Saturday, October 17, 2015
ระบบกษัตริย์ไทย และระบอบราชาธิปไตย ไม่เคยรักประชาชนจริง
พรรคประชาธิปัตย์คือศัตรูชาวนาถาวรท่ีคบพ่อค้าข้าวกดราคาข้าวชาวนาให้พ่อค้าส่งออกรวยชาวนาจน.
เห็นจดหมายของ องคมนตีนแล้ว "เหล่ ทรราช "บอก
Friday, October 16, 2015
หลังบ้านภูมิพล สัมภาษณ์เปิดอกเรื่องหลังบ้านของครอบครัวเทวดา
Thursday, October 15, 2015
10 “คนเดือนตุลา” หนุนรัฐประหาร
เหตุการณ์เดือนตุลาย้อนกลับมาสู่ห้วงความทรงจำของใครหลายๆคนอีกครั้ง โดยเฉพาะผู้ที่เคยผ่านช่วงเวลานี้มาก่อนคงเป็นไปไม่ได้ที่พวกเขาจะลืมเรื่อง ราวการต่อสู้เรียกร้องประชาธิปไตยที่เกิดขึ้นจนกลายเป็นเสี้ยวหนึ่งของ ประวัติศาสตร์ที่ถูกบดบังในเงามืด
ทั้งเหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 และ 6 ตุลา 2519 ต่างก็เป็นเหตุการณ์ความรุนแรงโดยรัฐที่ทำให้เกิดการสูญเสียเป็นจำนวนมาก โดยเหตุการณ์แรก 14 ตุลา หรือ วันมหาวิปโยค เป็นเหตุการณ์ที่นักศึกษาและประชาชนในประเทศไทย มากกว่า 5 แสนคน ได้รวมตัวกันเพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญจากรัฐบาลเผด็จการของจอมพล ถนอม กิตติขจร นำไปสู่การใช้กำลังของรัฐบาลเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 มีผู้เสียชีวิต 77 ราย บาดเจ็บ 857 ราย และสูญหายอีกจำนวนมาก
ส่วนเหตุการณ์ 6 ตุลา 2519 เป็นเหตุการณ์จลาจลและปราบปรามนักศึกษาและผู้ประท้วงในและบริเวณหน้า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ และท้องสนามหลวง ขณะที่นักศึกษาจากหลายมหาวิทยาลัยกำลังชุมนุมประท้วงการเดินทางกลับประเทศ ของจอมพล ถนอม กิตติขจร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่สนามฟุตบอลมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โดยสถิติอย่างเป็นทางการระบุว่า มีผู้เสียชีวิต 46 คน ซึ่งมีทั้งถูกยิงด้วยอาวุธปืน ถูกทุบตี หรือถูกทำให้พิการ
ภายหลังจากเหตุการณ์ 14ตุลา และ 6ตุลา ก็มีนักศึกษาจำนวนมากที่ต้องระเห็ดระเหินเร่ร่อนหนีการจับกุมจากรัฐ หรือบางส่วนก็ตัดสินใจหลบหนีไปเองเนื่องจากทนสภาพสังคมในขณะนั้นไม่ไหว เข้าป่า และจับอาวุธต่อสู้ร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
หลายคนถูกจับกุมอยู่ในเรือนจำบางขวาง ส่วนมากเป็นนักศึกษา นักกิจกรรม นักคิด นักเขียน ปัญญาชน ที่คิดนอกกรอบอุดมการณ์ของรัฐ
เวลาผ่านไปกว่า 40 บุคคลที่เคยผ่านช่วงเวลาการต่อสู้เหล่านี้ได้เติบโตขึ้น เป็นปัญญาชนแถวหน้าของประเทศ บางคนยังคงต่อสู้เพื่ออุดมการณ์ของตนเอง และบางคนก็ยอมก้มหัวรับใช้อำนาจนอกระบบ
