Saturday, May 21, 2016

26 พ.ค.59 พร้อมกันที่วัด เพื่อปกป้อง พระพุทธศาสนา


"2 ปี กับอนาคตที่ประชาชนไม่ได้เลือก” ทรราช คสช.

2 ปีรัฐประหาร จากมุมมองของโบ้ วรวุฒิ บุตรมาตร หนึ่งในสมาชิกขบวนการประชาธิปไตยใหม่(NDM)
แล้ว ‪#‎2ปีรัฐประหาร‬ ของคุณเป็นอย่างไร
อีกช่องทางในการรับชม https://www.youtube.com/watch?v=J_maZO1sCUw&feature=youtu.be
--------------------
ร่วมกันแสดงพลังเนื่องในโอกาสครบรอบ "2 ปี กับอนาคตที่ประชาชนไม่ได้เลือก" ในวันที่ 22 พฤษภาคม 2559 ตั้งแต่เวลา 16.00 น. ที่ลาน 6 ตุลา ธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ จากนั้นเดินขบวนแสดงพลังที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยในเวลา 17.00 น.

โหวตรับเฉพาะรัฐธรรมนูญ ก็เท่ากับ ให้อำนาจ ทรราช คสช.ผูกพันต่อเนื่องอีก 20 ปี

เสวนา มธ. คึกคัก "เกษียร" แจก "เอฟ" ร่างรธน.ฉบับมีชัย ชี้ผูกพัน 20 ปี 4 รัฐบาล

-
เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 5 พฤษภาคม ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ท่าพระจันทร์ โครงการบัณฑิตศึกษา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา จัดงานเสวนา "รัฐธรรมนูญกับประชามติที่เลือกได้"

-
นายธเนศ อาภรณ์สุวรรณ ธรรมศาสตราภิชาน วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์ ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวในหัวข้อ "ทำไมต้องมีรัฐธรรมนูญ" ในฐานะความหมายของรัฐธรรมนูญไทย ไม่ได้ยืนยันอำนาจการปกครองว่ามาจากประชาชน จึงไม่ปกปองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญเป็นตัวแสดงถึงโครงสร้างอำนาจโดยกล่าวถึงกลุ่มอำนาจทั้งหลายกันเอง ไม่ใช่กับประชาชน และรัฐธรรมนูญไม่ใช่ที่มา หากแต่เป็นผลรวมของกฎหมายลูกและไม่ใช่กฎหมายสูงสุด

-
"ผมไม่อ่านรัฐธรรมนูญในวันนี้เพราะคิดว่าไม่เข้าใจ รัฐธรรมนูญอยู่ในจิตวิญญาณ ผมเชื่อว่าคนอเมริกันไม่อ่านรัฐธรรมนูญแต่เขาไม่ยอมให้มีใครมาทำลายรัฐธรรมนูญโดยเด็ดขาด รัฐธรรมนูญคือเจตนารมณ์ของประชาชนที่ต้องการสร้างสังคมที่มีความเสมอภาค เท่าเทียมและยุติธรรมตลอดไป มันต้องมีอยู่เพื่ออนาคต เพื่อคนอีกร้อยปีข้างหน้าด้วย" นายธเนศกล่าว

-
นายเกษียร เตชะพีระ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวว่า ภาพรวมร่างรัฐธรรมนูญฉบับนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานกรธ.อ่านแล้วได้ข้อสรุปว่า เรื่องเจตนา ถ้าดูเฉพาะ 16 หมวด ตัดเกรดแล้วให้ได้ประมาณเกรดดี แต่รวมบทเฉพาะกาลด้วยให้เกรดเอฟ
"ท่านไม่ได้โหวตรับเฉพาะรัฐธรรมนูญ แต่รับระเบียบอำนาจคสช.ด้วย ที่พ่วงมาด้วยเพราะ ทำให้รัฐธรรมนูญฉบับนี้แก้ไขเพิ่มเติมยากมาก แล้วยังประกันระเบียบอำนาจคสช. มาตรา 279 ให้คสช. ใช้อำนาจต่อ เปิดใช้อำนาจนายกฯคนนอก เกิดคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติกระจายไปทั่ว มุ่งให้ผูกพันรัฐบาลต่อเนื่อง20ปี 4รัฐบาล ยุทธศาสตร์ชาติได้ครอบคลุมเบ็ดเสร็จทุกด้าน อีกทั้งมีบทลงโทษคนที่ไม่ทำตาม และมีสัดส่วนฝ่ายแต่งตั้งมากกว่าฝ่ายเลือกตั้ง"

-
นายอภิชาต สถิตนิรามัย อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ กล่าวว่า หากร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้ผ่านก็เห็นได้ว่า รัฐบาลที่จะเกิดหลังจากมีการประชามติ จะเป็นรัฐบาลที่อ่อนแอ อายุสั้น และไม่สามารถผลักดันนโยบายใดๆ ได้ ระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสมก็จะไม่ทำให้เกิดการแข่งขันเชิงนโยบาย และเป็นวิธีการเลือกตั้งที่เอื้อประโยชน์ให้พรรคขนาดกลาง ทำให้การเลือกตั้งไม่ชนะแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดและนำไปสู่รัฐบาลผสม รัฐบาลจึงล้มง่าย ไร้ประสิทธิภาพ และอาจพูดได้ว่าร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะเป็นการฟื้นฟูให้ระบบราชการกลับมาเป็นใหญ่ โอกาสปฏิรูประบบราชการจึงน้อยลงทั้งที่ปัจจุบันราชการไล่ตามเอกชนไม่ทันแล้ว เป็นเหตุให้ต้องปฏิรูป

-
Cr. matichon


2 ปี ภายใต้การกดขี่ของ ทรราช คสช. มีแต่ความเสียหาย และเสียหมา

"จาตุรนต์" ชี้ 2 ปีคสช. สะท้อนค่าใช้จ่ายความเสียหายราคาแพงจากรัฐประหาร ไม่ประสบความสำเร็จแก้ปัญหาเศรษฐกิจ เหตุขาดวิสัยทัศน์ ตั้งคนไม่เหมาะสมกับงาน

-
เมื่อวันที่ 21 พ.ค.2559 นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรองนายกรัฐมนตรี แกนนำพรรคเพื่อไทยกล่าวถึงการบริหารงานครบรอบ 2 ปี ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ว่า 2 ปีที่ผ่านมา ปัญหาใหญ่จริงๆ การไม่ประสบความสำเร็จในการแก้ปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้เศรษฐกิจชะลอตัว เติบโตต่ำที่สุดในภูมิภาค และทำให้ประชาชนคนที่มีรายได้ รวมถึงเกษตรกร คนยากจน ต้องเดือดร้อนมากกว่า ทุนขนาดใหญ่เท่านั้นที่ยังพอทำธุรกิจกันไปได้ ปัญหานี้เป็นผลสืบเนื่องจากเศรษฐกิจโลกตกต่ำ เศรษฐกิจที่เป็นคู่ค้ากับประเทศชะลอตัวก็จริง แต่มันถูกซ้ำเติมด้วยการขาดวิสัยทัศน์ ประสบการณ์ ความรู้ในการทำงาน การวางคนที่ไม่เหมาะกับงาน เอาคนที่ไม่มีความรู้ด้านการบริหารมาคุมกระทรวงสำคัญๆ เสียเป็นส่วนใหญ่ โดยคนที่มีความรู้ทางเศรษฐกิจไม่สามารถทำอะไรได้

-
นอกจากนั้น นายกฯ ยังขาดความเข้าใจเรื่องเศรษฐกิจ ความรู้ในการบริหารประเทศ มักแสดงความเห็นแบบผิดบ้างถูกบ้าง พูดเผื่อๆ ไว้ จนไม่มีใครรู้ว่านโยบายรัฐบาลคืออะไรกันแน่แทบทุกเรื่อง ปัญหาซ้ำเติมมากกว่านี้ เนื่องจากประเทศไทยต้องคบค้าต่างประเทศ รวมทั้งมีเรื่องที่ต้องแก้ไขด้วยการเจรจา แต่ประเทศต่างๆ ก็จะไม่ร่วมมือ ตราบใดที่ประเทศไทยยังไม่เป็นประชาธิปไตย เมื่อยังไม่มีความชัดเจนว่าประเทศไทยจะเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ รวมทั้งมีการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างมาก และฝ่ายผู้มีอำนาจรัฐก็ไม่ได้ตอบสนองเสียง 'วิพากษ์วิจารณ์' ข้อเรียกร้องจากประชาคมระหว่างประเทศ ก็ทำให้นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ขาดความเชื่อมั่นว่า ประเทศจะมีเสรีภาพ พัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไปได้ เรื่องนี้เป็นค่าใช้จ่ายและความเสียหายที่แพงมาก จากการรัฐประหาร และการปกครองแบบไม่เป็นประชาธิปไตย

-
ทั้งนี้ ยังมีเรื่องล้มเหลวในเรื่องสำคัญๆ ที่ยังไม่สามารถพูดได้หมดในขณะนี้ ทั้งความล้มเหลวการปฏิรูป การแก้ปัญหาความขัดแย้งในประเทศ ในการคืนประชาธิปไตย การที่จะให้ประเทศอยู่ในสภาพที่ปกครองกฎหมายเป็นกฎหมาย และผู้คนปฏิบัติตามกฎหมายที่เป็นธรรม และเท่าเทียมกัน ส่ิงเหล่านี้ยังไม่เกิดขึ้น จึงเป็นความล้มเหลวในรอบ 2 ปีที่ผ่านมา และยังไม่เห็นว่าจากนี้ไปจะดีขึ้น.

