของตนอย่างเต็มที่ตามวิถีทาง ประชาธิปไตย โดยปราศจากการใช้กลไกของรัฐเพื่อประโยชน์ต่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง สภาพการณ์ที่ควรจะต้องเป็นดังเช่นที่ได้กล่าวมานี้ ดูเหมือนว่าอาจจะไม่เกิดขึ้นในการออกเสียงประชามติครั้งนี้ กรณีจึงอาจจะส่งผลในอนาคตในแง่การยอมรับผลของประชามติครั้งนี้ด้วย

เมื่อพิเคราะห์ถึงการตัดสินใจออกเสียงประชามติ รัฐจำเป็นต้องให้ประชาชนมีทางเลือกที่ชัดเจนเพื่อที่ประชาชนผู้เป็นเจ้าของ อำนาจจะได้แสดงเจตจำนงของตนได้อย่างถูกต้อง แต่การออกเสียงประชามติในครั้งนี้มีปัญหาเรื่องความครบถ้วนของข้อมูลในการ ตัดสินใจตั้งแต่ต้น สำหรับประชาชนผู้ออกเสียงเห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ย่อมชัดเจนว่าประชาชนเหล่านั้นทราบว่าตนตัดสินใจยอมรับเนื้อหาของร่าง รัฐธรรมนูญฉบับนี้ให้มีผลเป็นรัฐธรรมนูญใช้บังคับต่อไป แต่สำหรับประชาชนที่ไม่เห็นด้วยกับเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ และตัดสินใจออกเสียงลงคะแนนไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ ย่อมไม่อาจทราบได้ว่าหากร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านการออกเสียงประชามติ จะเกิดอะไรขึ้นต่อไป กฎเกณฑ์ในลักษณะเช่นนี้เป็นกฎเกณฑ์ที่มีปัญหาในแง่ของความยุติธรรมต่อผู้ออก เสียงประชามติ และอาจส่งผลต่อการยอมรับผลของประชามติในครั้งนี้อีกเช่นกันในอนาคต ทั้งนี้เนื่องจากเมื่อไม่มีความชัดเจนว่าหากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ผ่าน การออกเสียงประชามติ จะเกิดอะไรขึ้นต่อไป ประชาชนจำนวนหนึ่งย่อมเห็นว่าการออกเสียงประชามติในลักษณะดังกล่าวนี้หาได้ เป็นการออกเสียงประชามติโดยแท้จริงอันจะผูกพันตนไม่

ส่วนที่ ๔

การให้ความเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญอาจไม่ได้นำมาซึ่งการเลือกตั้ง
และการปกครองโดยรัฐบาลพลเรือนโดยเร็ว

ในการออกเสียงประชามติร่างรัฐธรรมนูญนั้น อาจมีประชาชนจำนวนหนึ่งเข้าใจว่าการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญจะนำไปสู่ การจัดการเลือกตั้งโดยเร็ว คณะนิติราษฎร์ได้พิจารณาบทบัญญัติในร่างรัฐธรรมนูญอย่างละเอียดแล้วเห็นว่า ไม่ได้เป็นเช่นนั้น ทั้งนี้เนื่องจากในกรณีที่ร่างรัฐธรรมนูญผ่านการออกเสียงประชามติ หลังจากที่มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ร่างรัฐธรรมนูญได้กำหนดกรอบเวลารวมทั้งสิ้น ๔๕๐ วัน หรือ ๑๕ เดือน เพื่อให้คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญยกร่างพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญใน เรื่องต่าง ๆ และเพื่อเตรียมการในการจัดการเลือกตั้ง ซึ่งเป็นระยะเวลาที่ยาวนานมาก ถึงแม้ว่าในร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๖๘ จะกำหนดให้มีการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จภายใน ๑๕๐ วัน นับแต่พระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญ ๔ ฉบับที่จำเป็นแก่การเลือกตั้งมีผลใช้บังคับ ซึ่งหมายความว่าอาจมีการเลือกตั้งเร็วกว่ากรอบระยะเวลา ๑๕ เดือนก็ตาม แต่ก็ไม่มีความชัดเจนว่าคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญจะต้องจัดทำพระราชบัญญัติ ประกอบรัฐธรรมนูญที่จำเป็นแก่การเลือกตั้งให้แล้วเสร็จมีผลบังคับใช้ภายใน กี่วัน  ในขณะเดียวกัน แม้จะมีการกำหนดระยะเวลาดังกล่าวไว้ในร่างรัฐธรรมนูญ แต่ร่างรัฐธรรมนูญก็ไม่ได้กำหนดไว้ด้วยว่า หากการดำเนินการในเรื่องเหล่านั้นไม่แล้วเสร็จตามกรอบเวลาข้างต้น จะเกิดผลอย่างไรต่อไป นอกจากนั้น เมื่อร่างรัฐธรรมนูญ มาตรา ๒๖๕ ยังคงบัญญัติให้หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติมีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดอยู่ เช่นเดิม ด้วยอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติเช่นนี้ ในกรณีที่เห็นสมควร หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติย่อมสามารถใช้อำนาจดังกล่าวกระทำการใด ๆ ที่อาจกระทบต่อการจัดการเลือกตั้งตามระยะเวลาที่ร่างรัฐธรรมนูญกำหนดเอาไว้ ได้อีกด้วย