คนที่ยังคงต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมาตลอดเสมอมานั้นไม่น่าแปลกใจ แต่ที่น่าแปลกกว่าคือคนที่ออกตัวอย่างชัดเจนว่าสนับสนุนการกระทำรัฐประหาร หรือเข้าร่วมสังคกรรมกับคณะที่ทำรัฐประหาร มาดูกันว่า 10 บุคคล เดือนตุลา ที่น่าสนใจเหล่านี้ เป็นใครกันบ้าง
1. สมบัติ ธำรงธัญวงศ์
ในเหตุการณ์วันมหาวิปโยค หรือเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 สมบัติ ธำรงธัญวงศ์ มีบทบาทเป็นเลขาธิการศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย (ศนท.) ซึ่งร่วมในการเรียกร้องรัฐธรรมนูญ และขอให้รัฐบาลในขณะนั้นลาออกด้วย โดยเป็นผู้อ่านประกาศขอให้รัฐบาลปล่อยตัว 13 ขบถรัฐธรรมนูญและเรียกร้องรัฐธรรมนูญภายในเที่ยงของวันที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2516 แต่เมื่อถึงเวลาแล้วรัฐบาลก็หาได้กระทำไม่ การเดินขบวนจึงเกิดขึ้นที่ถนนราชดำเนินยาวไปจนถึงลานพระบรมรูปทรงม้า
ปัจจุบันสมบัติ ได้รับการแต่งตั้งเป็นอธิการบดีสถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ (นิด้า) ในด้านการเมือง สมบัติ เป็นแกนนำของกลุ่ม กปปส และ เป็นประธานและคณะกรรมาธิการปฏิรูปกฎหมายและกระบวนการยุติธรรม ในสปช. อีกด้วย
2. เอนก เหล่าธรรมทัศน์
ในช่วงการเคลื่อนไหวของขบวนการนักศึกษาช่วงปี 2519 เอนก เป็นผู้ก่อตั้งกลุ่มจุฬาประชาชน และยังได้รับเลือกตั้งเป็นนายกสโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อเกิดเหตุการณ์ 6 ตุลาฯ เอนกได้หนีเข้าป่าที่จังหวัดนครศรีธรรมราชเป็นเวลากว่าสี่ปี
ปัจจุบัน เอนกเป็น เป็นคณบดีวิทยาลัยบริหารรัฐกิจและรัฐศาสตร์ ม.รังสิต และร่วมกับ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช) และคณะกรรมการปรองดอง โดยยังเป็นคนพยายามผลักดันกรรมการยุทธศาสตร์แห่งชาติอีกด้วย
3. อมร อมรรัตนานนท์
ถือเป็นหนึ่งในคนเดือนตุลา ที่มีบทบาทสำคัญ โดยก่อนหน้านั้นเป็นเลขาธิการศูนย์กลางนักเรียนในปี พ.ศ. 2519 และนำนักเรียนขาสั้นเข้าร่วมเหตุการณ์ 6 ตุลา จากนั้นถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมเป็นเวลา 3 วัน ก่อนที่จะหนีเข้าป่า เฉกเช่นนักศึกษาคนเดือนตุลาอื่นๆ ในยุคนั้น โดยเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย (พคท.) เขตงานสุราษฎร์ธานี ในช่วงเหตุการณ์พฤษภาทมิฬ ยังได้เข้าร่วมกับ คณะกรรมการรณรงค์เพื่อประชาธิปไตย (ครป.) ขับไล่ พล.อ. สุจินดา คราประยูร
ปัจจุบัน อมร อมรรัตนานนท์ เปลี่ยนชื่อเป็น รัชต์ยุตม์ ศิรโยธินภักดี บทบาทด้านการเมือง ได้เข้าร่วมกับพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เป็นแกนนำในการบุกยึดทำเนียบ และบุกยึดสนามบินสุวรรณภูมิ อีกทั้งยังเป็นแกนนำ คปท ร่วมกับพุทธอิสระ มีท่าทีสนับสนุนรัฐประหารที่ชัดเจนคนหนึ่ง