-
Cr. ไทยรัฐออนไลน์


ทรราชต๊อก ลั่น 26พ.ค.นี้ บุกจับหลวงพ่อถึงวัดธรรมกาย

ทรราช ไพบลูย์  คุ้มฉายา ลั่น 26พ.ค.นี้ ไม่มารับข้อหาที่ยัดเยียดให้พระ จะ บุกจับถึงวัดธรรมกาย

----------------------------------------------------------------------------

ทรราช ไพบูลย์ คุ้มฉายา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม หรือสุนัขรับใช้ เผด็จการ คสช.  กล่าวถึงกรณี ลูกศิษย์วัดพระธรรมกายล่า 1 แสนรายชื่อไปถึง นายบารัค โอบาม่า ประธานาธิบดีสหรัฐอเมริกา เพื่อยืนยันความบริสุทธิ์ของ พระธัมมชโย ไม่มาความหมาย เพราะ ทรราช คสช. ดำเนินการ(ปล้น)ตามกฏหมา  

หาก พระธัมมชโย ไม่มาตามกำหนดนัดหมายในวันที่ 26 พ.ค.นี้ เจ้าหน้าที่ก็ต้องเข้าไปจับอยู่แล้ว ทั้งนี้ ดีเอสไอให้เวลาพระธัมมชโย เพราะเห็นเป็นพระชั้นผู้ใหญ่มีสมณศักดิ์ทางสังคมและไม่คิดหนีออกนอกประเทศ ส่วนที่กลัวว่าหากดีเอสไอเข้าไปจับกุมพระธัมมชโยที่วัดแล้วจะทำให้เกิดความรุนแรง นั้น ไอ้เหี้ย ต๊อก ทหารหมาหน้าตัวเมีย ไม่กลัว ( เพราะมีความชำนาญในการยิงคนมือเปล่า เหมือนปี 53 อยู่แล้ว) 

-
เสรีชน


2 ปี รัฐประหาร 2557: จดหมายเปิดผนึกจากเครือข่ายราษฎรเสรีไทยเพื่อประชาธิปไตย ถึง คสช.​ และเครือข่ายเผด็จการ

จดหมายเปิดผนึกจากเครือข่ายราษฎรเสรีไทยเพื่อประชาธิปไตย


วันที่ ๑๙ เดือนพฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๕๙


ถึง นายประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ผู้ร่วมก่ออาชญากรรมต่อมวลมนุษยชาติ (Crimes against Humanity) ณ​ ทำเนียบรัฐบาล กรุงเทพมหานคร


พวกเรา ที่ได้ลงนามต่อท้ายจดหมายฉบับนี้ คือพลเมืองไทยจากทั่วโลก ผู้มีหุ้นส่วนของการเป็นเจ้าของประเทศไทยและเป็นเจ้าของอำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ ที่ คสช.และพรรคพวกได้ร่วมกันปล้นไป แล้วใช้อำนาจและเงินภาษีของของพวกเราอย่างผิดกฎหมาย ผิดหลักการประชาธิปไตย ผิดหลักศีลธรรม และละเมิดหลักสิทธิมนุษยชนอย่างร้ายแรง


เราไม่ได้เขียนมาเพื่อร้องขอใด ด้วย คสช.และเครือข่ายเผด็จการ ไม่มีความชอบธรรมและไม่มีคุณค่าพอที่เราจะสัมพันธ์ด้วยเยี่ยงนั้น ความบ้าอำนาจอย่างมืดบอดของเผด็จการ คสช.และคณะ ได้สำแดงผลเสมือนพฤติกรรมของกาที่อ้างว่ามีสีขาว โจรที่พูดภาษาพระแต่กักขฬะเหมือนนักเลงข้างถนน หรือปีศาจที่คาบคัมภีร์ 


ดังนั้น เราจึงเขียนมาเพื่อเตือนสติคสช.และผู้ร่วมขบวนทั้งหมด ให้เลิกหน้ามืดตามัว แล้วยอมรับความจริง เพื่อจะได้ลดกรรมชั่วและผิดบาปลง แล้วกลับตัวกลับใจเสียใหม่ ดังนี้


หนึ่ง คสช. ได้ใช้เล่ห์เหลี่ยมปล้นอำนาจประชาชนอย่างบังอาจ ซึ่งผิดมาตรา ๑๑๓ ในรัฐธรรมนูญฉบับ ๒๕๕๐ โดยมีโทษสูงสุดถึงขั้นประหารชีวิต แต่ก็ได้มีการสั่งให้อภัยโทษอย่างไร้เหตุผล แล้วกลับขอให้ราษฎรที่จ่ายเงินภาษีอากรและเจ้าของประเทศเคารพกฎหมายโจร ที่พรรคพวกตัวเองเขียนขึ้นแล้วบังคับใช้อย่างไร้หลักเกณฑ์ เพื่อให้คนไทยตกเป็นทาสของตนตลอดไป จงจำไว้ว่า ที่ใดมีการกดขี่ ที่นั่นจะมีการลุกขึ้นสู้เสมอ อำนาจอธรรมที่ถูกใช้เพื่อสร้างอาณาจักรแห่งความกลัวนั้น นอกจากจะไม่สามารถทำให้ประชาชนหัวหดได้ตลอดไปแล้ว ความกลัวจะพัฒนาเป็นความเกลียด และความเกลียดนั้นจะถูกกลั่นเป็นความกล้าที่จะลุกขึ้นสุ้ในที่สุด

 

สอง ฐานะและอำนาจของคสช.และเครือข่าย เป็นฐานะเถื่อน และอำนาจที่คุณอุปโลกกันเองนั้น ไม่ใช่สิ่งที่เรา เจ้าของอำนาจตัวจริงยอมรับ คสช. จะอ้างและใช้อำนาจใดก็แล้วแต่ แต่จงจำไว้ว่า หมดอำนาจวันใด กรรมจะตามสนองอย่างสาสมตามกฎเกณฑ์ของศาลสถิตยุติธรรมสากล

 

สาม การสร้างประชาธิปไตยไม่สามารถทำได้ด้วยวิถีของเผด็จการ โดยตัดการมีส่วนร่วมของปวงชนชาวไทยอย่างที่เผด็จการคสช.และเครือข่ายกำลังทำกันอยู่ การวางนโยบายปฏิรูปกันเอง ร่างรัฐธรรมนูญกันเอง เขียนกฎหมายว่าด้วยการลงประชามติที่ปิดกั้นการแสดงความเห็นเชิงวิพากษ์วิจารณ์ ซึ่งกำหนดโทษไว้อย่างรุนแรงถึงจำคุกนับสิบปี ตั้งคนของตัวเองไปบังคับใช้ แล้วอ้างว่าจะทำเพื่อประชาชนและสร้างประชาธิปไตย ขณะเดียวกัน ได้ทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนและหลักการประชาธิปไตยแทบทุกทาง จับกุมคุมขังผู้เห็นต่างอย่างลุแก่อำนาจ ข่มขู่ ทารุณ ข่มเหง บีบคั้น และแม้แต่สังหารปวงชนเจ้าของประเทศที่มือเปล่า เพื่อจะได้ยัดเยียดการเป็นผู้ถืออำนาจรัฐ โดยรวบอำนาจและถือโอกาสปล้นภาษีอากรและทรัพยากรของปวงชต่อไปอีกนับสิบ ๆ ปี โดยทุกอย่างได้รวบยอดอำนาจและผูกปมบังคับไว้ในร่างรัฐธรรมนูญโจร ที่ประชาชนไม่ได้มีส่วนร่วมคิดคิด ร่วมร่าง และร่วมวิพากษ์วิจารณ์อย่างเสรีเลยนั้น นอกจากพวกเราจะไม่ยอมรับมันแล้ว พวกเราไม่เคยยอมรับฐานะใด ๆ ก็ตามของ คสช. และพรรคพวก ที่ได้แต่งตั้งกันเอง แล้วบังอาจใช้อำนาจอธิปไตยของคนไทยทุกคน โดยไม่ผ่านฉันทามติของพวกเรา ดังนั้น จงนับเวลาถอยหลัง และรอรับโทษทัณฑ์ ตามหลักกฎหมายที่ชอบอ้างกันตลอดเวลานั่นเสีย เพราะการอภัยโทษตัวเองนั้น ไม่สามารถทำให้ใครพ้นโทษทัณฑ์จากการเป็นกบฏ ล้มล้างอำนาจการปกครองของประชาชน ละเมิดสิทธิมนุษยชน และทำผิดหลักกฎหมายสากลได้

 

สี่ คสช.และเครือข่ายโจรกบฏ ได้กล่าวร้ายและยกความผิดให้ผู้อื่นเป็นรายวัน แต่หากได้ส่องกระจกอย่างคนตาปกติและใจปกติ ก็จะเห็นว่า สิ่งที่กล่าวร้ายต่อผู้อื่นนั้น ตนกลับเลวร้ายยิ่งกว่าเขาในทุกกรณี คสช.​บอกนักการเมืองทิ้งปัญหาต่าง ๆ ไว้ให้ตนแก้ แต่แท้ที่จริง คสช.​และผู้ร่วมสมคบคิด คือผู้สร้างปัญหาและทำปัญหาให้เลวร้ายยิ่งขึ้น เครือข่ายโจร คสช. บอกจะมาปราบโกง แต่ในยุคเผด็จการครองเมืองของคสช.​วันนี้ การโกงและคอรัปชั่นกำลังเกิดขึ้นทุกหย่อมหญ้า แถมใครตรวจสอบไม่ได้เลย และที่บอกว่าที่ผ่านมานักการเมืองไม่ยอมพัฒนาบ้านเมืองจริงจังนั้น คสช.​กลับนำประเทศถอยหลัง จนไม่มีใครคบค้าด้วยจนเศรษฐกิจฝืดเคือง สร้างความเดือดร้อนแก่คนไทยทุกหมู่เหล่า จนไม่ว่าจะใช้เล่ห์ทำตัวเลขอย่างไร ก็หนีความจริงไม่พ้น

 