ในส่วนที่เกี่ยวกับการกลับสู่การปกครองโดยรัฐบาลพลเรือนนั้น อาจมีประชาชนผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติจำนวนหนึ่งตัดสินใจให้ความเห็นชอบ ร่างรัฐธรรมนูญเพราะเล็งเห็นว่าเป็นวิธีการที่ทำให้คณะรักษาความสงบแห่งชาติ พ้นไปจากอำนาจและกลับเข้าสู่ระบอบการปกครองโดยพลเรือนตามรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ คณะนิติราษฎร์ได้พิเคราะห์บทบัญญัติดังกล่าวในส่วนนี้แล้ว เห็นว่า หลังจากที่รัฐธรรมนูญได้รับการประกาศใช้แล้ว คณะรักษาความสงบแห่งชาติยังคงมีอำนาจและหน้าที่ต่อไปเช่นเดิมจนกว่าจะมีการ จัดตั้งคณะรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญ หากพิจารณาจากหลักกฎหมายว่าด้วยความต่อเนื่องของรัฐและการบริหารราชการแผ่น ดินแล้ว คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันจำเป็นต้องปฏิบัติหน้าที่ต่อไปจนกว่าจะมีคณะรัฐมนตรี ชุดใหม่จะเข้าปฏิบัติหน้าที่ อย่างไรก็ตาม การอยู่ปฏิบัติหน้าที่ต่อไปต้องสงวนให้กับคณะรัฐมนตรีเท่านั้น ไม่รวมถึงองค์กรที่มีอำนาจพิเศษจากรัฐประหาร ดังนั้น ในกรณีที่รัฐธรรมนูญชั่วคราวสิ้นสุดลงและมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับถาวร เพื่อก่อตั้งระบบรัฐธรรมนูญขึ้นมาใหม่แล้ว องค์กรที่มีอำนาจพิเศษในช่วงการรัฐประหารตามรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว คือ คณะรักษาความสงบแห่งชาติต้องสิ้นสุดลง หากองค์กรพิเศษจากรัฐประหารยังคงอยู่ในอำนาจต่อไปตามรัฐธรรมนูญฉบับที่มุง หมายให้ใช้บังคับถาวร ย่อมส่งผลให้ระบบรัฐธรรมนูญใหม่ตามสภาวะปกติย่อมไม่อาจก่อตั้งและดำรงอยู่ ได้อย่างสมบูรณ์ อาจกล่าวได้ว่าหากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านการออกเสียงประชามติ อำนาจเด็ดขาดของหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติตามรัฐธรรมนูญชั่วคราวไม่ได้ สิ้นสุดลง แต่จะกลายเป็นส่วนหนึ่งของโครงสร้างอำนาจในรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต่อไป อย่างน้อยที่สุดจนกว่าคณะรัฐมนตรีชุดใหม่จะเข้ารับหน้าที่นั่นเอง

จากเหตุผลที่กล่าวมาทั้งหมด คณะนิติราษฎร์จึงไม่อาจเห็นชอบให้ร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้เป็นกฎหมายสูงสุดของ ประเทศได้ และขอแสดงเจตจำนงให้ปรากฏต่อสาธารณะว่าคณะนิติราษฎร์ "ไม่รับ" ร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช... และหากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ไม่ผ่านการออกเสียงประชามติ คณะนิติราษฎร์เห็นว่าผู้ที่ถือครองอำนาจรัฐสมควรยุติกระบวนการจัดทำร่าง รัฐธรรมนูญ และคืนอำนาจการตัดสินใจจัดทำรัฐธรรมนูญให้ประชาชนเป็นผู้ตัดสินใจด้วยตนเอง ต่อไป

               

คณะนิติราษฎร์ : นิติศาสตร์เพื่อราษฎร                                                                                                                            ๗ เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๙