4. วิทยากร เชียงกูล
แม้จะไม่ได้มีบทบาทในการเคลื่อนไหวในช่วงปี 2516-2519 แต่ก็เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในเชิงความคิดแก่นักศึกษาในยุคดังเกล่า เพราะเป็นผู้เขียนบทกลอน "เพลงเถื่อนแห่งสถาบัน" เมื่อ พ.ศ. 2511 ซึ่งมีท่อนติดปากว่า "ฉันเยาว์ ฉันเขลา ฉันทึ่ง ฉันจึง มาหา ความหมาย ฉันหวัง เก็บอะไร ไปมากมาย สุดท้ายให้กระดาษฉันแผ่นเดียว" บทกลอนนี้ได้กลายเป็นข้อเขียนหนึ่งในหลายชิ้น ที่มีอิทธพลต่อการเคลื่อนไหวของขบวนการนักศึกษาในช่วงนั้น ซึ่งต่อมาได้พัฒนาไปสู่การเรียกร้องประชาธิปไตย ในเหตุการณ์ 14 ตุลา พ.ศ. 2516 และ เหตุการณ์ 6 ตุลา พ.ศ. 2519
ปัจจุบัน วิทยากรดำรงตำแหน่งรองศาสตราจารย์และคณบดีวิทยาลัยนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต เคยแสดงความคิดเห็นอย่างรุนแรงต่อนางสาวยิ่งลักษณ์ชินวัตร (http://www.naewna.com/politic/82151) และยังเป็น กรรมการ สมาชิกสภาปฎิรูปแห่งชาติ(สปช.) อีกด้วย
อ่านต่อที่
เรื่องหลังบ้านประยุทธ์...อีกละ
Tuesday, October 13, 2015
"สถาบันกษัตริย์"มิอาจสร้างสมดุลย์ แก้วิกฤติการเมืองไทยได้อีกแล้ว
JomVoice YouTube
ศาสตราจารย์พิเศษ ดร. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้สัมภาษณ์ Thaisvoicemedia ในโอกาส 42 ปี เหตุการณ์ 14 ตุลา 2516 ปีนี้ เกี่ยวกับบทบาทสถาบันพระมหากษัตริย์กับการแก้วิกฤติการเมืองไทยว่า สถาบันกษัตริย์ไม่อยู่ในฐานะที่จะลงมาสร้างสมดุลย์ทางการเมือง ในยามที่เกิดวิกฤติการเมืองได้อีกแล้ว
https://www.youtube.com/watch?v=9_O3708Ym9Y
Download
ระวัง โจรกบฏจะล้างผิดกรณีฆาตกรรมหมู่ 2553
เฮ้ย+++ ม.เชียงใหม่ ออกกฏใหม่ นักศึกษาแต่งชุดไทย-ชุดพื้นเมือง ทุกวันศุกร์
"สถาบันกษัตริย์"มิอาจสร้างสมดุลย์ แก้วิกฤติ การเมืองไทยได้อีกแล้ว โดย Matichon
ผู้หญิงเดือนตุลา คุณดารุณีประกาศ เป็นแนวร่วม ล้มระบอบ
ความเห็นทางบ้าน เรื่อง หลุมพราง วันรำลึกตุลา
จดหมายเปิดผนึก เรียน พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติและนายกรัฐมนตรี
ใครสั่งให้ท่านทำการยึดอำนาจ?พลเอกประยุทธ์ตอบว่า"ถึงตายแล้วก็ไม่รู้ เขาสั่งผ่านเมียมา"
ขุดเรื่องบิ๊กๆในกองทัพ ร้อนฝ่าลมฝน
มันบ้าไปแล้ว!!! เหรียญทอง แน่นหนา จะฟ้องหมิ่น112 Mark Zuckerberg
ร่างรัฐธรรมนูญฉบับประชาชน โดยประชาชนมดแดงท่านหนึ่ง...1
ย้ำกันอีกรอบ..ใครเผาบ้านเผาเมือง!!!!!
*******************************************************
ย้ำกันอีกรอบ..ใครเผา!!!!!