ห้า สิ่งที่เป็นผลจากการทำผิดข้างต้นอย่างโจ่งแจ้งและต่อเนื่อง คือการที่นานาชาติ อันมีตัวแทนอารยประเทศถึง ๑๔ ประเทศ เวทีสหประชาชาติเมื่อวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ศกนี้ ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ได้แสดงความห่วงใยอย่างสูงสุดต่อพฤติกรรมของคสช.และเครือข่าย ที่มีความเป็นเผด็จการและละเมิดหลักข้อตกลงสากลที่ไทยได้ลงนามรับพันธกรณีต่าง ไว้ แต่แทนที่คสช. และผู้ร่วมขบวนการเผด็จการจะสำนึก แล้วปรับปรุงพฤติกรรมตัวเอง กลับยิ่งทำผิดยิ่งขึ้น จ้องแต่จะปรับทัศนคติประชาชน แต่ตนเองกลับหลงผิด คิดชั่ว และทำเลวอย่างไม่เลิกรา แล้วหวังจะแก้ตัวแบบน้ำขุ่น ๆ แล้วก็วกไปอ้างความเป็นไทย ความมั่นคงของสถาบันชาติ และความเป็นเอกราชแบบไทย ๆ แต่ที่เลวร้ายยิ่งกว่า คือการชักศึกเข้าบ้าน ด้วยการเลือกไปยืนข้างประเทศที่เป็นเผด็จการที่ชาวโลกตั้งข้อสงสัยมาตลอดในเรื่องประวัติการละเมิดสิทธิมนุษยชนและการเป็นรัฐเผด็จการ แล้วส่งตัวแทนในเครือข่าย คสช. ออกมาให้สัมภาษณ์ในทำนองเป็นปฏิปักษ์ต่อมวลมิตรประเทศที่ห่วงใยตามกรอบข้อตกลงสากลที่ไทยทำไว้ สร้างความเป็นชาตินิยมแบบผิด ๆ และกร่างเกินตัว จนอาจจะนำไปสู่ความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจ ที่อาจจะลงเอยด้วยการใช้ประเทศไทยเป็นสนามรบ นี่เป็นความผิดพลาดและสิ่งที่สุ่มเสี่ยงอย่างยิ่ง

 

คสช. และเครือข่ายเผด็จการทั้งหลาย จงจำไว้ว่า เงินภาษีอากรของประชาชนเป็นสมบัติส่วนรวมของคนทั้งชาติ วันนี้ บรรดาผู้นำ คสช.​คือนายทหารแก่ที่เกษียรแล้ว แต่กลับหลงอำนาจและใช้เงินภาษีอากรของประชาชนเพื่อประโยชน์ของตนและพวกพ้อง อำนาจที่ถืออยู่นั้น คือของปลอม และจะยื้อมันไว้ไม่ได้ตลอดไป และเครือข่ายที่ คสช. รับใช้อยู่นั้น เขายิ่งใหญ่ ล้ำลึก และโหดร้ายนัก และพวกเขาได้กำจัดหรือทำลายนายพลที่เขาชูขึ้นมากำราบประชาชนมาหลายยุคสมัยอย่างง่ายดายเสมอ ลองมองรอบตัวแล้วคิดให้ดีว่ามีคนจริงใจ ยอมร่วมทุกข์ร่วมสุขกับคุณจริง ๆ ตลอดไป อยู่สักกี่คน การกระทำที่ละเมิดอำนาจอธิปไตยและสิทธิมนุษยชนของปวงชน จนทำให้นานาอารยประเทศรุมตั้งคำถามและประนามบนเวทีสหประชาชาตินั้น แสดงให้เห็นถึงความเหม็น เน่า และฉาวโฉ่ของสถาบันเผด็จการของประเทศไทยอย่างถึงที่สุดแล้ว

 

และจงจำไว้ว่า ไม่มีภูมิคุ้มกันสำหรับโจรกบฏที่ปล้นและทำร้ายประชาชนได้ตลอดไป คนไทยทุกคนต่างมีฐานะพลเมืองเจ้าของประเทศโดยเท่าเทียมกัน ไม่มีใครมีอำนาจและบารมีจริง ๆ ที่จะขู่บังคับแล้วให้พวกเรายอมรับอยู่ใต้อำนาจอธรรมของ คสช. และคนที่บงการหรือร่วมมือกันเป็นเครือข่ายเผด็จการตลอดไป กรรมของคสช. และเครือข่ายต่อจากนี้เท่านั้น จะต้องได้รับผลกรรมตอบแทนตามกฎแห่งกรรมและหลักกฎหมายทั้งในประเทศและระดับสากลอย่างสาสมในที่สุด

 

ด้วยสำนึกของเจ้าของประเทศผู้รักในเสรีภาพ ความยุติธรรม และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์

(ผู้ลงนามต่อท้าย)

 

จารุพงศ์​ เรืองสุวรรณ เลขาธิการองค์การเสรีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชนและประชาธิปไตย


ดร. เพียงดิน รักไทย อธิการบดีมหาวิทยาลัยประชาชน


อเนก ซานฟราน ประธานบอร์ดอำนวยการภาคีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชน


และผู้ลงนามต่อท้ายอื่น ๆ ดังนี้

 

J. Nilkhamhang.

Bankok

 

 

Thailand

sandy lin

Bangkok

 

 

Thailand

vichai Ratanakomonwat

chonbury

 

 

Thailand

Deww Hussain

Bangkok

 

 

Thailand

Juntra Prasertsud

Thailand

 

 

Thailand

คนเดินดิน รักกันนะ

ไทย

 

 

Thailand

มดแดง เพื่อประชาชน

กรุงเทพ

 

 

Thailand

Somsri Takemoto

 

 

556-0011

Japan

กริสนี ทรัพย์บุญรอด

ปทุมธานี

 

12160

Thailand

chai eng

Monterey Park

California

91754

United States

นพไกร ใจดี

กรุงเทพฯ

 

 

Thailand

Udomsak Maneerat

Mission

Kansas

66202

United States

อมร เฉยภิรมย์

กทม.

 

 

Thailand

Anongratana. Reuben

Laval QC.

 

H 7P 5 N3

Canada

หลวงภูเบศ มหาประชาราษฎร์

Bangkok

 

 

Thailand

นิดหน่อย ปาป๊า รักกันดี

ปทุมธานี

 

 

Thailand

แดง สกล

สกลนคร

 

 

Thailand

จิดาภา รุจิรัฐกรณ์

กทม

 

 

Thailand

อ๋อง ใจงาม

เมืองดอกคูณ/ดอกบัว

 

 

Thailand

นายสยาม ไทยสมัย

กรุงเทพ

 

 

Thailand

นายภรัญยู ผลขวัญ

อุดรธานี

 

 

Thailand

Vilaypho Vong

Carthage

North Carolina

28374

United States

ศศิประภา ดาวฉายแสง

Toronto

 

 

Thailand

ลูกเสือชาวบ้าน-มวลชนจัดตั้ง เตรียมช่วยกรรมการร่าง รธน.

เนวิน-วิชัย-อนุทิน ตัวเชื่อมพรรคคสช.

ถ้าเลือกได้ ก็คงเลือกที่จะไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับทรราช คสช.นี้

ในอดีต เคยเข้าใจว่า รัฐธรรมนูญคือกฎหมายสูงสุดในการปกครองประเทศ 

-
แต่พออยู่มาเรื่อยๆ ได้ทำงานกับชาวบ้าน จึงรู้สึกว่าสิ่งที่เรียกว่ารัฐธรรมนูญ มันแปลกๆ สงสัยว่าทำไมมันต้องมีอำนาจมากมายมหาศาล ทำไมต้องให้รัฐมีอำนาจจัดการกับเราได้ สั่งสร้างเขื่อน ให้คนออกจากป่าได้ อพยพคนได้ ทำร้ายคนจนได้ตลอดเวลา จนเมื่อปี 2540 เป็นปีแรกที่คนจนได้มีโอกาสร่วมร่างรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นสิ่งที่เขาภูมิใจที่จะเรียกว่า "รัฐธรรมนูญฉบับประชาชน" 

-
บารมี เปรียบเทียบมาตรา 26 ของรัฐธรรมนูญ 2540 กับมาตรา 25 ของร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับมีชัย ฤชุพันธุ์ ซึ่งกล่าวถึงการใช้อำนาจของรัฐว่า ขณะที่ในรัฐธรรมนูญ 2540 รับรองสิทธิประชาชน โดยบอกว่าถ้าหน่วยงานรัฐจะใช้อำนาจต้องคิดถึงสิทธิเสรีภาพของประชาชน แต่มาตรา 25 ของร่างรัฐธรรมนูญฉบับมีชัย เขียนว่า ถ้าจะใช้สิทธิ อย่ากระเทือนรัฐ 

-
อ่านแล้วจะเห็นความแตกต่างที่มีนัยสำคัญ ที่จะหาช่อง โอกาส วิธีจำกัดลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนอยู่ตลอดเวลา ทั้งหมวดสิทธิเสรีภาพ และหน้าที่ของรัฐ 
จนตีความยากว่าใครจะจัดการ 

-
ต่อมา เรื่องการศึกษา การรักษาพยาบาล ซึ่งเป็นเรื่องที่คนจนเข้าถึงยากที่สุด ร่างรัฐธรรมนูญนี้ พยายามบอกว่าจะช่วยเรื่องการศึกษาและการรักษาพยาบาลเฉพาะคนยากไร้

-
"การศึกษา การรักษาพยาบาล ไม่ใช่เรื่องสงเคราะห์ เป็นสิทธิที่เราพึงมีพึงได้ รัฐต้องจัดให้เราไม่ใช่มากีดกัน" 

-
"คนจนเป็นคนที่ประหลาดประเภทหนึ่ง นโยบายที่ออกให้คนจน คนจนไม่ค่อยจะได้ เช่น สปก. 4-01 แต่ถ้าบอกว่า ออกเพื่อทุกคน คนจนจะได้ แต่กว่าจะได้ก็ยาก" 

-
นอกจากนี้ บารมีกล่าวถึงระบบการเลือกตั้ง ส.ส. จากเลือกโดยตรงกับบัญชีรายชื่อ เป็นแบบเลือกทางโกงให้คนแพ้ โดยยกตัวอย่างเปรียบเทียบกับการแข่งวอลเลย์บอลว่า แทนที่จะนับจำนวนเซ็ตแพ้-ชนะ เป็นการนับคะแนนรวม ซึ่งนั่นอาจทำให้ชนะกลายเป็นแพ้ได้ รวมถึงยังเปลี่ยนระบบเลือกตั้ง ส.ว. เป็นการแต่งตั้งด้วย