*************************************************************************
ศาลอุทธรณ์ พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น ยกฟ้อง 2 แนวร่วม นปช. คดีเผาเซ็นทรัลเวิลด์ เหตุพยานยังให้การไม่ชัด
ที่ ศาลอาญากรุงเทพใต้ วันที่ 5 ก.ย. เวลา 09.30 น. ศาลอ่านคำพิพากษาวางเพลิงเผาศูนย์การค้าเซ็นทรัลเวิลด์ คดีหมายเลขแดงที่ 1424/2556 ที่อัยการฝ่ายคดีพิเศษ 4 เป็นโจทก์ ยื่นฟ้อง นายสายชล แพบัว อายุ 32 ปี ชาว จ.ชัยนาท การ์ด นปช. และนายพินิจ จันทร์ณรงค์ อายุ 30 ปี เป็นจำเลยที่ 1-2 ในความผิดฐานวางเพลิงเผาทรัพย์ โรงเรือนที่เก็บสินค้า เป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย คดีนี้ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษายกฟ้อง อัยการยื่นอุทธรณ์ คดีนี้โจทก์ฟ้องและนำสืบในศาลชั้นต้นว่า
เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 2553 เวลากลางวัน จำเลยทั้งสองกับพวก ร่วมกันชุมนุม และมั่วสุมกันบริเวณสี่แยกราชประสงค์ กทม. ซึ่งอยู่ในระยะเวลาที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง และได้เข้าไปในบริเวณอาคารห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัลเวิลด์ ใช้กำลังทำลายบานกระจก ผนังอาคารบานกระจกประตู อาคารเซ็นทาวเวอร์ อาคารเซ็นทรัลเวิลด์ ที่ตั้งอยู่ภายในบริเวณห้างสรรพสินค้าดังกล่าว จนแตกเสียหายเป็นการกีดขวางการจราจร ขัดขวางต่อการประกอบกิจการของห้าง ทำให้ประชาชนเดือดร้อนเสียหาย และเกรงกลัวอันตรายที่อาจเกิดขึ้นต่อชีวิต ร่างกาย ทรัพย์สิน ซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่ที่มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง และจำเลยทั้งสองกับพวกได้ร่วมกันเข้าไปภายในบริเวณอาคารเซ็นทาวเวอร์ และอาคารเซ็นทรัลเวิลด์ ที่เป็นทรัพย์โรงเรือนที่เก็บสินค้าของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ และจำเลยกับพวกได้ร่วมกันวางเพลิงเผาทรัพย์ จนทำให้เกิดเพลิงลุกไหม้ ลุกลามเผาอาคารเซ็นทาวเวอร์ และไฟไหม้เผาทรัพย์สินต่างๆ ของผู้เสียหาย ที่มี 270 ราย รวมค่าเสียหาย 8,890,578,649.61 บาท และเป็นเหตุให้ นายกิติพงษ์ หรือกิตติพงษ์ สมสุข ที่อยู่ภายในอาคารดังกล่าวถึงแก่ความตาย เหตุเกิดที่แขวงและเขตปทุมวัน กทม. ขอให้ลงโทษและพระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548
จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธ โจทก์นำสืบว่า ระหว่าง มี.ค.-พ.ค. 2553 กลุ่ม นปช.ได้จัดชุมนุมทางการเมืองที่แยกราชประสงค์เขตปทุมวัน กทม. ซึ่งมีผลทำให้ประชาชนไม่สามารถเข้าไปซื้อสินค้าและบริการภายในห้างสรรพสินค้าเซน และเซ็นทรัลเวิลด์ที่ได้ปิดบริการชั่วคราว แต่ยังจัดให้มีการรักษาความปลอดภัย 24 ชม.เพื่อดูแลความเรียบร้อยรวมทั้งป้องกันเหตุเพลิงไหม้ ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวรัฐบาลได้ประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ในพื้นที่ กทม.และปริมณฑล โดยห้ามชุมนุมตั้งแต่ 5 คนขึ้นไป โดยหลังจากที่แกนนำประกาศยุติการชุมนุมแล้วได้มีกลุ่มคนร้ายใช้ไม้ และเหล็กทุบกระจกเข้าไปในห้างเซน และใช้ขวดเครื่องดื่มชูกำลังที่บรรจุน้ำมันเป็นเชื้อเพลิงจุดไฟแล้วโยนเข้าไปในบริเวณชั้น 1 ของห้าง
ศาลชั้นต้นพิเคราะห์พยานหลักฐานแล้วมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่าจำเลยที่ 1 ทำผิดตามฟ้องหรือไม่ เห็นว่า โจทก์มี รปภ.ซึ่งเป็นประจักษ์พยานที่เห็นเหตุการณ์ และถ่ายภาพจำเลยที่ 1 ขณะถือถังดับเพลิงสีเขียวของห้างไว้ได้ เมื่อเวลา 14.00 น.วันที่ 19 พ.ค. เบิกความ เห็นจำเลยกับกลุ่มคนร้าย 5-6 คน ใช้ไม้ทุบกระจกเข้ามาภายให้ห้าง ซึ่งตนเกิดความหวาดกลัวจึงได้หลบไปอยู่ชั้น 3 ระหว่างนั้นได้ถ่ายภาพจำเลยไว้ด้วย ขณะที่ พงส.ชนะสงคราม ได้ขอหมายศาลจับกุมจำเลยที่ 1 ได้ ศาลเห็นว่าแม้โจทก์มีพยานเป็น รปภ.ซึ่งเป็นผู้ถ่ายภาพของจำเลยที่ 1 ได้ในที่เกิดเหตุ แต่ก็อยู่ห่างจากจุดเกิดเหตุ 30 เมตร และเห็นเพียงว่าจำเลยที่ 1 ถือถังดับเพลิง ซึ่งไม่ใช่อุปกรณ์ที่จะใช้ในการวางเพลิง แม้จะอนุมานไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 จะเข้าไปช่วยดับเพลิงหรือไม่ ประกอบกับพยานโจทก์ปากนี้ก็ไม่สามารถตอบคำถามทนายจำเลยได้ว่าเห็นจำเลยที่ 1 เป็นผู้วางเพลิงหรือไม่ นอกจากนี้ โจทก์ยังไม่มีพยานปากอื่นที่จะมาเบิกความชี้ชัดถึงพฤติการณ์จำเลยที่ 1 ในการวางเพลิง หรือสนับสนุนการวางเพลิงแต่อย่างใด นอกจากภาพถ่ายเพียงใบเดียวที่แสดงให้เห็นเพียงช่วงเวลาหนึ่ง แต่ไม่มีใครเห็นว่าจำเลยที่ 1 จะทำอย่างไรต่อไป พยานโจทก์จึงยังมีเหตุสงสัยว่าจำเลยที่ 1 เป็นคนร้ายที่ร่วมทำผิดในคดีนี้หรือไม่ จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย แต่จำเลยคงมีความผิดฐานฝ่าฝืน พ.ร.ก.ฉุกเฉินเท่านั้น และลงโทษในฐานนี้ 9 เดือน ซึ่งจำเลยถูกขังมาจนครบอัตราโทษแล้ว