-
"นี่เป็นการปล้นการเลือก ส.ว.ไปจากมือ" 

-
อีกอย่างที่ลิดรอนสิทธิคนจนคือ ยุทธศาสตร์ประเทศ ถ้ามียุทธศาสตร์ 20 ปี พรรคการเมืองไม่ต้องหาเสียงแข่งกันเรื่องนโยบายอีก ก่อน 2540 นั้น รัฐบาลเอานโยบายสภาพัฒน์ฯ มาใช้ หลัง 2540 พรรคไทยรักไทยถึงได้เอานโยบายออกมาใช้ ตอนนี้จะกลับมาใช้ยุทธศาสตร์ชาติ ถามว่า 50 ปีที่ผ่านมาสร้างความฉิบหายให้ประเทศไม่พอหรือ การเกิดคนจน เกิดคนไร้ที่ดิน สลัม คือความล้มเหลวของสภาพัฒน์ และต่อไปก็จะเป็นแบบนั้น 

-
บารมี ชี้ว่า นอกจากรัฐธรรมนูญจะจำกัดสิทธิชาวบ้านแล้ว แล้วยังเพิ่มอำนาจราชการด้วย ก่อนหน้านั้น การต่อสู้ของสมัชชาคนจน ชัยชนะหนึ่งคือ ทำให้เกิดความเสมอหน้าระหว่างคนจนกับราชการ แต่คราวนี้ ข้าราชการจะกลับมาใหญ่ 

-
ประชาชนจะมีอำนาจได้ต้องมีการกระจายอำนาจ พูดถึงองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นไว้อย่างคลุมเครือ เพื่อที่พอจะร่างกฎหมายลูกแล้วจะได้สับสนขึ้น ไม่ได้พูดเรื่องกระจายอำนาจที่ระบุไว้ชัดเจน 

-
ถ้าไม่มีการกระจายอำนาจ สิทธิที่จะบอกว่าน่าจะได้ ไม่มีทางเกิด มันจะเกิดได้เมื่อเราสามารถควบคุมอำนาจในท้องถิ่นได้ ยกตัวอย่างกรณีเหมืองทอง ถ้าเหมือนสมัยก่อน สภาตำบล มีครู แพทย์ตำบล เกษตรตำบลเป็นกรรมการ เราไม่มีทางกำกับ-ปกป้องพื้นดินของเราได้เลย 

-
โดยสรุป ถ้าเลือกได้ ก็คงเลือกที่จะไม่รับร่างรัฐธรรมนูญนี้

-
บารมี ชัยรัตน์ ที่ปรึกษาสมัชชาคนจน

-
กล่าวในงานเสวนาวิชาการ "รัฐธรรมนูญกับประชามติที่เลือกได้"

Cr. Prachatai



ร่างรธน.ทรราช คสช.ทำคลอดรัฐบาลอ่อนแอ เจอแน่สังคม 'แก่ก่อนรวย'

ร่างรธน.ทำคลอดรัฐบาลอ่อนแอ เจอแน่สังคม 'แก่ก่อนรวย'
-
อภิชาต สถิตนิรภัย: 
-

เสวนาวิชาการ "รัฐธรรมนูญกับประชามติที่เลือกได้" ที่ห้องประชุมริมน้ำ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ อภิชาต สถิตนิรมัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึงแนวโน้มการมีรัฐธรรมนูญ ในขณะที่เศรษฐกิจอยู่ในสภาพกับดักรายได้ปานกลางว่า ร่างรัฐธรรมนูญจะส่งผลให้เกิดการทำคลอดรัฐบาลเป็ดง่อย เป็นรัฐบาลรักษาการถาวร

-
ทุกวันนี้ เราต้องการรัฐที่เข้มแข็งกว่ายุคสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ด้วยซ้ำ เพราะกระตุ้นเศรษฐกิจยากกว่า เราต้องการระบบราชการที่แข็งและมีประสิทธิภาพมากกว่ายุคสฤษฎ์ด้วยซ้ำ ต้องดูว่ารัฐบาลจะแก้ปัญหานี้ได้หรือเปล่า ปัญหาเร่งด่วนคือ ภายในปี 2564 คนอายุ 60 ขึ้นไปจะมี 14% และจะเป็น 20% ในปี 2570 เราจะกลายเป็นสังคมแก่ก่อนรอย ระบบสวัสดิการจะล่ม เราจะมีรายได้เพิ่มขึ้นเร็วทันหรือไม่ เราจะหลุดจากกับดักรายได้ปานกลางหรือไม่ จะทันเวลาที่เราก้าวเข้าสู่สังคมคนแก่โดยสมบูรณ์หรือไม่

-
หากลองดู รอบปี 2543-2553 ผลิตภาพ/ความสามารถในการผลิตในด้านแรงงาน เพิ่ม 2% เศษเท่านั้น เราจะกลายเป็น "สังคมแก่ก่อนรวยอย่างรวดเร็ว" เราจะรับมือกับการเปลี่ยนผ่านของโครงสร้างสังคมไม่ได้ รายงานแบบวงเวียนชีวิตอาจต้องเพิ่มมากขึ้น

-
เราจึงต้องการรัฐบาลที่เข้มแข็งและมีเสถียรภาพเพื่อขับเคลือนนโยบาย และระบบราชการที่มีประสิทธิภาพ แต่ระบบราชการไทยล้าหลังและตามโลกไม่ทัน ต้องการปฏิรูปขนานใหญ่ ซึ่งก็ต้องการรัฐบาลที่เข้มแข็ง
ทั้งหมดนี้เมื่อเทียบกับร่างรัฐธรรมนูญที่เราเห็น ถ้าร่างรัฐบาลผ่าน รัฐบาลที่จะเกิดขึ้นจะเป็นรัฐบาลอ่อนแอ อายุสั้น ไม่สามารถแก้ปัญหากับดักรายได้ปานกลาง เพราะการเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสมโดยตัวเองก็ไม่ก่อให้เกิดการแข่งขันเชิงนโยบาย เอื้อต่อพรรคขนาดกลาง การเลือกตั้งจะไม่เกิดการชนะแบบเบ็ดเสร็จ มีแนวโน้มสูงที่จะเป็นรัฐบาลผสมหลายพรรค ก่อนปี 2540 โอกาสที่จะแก้ปัญหาโครงสร้างทางเสรษฐกิจที่ยาก แทบเป็นไปไม่ได้เลย 

-
เพราะการยกระดับผลิตภาพ ความสามารถในการผลิตต้องอดทน วางแผนและปฏิบัติการยาว และร่างรัฐธรรมนูญฉบับนี้จะทำให้รบ.อายุสั้นไปอีก เช่น ความคลุมเครือในการพิจารณางบประมาณประจำปีที่นำไปสู่การถอดถอนได้ มาตรฐานจริยธรรมที่กำหนดโดยองค์กรต่างๆ รวมถึงศาล มันอาจนำไปสู่การส่งให้ศาลตัดสิน ศาลรัฐธรรมนูญสามารถตัดสินได้ว่ารัฐมนตรีไม่มีจริยธรรมเป็นที่ประจักษ์ซึ่งเป็นการตีความเชิงอัตวิสัยมาก

-
มันจะกลายเป็นรัฐบาลเป็ดง่อย รัฐบาลรักษาการถาวร ไม่สามารถล้มนโยบายเก่าหรือสร้างนโยบายเก่าได้ และยิ่งไม่มีทางปฏิรูประบบราชการได้
ร่างรัฐธรรมนูญนี้เป็นการฟื้นคืนชีพของระบบรัฐราชการ ทั้งที่พวกเราก็รู้อยู่เป็นอย่างดีว่าปัจจุบันราชการไล่ตามเอกชนไม่ทัน และการแก้รัฐธรรมนูญฉบับนี้ในอนาคตแทบเป็นไปไม่ได้เลย แม้ ส.ส. เกือบทั้งสภาเห็นชอบก็ยังทำไม่ได้เพราะต้องอาศัยเสียงเห็นชอบจาก ส.ว.แต่งตั้งจำนวนมาก และรัฐธรรมนูญที่แก้ได้ยากแบบนี้ไม่สามารถพัฒนาไปสู่การเป็นเครื่องมือที่รอมชอมกันได้ในทางการเมือง อาจนำสู่ความขัดแย้งสูงมากในทางการเมือง

-
"มองแบบนี้ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ในทัศนะของผม จึงเป็นตัวให้ความหวังว่าจะผลิตรัฐบาลที่มีประสิทธิภาพประสิทธิผลพอที่จะผลักดันสังคมหลุดจากกับดักรายได้ปานกลางได้ เราคงต้องเผชิญกับสภาพแก่ก่อนรวยไปก่อนแล้วกัน"

-
Cr Prachatai


NGO - นายหน้าค้าความเมตตาจอมปลอมของ ทรราช คสช.

NGO - นายหน้าค้าความเมตตาจอมปลอมของ ทรราช คสช.