ส่วนจำเลยที่ 2 นั้น โจทก์มีพนักงานห้างเบิกความว่า ขณะเกิดเหตุเห็นคนร้ายประมาณ 40-50 คน มีชาย 4-5 คน เดินนำหน้าใช้หนังสติ๊กยิงใส่เป็นระยะพนักงานจึงหลบหาที่กำบัง และเห็นชายชุดดำลายพรางสวมหมวกปีก ใช้ระเบิดโยนใส่มีคนเจ็บ 9 คน ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจสามารถจับกุมคนร้ายภายในห้างได้จำนวน 9 คน มีจำเลยที่ 2 รวมอยู่ด้วย จึงพาไปคุมตัวที่ลานจอดรถ อย่างไรก็ตาม คำเบิกความของพยานโจทก์กลุ่มนี้ที่สามารถจดจำรูปพรรณสัณฐานจำเลยที่ 2 ได้ตรงกันหมด ยกเว้นเพียงสีเสื้อที่ไม่ตรงกับภาพที่ปรากฏ ทั้งที่ระหว่างพยานต้องคอยหลบลูกหินที่กลุ่มคนร้ายยิงเข้าใส่ อีกทั้งพยานอยู่ห่างไปกว่า 30 เมตรนั้น น่าสงสัยว่าจะสามารถจำคนร้ายได้จริงหรือไม่ นอกจากนี้โจทก์ยังไม่นำเจ้าหน้าที่ซึ่งจับกุมจำเลยที่ 2 มาเบิกความถึงการจับกุมจับจำเลยว่าจับกุมได้ที่ชั้นไหน มีวัสดุ หรืออุปกรณ์ หรือมีร่องรอยหลักฐานตามตัวในการวางเพลิงหรือไม่อย่างไร พยานโจทก์ที่นำสืบมานั้นยังมีเหตุสงสัยว่าจำเลยที่ 2 จะกระทำผิดตามฟ้องจริงหรือไม่ จึงยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้จำเลย จึงพิพากษายกฟ้องจำเลยทั้งสองในข้อหาวางเพลิงเผาทรัพย์ ศาลอุทธรณ์พิพากษาว่า พยานโจทก์ยังไม่พอฟังว่า จำเลยที่ 1 กระทำผิด จึงไม่จำต้องพิจารณาถึงจำเลยที่ 2 ที่ศาลชั้นต้นพิพากษามานั้น ศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วย จึงพิพากษายืน ให้ยกฟ้องข้อหาวางเพลิงเผาทรัพย์ นอกจากนั้นให้คงเป็นไปตามศาลชั้นต้น
นายวิญญัติ ชาติมนตรี ทนายความจำเลยเผยว่า ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้น โดยเป็นการวินิจฉัยในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นการยกฟ้องสองศาล ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิอาญามาตรา 220 และอาจขอให้อัยการสูงสุดรับรองให้ฎีกาได้ตามมาตรา 221
Monday, October 12, 2015
ใครสั่งฆ่านักศึกษา 13-14 ตุลาคม 2516????
มีมิตรสหายส่งข้อมูลมาครับ... น่านำไปพูดคุยและขยายต่อครับ
____________________
ในคืนที่13ตค16 ท่านผู้นำได้ตกลงยอมลงจากอำนาจ ในคืนวันนั้นเวลาตีหนึ่งไม่ถึงดี รถขนทหารเข้ามาในปรานบุรี รับนายทหารโดยไม่บอกเหตุผลมีคำสั่งแค่ขึ้นรถ ผู้สั่งคือหน่วยรบพิเศษพลร่มลพบุรี หรือป่าหวายหมวกแดง เมื่อใกล้รุ่งเช้าได้สั่งยิงอย่างเดียวไม่มีคำสั่งอื่น ชุดนี้คือชุดบนตึกสูง ที่ท่านณรงค์สั่งสอบสวน ฝ่ายตำรวจที่สั่งกัดจึงไม่ทราบ สรุปคือหน่วยรบพิเศษที่เคยนอนเปลในป่ามานานแสนนานมีชุดเดียวเท่านั้น
(ปล.ทุกท่านเหล่านั้นโดนข้อหากบฏแต่ไม่ปลดจากราชการเป็นสาเหตุของความดำมืดเพราะถ้าสำเร็จจะได้ติดยศข้ามชั้น แต่โดนหลอกใช้เท่านั้นเอง เป็นแผนซ้อนแผน)
หวังว่าจะเป็นข้อมูลไปเชื่อมให้สมบูรณ์ได้ในความกว้างขวางของท่าน คนสั่งเป็นคนตัวเล็กๆผมหยิกชอบดูดาวจากผนัง
ด้วยความเคารพอย่างสูง