---------------------------------------------------------------------------------

"ผมเรียกร้องให้ท่านเอ็นจีโอกลับมา หรือวันนี้บางท่านพร้อมเป็นนายหน้าค้าความเมตตาจอมปลอมของรัฐ" 

-
เดชรัต สุขกำเนิด คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ กล่าวในงานเสวนาวิชาการ "รัฐธรรมนูญกับประชามติที่เลือกได้" ที่ห้องประชุมริมน้ำ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ กล่าวว่า เผด็จการเชิงเครือข่ายในร่างรัฐธรรมนูญนี้มาชุดใหญ่ มาทุกจุด มาแบบ "ผ้าป่าสามัคคี" และจะอธิบายว่าทำไมเป็นอย่างนั้น เดชรัตกล่าวว่า เขาอยากพูดกับภาคประชาสังคมและองค์กรพัฒนาเอกชน หรือ เอ็นจีโอ ระหว่างที่เราคุยกันเรื่องนี้เขาก็มีการจัดกระบวนการประชาสัมพันธ์ร่างรัฐธรรมนูญและประชารัฐ โดยเอาภาคประชาสังคมเป็นแกนหลัก เช่น ครู ก. รวมถึงเอ็นจีโอเพื่อช่วยอธิบายข้อดีรัฐธรรมนูญ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องพูดคุยกับเอ็นจีโอ เพราะผมไปแอบส่องเฟซบุ๊กใครหลายคนเหมือนแต่งตั้งผมให้เป็น "นักวิชาการสายเอ็นจีโอ" 

-
ประเด็นแรก สิทธิเสรีภาพประชาชนหายไป น้องเพนกวินได้หยิบยกเรื่องสิทธิการเรียนฟรีที่หายไป สิ่งที่ผมอยากพูดคือ มันไม่ได้หายแค่สิทธิการได้เรียนฟรี เพราะรัฐธรรมนูญปี 2540, 2550 บอกว่าประชาชนมีสิทธิในการจัดการศึกษาด้วย เพราะการศึกษาเป็นเรื่องของสังคม ร่างมีชัยเขียนถึงบทบาทภาครัฐ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และเอกชน เมื่อทวงถามว่า ประชาชนหายไปไหน เขาก็บอกว่า ประชาชนคือเอกชน นอกจากนี้ยังเกิดเรื่องตลกขึ้นหลังเพนกวินจัดแคมเปญ ทั้งนายกฯและ รมว.ศึกษาธิการบอกว่าให้รับร่างรัฐธรรมนูญไปเถอะ รับไปแล้วรัฐบาลก็จะจัดการศึกษาฟรีให้ 15 ปีเหมือนเดิม 

-
นี่เขากำลังเล่นอะไร รับไปก่อนเดี๋ยวผมแถมให้ สิ่งเหล่านี้เรียกว่าอะไร กลุ่มการศึกษาเพื่อความเป็นไทก็สอบถามผม เรื่องนี้ผมขออนุญาตอ่านงานของเปาโล เฟรเร เรื่องการศึกษาของผู้ถูกกดขี่ ที่ว่า "เพื่อที่จะรักษาโอกาสในการแสดงความเมมตตาปราณีของผู้กดขี่ พวกเขาจำเปนต้องคงไว้ซึ่งโครงสร้างอันอยุติธรรม......" นี่คือความเมตตาปราณีที่รัฐบาลจะหยิบยื่นให้ และเป็นสาเหตุว่าทำไมผู้แจกจ่ายควาเมมตาปราณีจอมปลอมถึงต้องสู้ตายแม้แหล่งกำเนิดความเมตตาปราณีจอมแปลอมถูกคุมคามเพียงน้อยนิด เขาอยากให้เราสำนึกในบุญคุณของเขา มากกว่าสำนึกว่ามันเป็นสิทธิอันชอบธรรมของพวกเราเอง" 

-
รัฐธรรมนูญปี 2550 ยังกำหนดว่า "ผู้ยากไร้ ผู้พิการ ผู้ทุพลภาพ และผู้อยู่ในสภาวะยากลำบากต้องได้รับการเรียนฟรี 12 ปีและต้องได้รับการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาทัดเทียมกับบุคคลอื่น" ตรงนี้ไม่เข้าใจว่าร่างใหม่ตัดออกไปทำไม ตัดแล้วมันปราบโกงได้ดีขึ้นหรือ 

-
"ตอนนี้ผมทำงานกับเด็กที่อ่านหนังสือไม่ออก ผู้ที่มีความบกพร่องทางการเรียนรู้ เด็กจะมองซ้ายกับขวาสลับกัน แทนที่เราจะดูว่าเราจะแก้ปัญหาอย่างไร ในแต่ละประเทศจะมีคนกลุ่มนี้ประมาณ 10% แต่กระทรวงศึกษาธิการ เตรียมการทำในปีการศึกษาที่จะถึงคือ สอบตก ซ้ำชั้น"

-
ย้อนกลับมาดูในรัฐธรรมนูญ ประเด็นเล็กประเด็นน้อยหายไปหมด ผมอยากถามภาคประชาสังคมช่วยภาครัฐปชส.รัฐธรรมนูญอย่างขมีขมัน อยากถามว่าสิ่งเหล่านี้ยังมีความสำคัญกับคุณอยู่หรอืไม่ 

-
นอกจากนี้รัฐธรรมนูญ 2550 มีการระบุว่า ประชาชนเข้าชื่อ 20,000 คนถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งได้ ไม่เฉพาะนักการเมือง แต่นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี ส.ส. ส.ว. ประธานศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลปกครองสูงสุด อัยการสูงสุด ตุลาการ กกต. กรรมการตรวจเงินแผ่นดิน ฯลฯ ร่างฉบับมีชัยตัดออก กลัวประชาชนจะมีส่วนร่วมในการปราบโกง ให้เป็นหน้าที่ของ ปปช. และศาลรัฐธรรมนูญอย่างเดียว 

-
ประเด็นสุดท้ายองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือ อปท. เดิมทีสิทธิของประชาชนในการเข้าไปกำกับ อปท. มีอยู่ด้วยกันหลายข้อ หนึ่ง เราได้เลือกสมาชิกสภาฯ เราได้เลือกผู้บริหาร สาม เรามีสิทธิถอดถอน สี่ เรามีสิทธิร้องขอให้มีการออกข้อบัญญัติท้องถิ่น มีสิทธิร้องขอให้จัดรับทำความคิดเห็นประชาชน และประชามติเพื่อตัดสินใจในสิ่งที่กระทบชุมชน หายหมด เหลือแค่ ถอดถอนสมาชิกกับผู้บริหาร อปท. 

-
"เราไม่ได้มีโอกาสมีส่วนร่วมกับ อปท.อย่างที่เราเคยมี และเราถอดถอนได้แค่นายก อบต.ของเรา แต่ไม่รวมถึง ประธานศาลฎีกา ศาลรัฐธรรมนูญ อันนั้นเราได้แต่กระพริบตา"
-

"อำนาจของอปท.ก็หายไปด้วย เช่น การเข้าไปมีส่วนร่วมบำรุงรักษาธรรมชาตินอกเขตพื้นที่ซึ่งมีผลกระทบกับระชาชนในพื้นที่ พูดง่ายๆ ถ้าอบต.บ้านคุณบารมีทำเหมืองทอง แต่ผมอยู่ปลายน้ำ อบต.ผมมีอำนาจเข้าไปดูแล แม้ว่าเหมืองอยู่ในเขตอบต.คุณบารมี ตรงนี้หายไหมด"
-

นอกจากนี้ยังตัดของเดิมแล้วเขียนใหม่ว่า "ผู้บริหารท้องถิ่นได้มาจากการเลือกตั้งหรือวิธีอื่น" แปลว่าต่อไปจะมี อปท.แบบพิเศษที่ไม่จำเป็นต้องมีผู้บริหารที่มาจาการเลือกตั้งและไม่จำเป็นต้องมีสภาท้องถิ่น สามารถแต่งตั้งมาโดยตรง

-
"ถามว่าดีไซน์ไว้สำหรับอะไร ผมเดาว่า เพราะผู้ร่างรัฐธรรมนูญนี้ก็เป็นผู้ร่าง พ.ร.บ.ปี 2548 คือ เขตเศรษฐกิจพิเศษ นี่ใช่ไหมที่ภาคประชาสังคมห่วงเรื่องเขตเศรษฐกิจพิเศษ แต่สุดท้ายพอร่างออกมา ผมอยากถามองค์กรพัฒนาเอกชนบางแห่งที่ร่วมกับรัฐประชาสัมพันธ์รัฐธรรมนูญว่า ได้อ่านรัฐธรรมนูญไหม ได้เข้าใจไหมว่าสิทธิเสรีภาพประชาชนหายไป หรือท่านอย่ากมีส่วนร่วมในการแจกจ่ายความเมตตาปราณีของภาครัฐ ผมอยากเรียกร้องให้ท่านกลับมา เราเคยต่อสู้ร่วมกนในการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพของประชาชน ตั้งแต่สมัยสมัชชาคนจน....เรายังจำวันนั้นได้ไหม เรายังจะยืนเคียงข้างเพื่อต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพของประชาชนไหม หรือวันนี้บางท่านพร้อมแล้วที่จะเป็นนายหน้าสำหรับความเมตตาปราณีอย่างจอมปลอม"
-
Cr.Prachatai



WHY DOES THAILAND NEED AN ARMY?

WHY DOES THAILAND NEED AN ARMY?

Giles Ji Ungpakorn
-
In a recent newspaper column Ajarn Niti Eauwsiwong posed the question: "what is the purpose of having the military?" Naturally, this provoked a storm of abuse from the rather dim Generalissimo and his various underlings. Prayut lost it again (has he ever not lost it?) and shouted that the military were there so that "dogs" like those in academia and the media could ask the question.
-
Some people have mistakenly characterised the military, in the case of the authoritarian regimes like Suharto's Indonesia or Burma, as a "state within a state". This is misleading and not actually true. The assumption is that the military have somehow "usurped" state power. However, the military, or the "special bodies of armed men", are an integral part of the modern capitalist state and this state can take many political forms. In the recent past, states in Western Europe have been both democratic and authoritarian. Spain, Italy and Germany were once fascist dictatorships.
-
The dominance of the military in the political control of the state in Suharto's Indonesia or in Burma is not a deviation from the capitalist state form, it is just one form which reflects the weakness of other competing ruling class factions in the face of tensions and crises within society.
-
Today, Thailand is ruled by a military dictatorship and even when the military are not in government they have had varying degrees of influence. But never imagine for a moment that Prayut would be able to stage his military coup and cling on to power if he did not have the backing of other sections of the Thai ruling class; the capitalists and elite bureaucrats. Together with the military generals these elites form the ruling class. They are both a bunch of rival factions but also united in their determination to cling to class power. The King is their symbol to socialise class unity and nationalism among the citizens over whom they rule. When socialisation does not work they use lèse-majesté or brute force.
-
Recently the generals have been barking, in response to Ajarn Niti's question, that the military is "the fence" guarding the country. The problem is that ordinary citizens are not located within such a fence. It is exclusively for the ruling class. What is more, the Thai military has failed abysmally to ever defend the country from outside invasion. In the Second World War they quickly surrendered to the Japanese. In the time of imperialist expansion, they were powerless in the face of the British and the French.
-
So what is the purpose of the Thai military?
-
The short answer is that it has two main functions.
-
The first function is to protect ruling class rule from challenges by mass movements to expand the democratic space. All the weapons, tanks and other military equipment used by the military have been used in anger against citizens. In Bangkok they shot down demonstrators in 1973, 1976, 1992 and 2010. They have waged a civil war against the communists who sought a more egalitarian society and they are currently engaged in a vicious war in the Patani to prevent Malay Muslim self-determination. They have also occasionally staged military coups in order to "hold the line" against civilian political threats. But more often than not military coups have been about military self-interest, which brings me to the military's second purpose.
-
The second purpose of the Thai military is to satisfy the sheer greed of the officer corps. Even when not in political power, the military provides rich and corrupt pickings for those in the top ranks. Corruption from weapons purchases, excess state funds for military activities and the chance to sit on the executive boards of state enterprises, all go to lining their pockets. Add to this the illegal trade in narcotics, human trafficking and other mafia type activities. And when they are in political power like now, the opportunities for enrichment are unlimited.
-
The effect of this nasty parasitic organisation is to act as a barrier to political progress and to divert important resources from the health, education and general well-being of most citizens.




6 ปี"ราชประสงค์" ที่นี่...ทหารฆ่าประชาชน.


6 ปี"ราชประสงค์" ที่นี่...ทหารฆ่าประชาชน.
jom voice

Published on May 19, 2016

รายการ เสียงไทย เพื่อเสรีภาพคนไทย ( Thaisvoicemedia ) ขอร่วมสดุดีและร่วมรำลึก วีรชนประชาธิปไตยนิรนาม ที่บาดเจ็บ ล้มตาย จากฝีมือการเข่นฆาของทหาร ในเหตุการณ์สลายการชุมนุม ที่ ราชประสงค์ เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม 2553 ที่ผ่านมา ด้วยบทเพลง "นักสู้ธุลีดิน" ของ จิ้น กรรมาชน.

ทรราช คสช. “ช็อปกระจาย” อาวุธค่ายจีน-รัสเซีย

จับตารัฐบาลทรราช คสช. "ช็อปกระจาย" อาวุธค่ายจีน-รัสเซีย จัดหนักทั้งรถถังและเฮลิคอปเตอร์!!! ผลาญงบประมาณ หลายหมื่นล้านบาท อีกทั้งรอคิว เรือดำน้ำอีก 3 .3 หมื่นล้าน ในขณะที่ ประชาชนทั้งประเทศ อดอยาก ยากจน

----------------------------------------------------------------------------

Y BOURNE

ON MAY 18, 2016

Ispace thailand

-
เป็นข่าวลือกันมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้วสำหรับการจัดซื้ออาวุธล็อตใหม่ของกองทัพไทย ก่อนจะเป็นที่ชัดเจนโดยการยืนยันจาก พล.อ.ธีรชัย นาควานิช ผบ.ทบ. ว่ากองทัพบกได้เสนอโครงการจัดซื้อเฮลิคอปเตอร์แบบ Mi-17V5 จากรัสเซีย และรถถังแบบ VT-4 จากประเทศจีนมาใช้งาน โดยอยู่ในขั้นตอนการขออนุมัติจากคณะรัฐมนตรี

-
"ผมเชื่อมั่นกับราคาคุณภาพและประสิทธิภาพของรถถัง vt-4 ของจีนว่ามีความเหมาะสมโดยผ่านคณะกรรมการของกองทัพบก ผมไม่ได้ดูคนเดียว ซึ่งผมส่งเจ้าหน้าที่ไปดูหลายรอบ ทั้งทหารม้าและทุกๆ ส่วนไปร่วมกันพิจารณา" พล.อ.ธีรชัย กล่าว

-
กองทัพบกได้เสนอความต้องการ ฮ.แบบ Mi-17V5 ไปทั้งหมด 12 ลำ โดยคาดว่าจะมีการสั่งซื้อเป็นงบผูกพัน 3 ปี ปีละ 4 ลำ ด้านรถถัง VT-4 จากจีนนั้น ยังไม่มีการเปิดเผยรายละเอียดจำนวน และราคาที่แน่ชัด แต่มีรายงานจากแหล่งข่าวต่างประเทศว่ากองทัพบกมีการสั่งซื้อรถถัง VT-4 ล็อตแรกจำนวน 28 คัน โดยความต้องการรถถังเพื่อทดแทนรถถังรุ่นเก่าของกองทัพไทยนั้นมีประมาณ 150-200 คัน
-

สำหรับโครงการจัดซื้อรถถัง VT-4 จากจีนนั้น ถือเป็นการสั่งซื้อรถถังหลักครั้งที่สองในรอบ 5 ปี หลังจากที่รัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้อนุมัติการสั่งซื้อรถถัง T-84 Oplot-M จากประเทศยูเครน จำนวน 49 คัน โดยอนุมัติในวันที่ 3 พฤษภาคม 2554 ภายใต้วงเงินงบประมาณ 7,200 ล้านบาท

-
โดยรถถัง Type 69II นั้นก็เป็นรถถังที่จีนก็อปปี้มาจากรถถังแบบ T-59 ของโซเวียตอีกทีหนึ่ง และหลังจากที่ได้รับของราคาถูก Made in China มาแล้ว ก็ทำให้กองทัพไทยรู้ว่าของถูกและดีมันไม่ได้มีเสมอไป เพราะรถถังจีนรุ่นดังกล่าวประสบปัญหาการซ่อมบำรุงทั้งเครื่องยนต์ และอะไหล่อย่างมาก ถึงขนาดเคยจอดพังยกกองพันกันมาแล้ว แม้ว่าต่อมาจีนจะมีการซ่อมบำรุงให้โดยไม่คิดมูลค่า ทำให้กลับมาใช้งานได้จำนวนหนึ่ง แต่สุดท้ายก็ต้องปลดประจำการไปอยู่ดี โดยภารกิจสุดท้ายของรถถัง Type 69II ของไทยก็คือ การส่งมอบรถถังดังกล่าวจำนวน 25 คันให้แก่กรมประมงเพื่อใช้ทิ้งลงใต้ทะเลเป็นแนวปะการังเทียม!!!
-

ในขณะที่รถถัง T-59 ของโซเวียตต้นแบบนั้นมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน แม้จะต้องซ่อมบำรุงแต่ก็ยังมีความพร้อมรบที่สูงกว่า ยกตัวอย่างเช่น รถถัง T-59 ของกัมพูชา ที่ยังคงประจำการและมีความพร้อมรบอยู่ในปัจจุบัน
-

นอกเหนือจากรถถังและเฮลิคอปเตอร์แล้ว กองทัพอากาศไทยก็ยังมีแผนการจะจัดหาเครื่องบินรบเพิ่มเติม โดยสำนักข่าวซินหัว(Xinhua) รายงานว่ากองทัพอากาศไทยอาจมีการสั่งซื้อเครื่องบินรบแบบ JAS 39 Gripen เพิ่มอีก 4 ลำ ซึ่งเรื่องดังกล่าวได้ถูกปฏิเสธจากคณะทูตสวีเดนประจำประเทศไทย และยังถูกต่อต้านจาก NGO ภายในประเทศของสวีเดนอีกด้วย โดยเฉพาะประเด็นการขายอาวุธให้แก่ประเทศที่ไม่ได้ปกครองในระบอบประชาธิปไตย ซึ่งรายได้จากการขายอาวุธก็คือเงินภาษีจากประชาชน ซึ่งกำลังถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนในประเทศไทย
-

อย่างไรก็ตามในขณะนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ก็กำลังอยู่ในระหว่างการเยือนประเทศรัสเซีย โดยพล.อ.ประยุทธ์ ระบุว่าการซื้ออาวุธ เป็นหนึ่งในประเด็นที่จะมีการพูดคุยกับรัสเซีย

-
แน่นอนว่าการซื้ออาวุธให้กับกองทัพเพื่อทดแทนอาวุธเก่าที่เสื่อมสภาพ ย่อมเป็นสิ่งที่มีความจำเป็น แต่ความโปร่งใสตรวจสอบได้ ประสิทธิภาพ ใช้งานได้จริงก็ถือเป็นปัจจัยสำคัญที่ต้องพิจารณาเช่นกัน นอกจากนี้การใช้งบประมาณเพื่อการซื้ออาวุธในช่วงที่ประเทศกำลังประสบปัญหาเศรษฐกิจเช่นนี้ ก็ยิ่งต้องพิจาณาถึงความจำเป็นด้วย เพราะภัยที่ประเทศกำลังประสบคือปัญหาเศรษฐกิจ และปากท้องของประชาชน ซึ่งปัญหาดังกล่าวไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยอาวุธ!!!

-
Reference

-

Friday, May 20, 2016

“รัฐธรรมนูญกับประชามติที่เลือกได้”

"รัฐธรรมนูญกับประชามติที่เลือกได้"
https://www.youtube.com/watch?v=nxtDrJFhMs4&feature=youtu.be


การสตรีมเริ่มต้นเมื่อ 1 ชั่วโมง ที่ผ่านมา


เสวนาทางวิชาการ "รัฐธรรมนูญกับประชามติที่เลือกได้"


วันเสาร์ที่ 21 พฤษภาคม 2559 เวลา 13.00-16.30 น.


ณ ห้องอเนกประสงค์ริมน้ำ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์

บรรยายพิเศษ เรื่อง "ทำไมต้องมีรัฐธรรมนูญ"


โดย ศาสตราจารย์ ดร.ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ

เสวนาวิชาการ เรื่อง "รัฐธรรมนูญกับประชามติที่เลือกได้"
โดย ศ.ดร.เกษียร เตชะพีระ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ 
รศ.ดร.อภิชาต สถิตนิรามัย คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
นายบารมี ชัยรัตน์ สมัชชาคนจน
ดร.เดชรัต สุขกำเนิด คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
รศ.สมชาย ปรีชาศิลปกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ดำเนินรายการโดย ผศ.ดร.พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


บรรยายพิเศษ "ร่างรัฐธรรมนูญในทัศนะของคณะนิติราษฎร์"
โดย ผศ.ดร.ปิยบุตร แสงกนกกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อ.ปูนเทพ ศิรินุพงศ์ คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์


จัดโดย


โครงการบัณฑิตศึกษา คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล
โครงการรัฐศาสตร์เสวนา หลักสูตรการเมืองและการจัดการปกครอง ภาควิชาปกครอง คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
สมาคมรัฐศาสตร์แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

คำมั่นสัญญาของรัฐบาลทรราช คสช.ที่จะคุ้มครองเสรีภาพการแสดงออกของประชาชนไทย แต่……….หลอกลวง

คำมั่นสัญญาของรัฐบาลทรราช คสช.ต่อประชาคมระหว่างประเทศที่จะคุ้มครองเสรีภาพการแสดงออกของประชาชนไทย แต่..........หลอกลวง

------------------------------------------------------------------------------


ยูพีอาร์เป็นกลไกยูเอ็น แต่ขับเคลื่อนด้วยประชาชนในประเทศ

อกนิษฐ์ หอรัตนคุณ
แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนล ประเทศไทย
เผยแพร่ครั้งแรกใน "มติชนสุดสัปดาห์" วันที่ 20 พ.ค. 2559

          ผ่านไปแล้วสำหรับเวทีการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนหรือยูพีอาร์  (UPR – Universal Periodic Review) รอบประเทศไทย โดยรัฐสมาชิกยูเอ็นมากกว่า 100 ประเทศ ที่คณะมนตรีสิทธิมนุษยชน กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ และเมื่อวันศุกร์ที่ 13 พฤษภาคม รัฐบาลไทยได้ตอบรับให้คำมั่นสัญญาว่าจะปฏิบัติตามข้อเสนอแนะ 181 ข้อ ที่รัฐบาลประเทศอื่นเสนอให้ไทยปฏิบัติตามเพื่อยกระดับการคุ้มครองสิทธิมนุษยชน ไทยรับข้อเสนอแนะที่สำคัญ เช่น ผ่านกฎหมายเพื่อปราบปรามการทรมานและอุ้มหาย ให้สัตยาบันอนุสัญญาเลือกรับเรื่องต่อต้านการทรมาน คุ้มครองสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก การชุมนุมอย่างสงบ และเสรีภาพสื่ออย่างเต็มที่ คุ้มครองนักปกป้องสิทธิมนุษยชน ออกแผนการระดับชาติเพื่อให้ภาคธุรกิจและบรรษัทคุ้มครองสิิทธิมนุษยชน รวมถึงการกระจายการศึกษา กำจัดความยากจน เข้าถึงสาธารณสุข และคุ้มครองกลุ่มบุคคลเปราะบาง

          อย่างไรก็ดี ยังมีข้อเสนอแนะอีก 68 ข้อ ที่คณะผู้แทนไทยยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะรับไปทำหรือไม่ ส่วนใหญ่เป็นประเด็นเผือกร้อนและเป็นเรื่องสิทธิพลเมือง ที่น่าสนใจ เช่น การไม่นำพลเรือนขึ้นศาลทหาร การแก้ไขหรือยกเลิกคำสั่งคสช. ต่างๆ โดยเฉพาะคำสั่งที่ 3/2558 และ 13/2559 การทบทวนแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเสรีภาพการแสดงออก การยกเลิกการควบคุมตัวโดยพลการหรือมาตรการปรับทัศนคติ การยกเลิกโทษประหารชีวิต และการให้สถานะผู้ลี้ภัย รัฐบาลไทยมีเวลาเหลือน้อยกว่าสี่เดือนในการให้คำตอบก่อนจะถึงวาระการประชุมนัดหน้าที่คณะมนตรีฯ ในเดือนกันยายน

          ผู้เขียนพอจะมีข้อสังเกตดังนี้

ยูพีอาร์คือการเมืองระหว่างประเทศ

          ข้อเสนอแนะจากรัฐบาลประเทศต่างๆที่มีต่อไทย แน่นอนว่าใช้กรอบมาตรฐานสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศเป็นตัวตั้ง แต่การสร้างข้อเสนอแนะต่างๆอยู่บนพื้นฐานของการเมืองระหว่างประเทศ ความสัมพันธ์ ผลประโยชน์ และยุทธศาสตร์ระหว่างประเทศของรัฐบาลต่างๆที่มีต่อไทยทั้งในทางการเมืองและเศรษฐกิจ สมดุลอำนาจ รวมถึงจุดยืนทางการเมืองระหว่างประเทศและประวัติศาสตร์การเมืองของประเทศนั้นๆเอง เป็นเวทีที่น่าสนใจสำหรับศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศต่างๆที่มีต่อไทย

          เมื่อกวาดตาในภาพรวม เราพอจะเห็นบล็อกของกลุ่มประเทศต่างๆ ต่อจุดยืนทางการเมืองและสิทธิมนุษยชนที่มีต่อความสัมพันธ์กับไทย เช่น กลุ่มประเทศตะวันตก โดยเฉพาะประเทศเครือสหภาพยุโรปและสหรัฐฯ ที่แน่นอนว่ามาพร้อมกับข้อเสนอแนะที่เข้มข้น โดยเฉพาะเรื่องสิทธิพลเมืองภายใต้รัฐบาลทหาร กลุ่มประเทศอาเซียนและเอเชียที่ให้ข้อเสนอแนะด้านสิทธิทางเศรษฐกิจและสังคม และไม่ก้าวก่ายเรื่องสิทธิพลเมืองมาก ยกเว้นบางประเทศ เช่น ญี่ปุ่นหรือเกาหลีใต้ แน่นอนว่าส่วนหนึ่งมาจากความสามารถในการทำงานสร้างความสัมพันธ์ของสถานทูตไทย แต่ที่ผู้เขียนสนใจคือกลุ่มประเทศแอฟริกา เช่น คองโก เซียร์ร่าลีโอน หรือบอตสวานา และกลุ่มประเทศละตินอเมริกา เช่น คอสตาริกา ชิลี หรือโคลอมเบีย ที่ให้ข้อเสนอแนะที่เข้มข้นในเรื่องสิทธิพลเมือง โดยเฉพาะการคุ้มครองเสรีภาพการแสดงออกและเสรีภาพสื่อ แสดงถึงการที่กลุ่มประเทศเหล่านี้ให้ความสำคัญกับสถานการณ์ภายใต้รัฐบาลทหารของไทย ที่มาจากพื้นฐานทางการเมืองของประเทศเหล่านี้เอง และระดับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับไทย

คำมั่นสัญญาที่จะคุ้มครองเสรีภาพการแสดงออกและการทรมาน

          หลายประเทศในเวทีคณะมนตรีฯ อาทิ ออสเตรีย เกาหลีใต้ และสาธารณรัฐเชค แสดงความกังวลเรื่องบรรยากาศเสรีภาพการแสดงออกก่อนการลงประชามติร่างรัฐธรรมนูญที่จะมีขึ้นในเดือนสิงหาคม และการข่มขู่และคุกคามนักกิจกรรม นักปกป้องสิทธิมนุษยชน และนักข่าว สิ่งที่เกิดขึ้นคือ คณะผู้แทนไทยตอบรับข้อเสนอแนะที่มาจากมากกว่า 10 ประเทศ ว่าด้วยการคุ้มครองสิทธิที่จะเสรีภาพในการแสดงออก การแสดงความคิดเห็น และเปิดเสรีภาพการดีเบทโต้เถียงในบรรยากาศก่อนการลงประชามติ รวมถึงในช่วงสี่ปีครึ่งนับจากนี้จนถึงยูพีอาร์รอบหน้า นับเป็นการแสดงคำมั่นสัญญาของรัฐบาลไทยต่อประชาคมระหว่างประเทศที่จะคุ้มครองเสรีภาพการแสดงออกของประชาชนไทย ซึ่งข้าราชการและเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องต้องทำงานกับหน่วยงานและเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมาย เพื่อแสดงให้เป็นที่ประจักษ์ต่อประชาคมระหว่างประเทศถึงคำมั่นสัญญาของคณะผู้แทน

          อย่างไรก็ดี ยังมีข้อเสนอแนะเป็นจำนวนมากในเรื่องสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออกที่ยังรอการตัดสินใจจากรัฐบาลไทย เช่น ข้อเสนอจากเยอรมัน ไอซ์แลนด์ ลัตเวีย สวีเดน หรือสเปน ในเรื่องการปรับแก้ไขกฎหมายภายในที่ยังไม่เป็นไปตามพันธกรณีสิทธิมนุษยชนระหว่างประเทศที่ไทยเป็นรัฐภาคี โดยเฉพาะการแก้ไขกฎหมายว่าด้วยการหมิ่่นประมาทที่นำไปสู่โทษอาญา เช่น มาตรา112 (หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ) 116 (ยุยงปลุกปั่น) 326 และ 328ของประมวลกฎหมายอาญา และพรบ. อาชญากรรมคอมพิวเตอร์ เนื่องจากกฎหมายเหล่านี้มีความเสี่ยงที่อาจถูกนำไปใช้เป็นเครื่องมือ เพื่อคุกคามหรือหยุดยั้งนักกิจกรรม นักปกป้องสิทธิมนุษยชน และกลุ่มบุคคลที่เห็นต่างจากรัฐบาล แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชันแนลเองเรียกร้องให้ไทยยกเลิกหรือแก้ไขกฎหมายที่ว่าด้วยการหมิ่นประมาทดังกล่าวที่ไม่ควรเป็นโทษอาญา

          เป็นที่แน่นอนว่า หากไทยประกาศไม่รับข้อเสนอแนะที่ยังเหลือว่าด้วยการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวที่ไม่เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิที่จะมีเสรีภาพในการแสดงออก ย่อมทำให้ข้อเสนอแนะที่ไทยประกาศรับไปแล้วในเรื่องการคุ้มครองเสรีภาพการแสดงออกและเสรีภาพสื่อก่อนหน้า ไม่สอดคล้องและไม่เป็นไปในทิศทางเดียวกัน

          อย่างไรก็ดี การที่เจ้าหน้าที่จากกระทรวงยุติธรรมได้กล่าวถ้อยแถลงในที่ประชุมคณะมนตรีฯ ว่าไทยตั้งใจที่จะผ่านร่างพรบ.ปราบปรามการทรมานและอุ้มหาย เป็นสิ่งที่ช่วยสร้างสมดุลในทางสร้างสรรค์แก่คณะผู้แทนไทย และเป็นไปตามข้อเสนอแนะจากหลายประเทศในเรื่องการปราบปรามการทรมาน อย่างไรก็ดี ร่างพรบ.ฉบับดังกล่าวในปัจจุบันขณะที่บทความนี้กำลังร่าง (15 พฤษภาคม) ยังไม่ผ่านการตัดสินใจของคณะรัฐมนตรีและสภานิติบัญญัติแห่งชาติ และองค์ประกอบของคณะกรรมการฯที่ร่างพรบ.นี้จัดตั้งขึ้นเพื่อตรวจสอบและสอบสวนการทรมาน ยังไม่มีความเป็นกลางและเป็นอิสระตามที่อนุสัญญาต่อต้านการทรมานระบุข้อกำหนดไว้

ยูพีอาร์เป็นกลไกยูเอ็นแต่ขับเคลื่อนด้วยประชาชนในประเทศ

          แน่นอนว่ายูพีอาร์เป็นกลไกทางการเมืองที่ใช้แรงกดดันจากรัฐสมาชิกยูเอ็นในการให้ข้อเสนอแนะต่างๆแก่รัฐบาลไทย ซึ่งไม่มีผลผูกมัดทางกฎหมายระหว่างประเทศ การที่กลไกที่มีลักษณะการทูตเช่นนี้จะสร้างความเปลี่ยนแปลงในทางรูปธรรมได้ เป็นที่แน่นอนอย่างน้อยสำหรับผู้เขียนว่า ยูพีอาร์ต้องขับเคลื่อนด้วยประชาชนในประเทศเป็นสำคัญ ความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดที่ผู้เขียนสังเกตได้ระหว่างยูพีอาร์รอบที่แล้วเมื่อปี 2555 กับรอบนี้ นอกจากสถานการณ์ทางสิทธิมนุษยชนในไทยที่เปลี่ยนแปลงไปมากแล้ว ในรอบนี้มีคนหลายกลุ่มในประเทศไทยที่ให้ความสนใจยูพีอาร์ อาทิ มีกลุ่มหรือองค์กรในประเทศจัดงานถ่ายทอดสดเวทีคณะมนตรีฯ ในจังหวัดต่างๆ เช่น ปัตตานี เชียงใหม่ และกรุงเทพฯ สื่อมวลชนให้ความสนใจและรายงานความเคลื่อนไหวจากเวทีดังกล่าว ผู้ใช้โซเชียลมีเดียแชร์เรื่องราวให้เพื่อนในโลกออนไลน์อ่าน ปรากฎการณ์เหล่านี้เป็นสิ่งที่ไม่ได้เกิดขึ้นอย่างเด่นชัดในยูพีอาร์รอบแรก การดึงกลไกยูเอ็นระดับเจนีวาลงมาสู่ประเทศไทย เป็นกุญแจสำคัญในการทำให้กลไกการทูตเช่นนี้สร้างผลกระทบในทางรูปธรรมได้

          สิ่งที่ประชาชนอย่างผู้เขียนและคุณผู้อ่านทำได้ก่อนคือ ติดตามในช่วงเดือนพฤษภาคมถึงกันยายนที่จะถึงว่า รัฐบาลไทยจะรับข้อเสนอแนะเพื่มเติมอีก 68 ข้อหรือไม่ ถ้าไม่รับข้อใด รัฐบาลไทยต้องมีคำอธิบายชี้แจงอย่างละเอียดว่าเหตุใดถึงรับไม่ได้ และกำหนดกรอบระยะเวลาในการลงมือปฏิบัติตามข้อเสนอแนะแต่ละข้อ ที่น่าสนใจคือ ข้อเสนอแนะว่าด้วยสิทธิพลเมืองหลายข้อที่ยังเหลือค้างอยู่นั้น หลายข้อไม่จำเป็นต้องใช้ทรัพยากรทางการเงินเพิ่มเติมอย่างสำคัญ แต่ใช้ความเป็นผู้นำทางการเมืองที่ดีในการตัดสินใจ และใช้ความตั้งใจของเจ้าหน้าที่บังคับใช้กฎหมายที่จะคุ้มครองสิทธิมนุษยชนแก่ประชาชนไทย

          โดยคุณสามารถเสิร์ชกูเกิ้ลได้นับแต่ตอนนี้ ลงคีย์เวิร์ด "UPR Thailand" เลือกลิ้งก์ที่ขึ้นเป็นอันดับแรกของ OHCHR (สำนักข้าหลวงใหญ่เพื่อสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ) เพียงเท่านี้ คุณก็เข้าถึงเอกสารและคลิปวีดีโอที่วีดีโอที่เกี่ยวข้องทุกชิ้นและติดตามกระบวนการยูพีอาร์ได้นับแต่บัดนี้กระบวนการยูพีอาร์ได้นับแต่บัดนี้

          วีดีโอที่เกี่ยวข้องทุกชิ้น และติดตามกระบวนการยูพีอาร์ได้นับแต่บัดนี้




ไอ้ตูบ ประยุทธ์ ตอแหล เศรษฐกิจถือว่าเป็นขึ้นสูงสุดในรอบ 3 ปี

ไอ้ตูบ ประยุทธ์ กล่าวถึงภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันว่า มีแนวโน้มเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง อัตราการเติบโตเฉพาะไตรมาสแรกของปีนี้อยู่ที่ 3.2% ถือว่าขึ้นสูงสุดในรอบ 3 ปี โว..ทั้งที่เศรษฐกิจโลกก็ยังมีปัญหา 
-

ทั้งเห่าหอน ตามประสาหมาจรจัด ว่า ถ้าย้อนกลับไปช่วงก่อนที่ ทรราช  คสช.เข้ามายึดอำนาจ ทำรัฐประหาร ยังเป็นอัตราติดลบอยู่  ทั้งมโน แสดงว่า รัฐบาลทรราช คสช.กำลังแก้ปัญหาได้ค่อนข้างจะถูกวิธีแล้ว 
-

ไอ้ตูบ ยังโกหก ตอแหล ต่ออีกว่า ถือว่าเป็นข่าวดี โดยเชื่อว่ากลไกประชารัฐเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อน เรื่องนี้ตนเป็นคนสั่งให้เกิดขึ้นมาเอง ทั้งนี้ ภาคธุรกิจขนาดใหญ่ โดยเฉพาะธุรกิจข้ามชาติที่คนมองว่าเอื้อประโยชน์ ซึ่งมันเป็นเรื่องของอดีตที่ผ่านมาก็ว่าไป 
-

วันนี้ต้องนำเขากลับมาเพื่อจะส่งเสริมภาคประชาชนให้ได้ เอาเอกชนนักธุรกิจเข้ามาจัดคณะทำงานแล้วก็มาขับเคลื่อนจะเห็นได้ว่าวันนี้มีการจัดตั้ง บริษัทประชารัฐส่วนกลาง และส่วนประจำพื้นที่ ปีนี้ต้องมีครบทุกจังหวัด เพื่อเป็นช่องทางทางการตลาด แล้วก็การสร้างความเข้มแข็งให้กับประชาชน แต่ช่วงแรกนี้ภาคธุรกิจเอกชนก็จะมาช่วยให้บริหารในระยะแรกแล้วก็การลงทุนจะเป็นของภาคประชาชน ในสัดส่วนที่เหมาะสม และวันหน้าก็จะถอนตัวออกไป อย่าไปกลัวว่าเขาจะมารวบรวมผลประโยชน์ของประชาชน มาหลอกกันอีก ซึ่งเขาทำไม่ได้ เพราะตนไม่ให้ทำ  ไอ้ตูบเห่า
-

หากเรามาย้อยดู ความฉิบหาย ที่ ทรราช คสช. ได้สร้างไว้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ค่าดำเนินการ หรือค่าที่ปรึกษา ในการซื้ออาวุธ สงคราม จาก รัฐเซีย หรือ รถถังจากจีน ก็ล้วนแล้วแต่ เป็นการโกงชาติ และถือว่าเป็นการ คอรัปชั้น อย่างเห็นได้ชัด ในขณะที่ ประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ยังอดยาก อยากจน และไร้ซึ่ง หลักสวัสดิการสังคม ที่ พึงจะได้รับ
-

การโหกหตอแหลของ ไอ้ตูบ ดูเหมือนจะสร้างลอยด่างใว้ให้กับ กองทัพ บก  อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ และชาติจะถึงจารึก ความระยำของ ทรราช คสช. อีกนานเท่านาน ถึงแม้ว่า จะมีการปิดกั้น ในข้อมูลข่าวสาร ในการตรวจสอบ แต่ ก็เป็นที่รู้วันว่า ราคาที่ ไอ้ตูบจัดซื้ออาวุธ ด้วยข้ออ้างว่า เรายังผลิตเองไม่ได้ นั้น แพงกว่าท้องตลาดถึง 187 % 
-

หันมามอง ภาวะเศรษฐกิจ ต่ำดิ่งอย่างไม่เคยปรากฏมาก่อน ในรอบ 50 ปี 
-

เรื่องการบริหารเศรษฐกิจของทรราช คสช.เรียกได้ว่า มีอำนาจ และโอกาสในการใช้อำนาจนั้น สร้างสรรค์สิ่งดีงามให้กับประเทศไทย แต่เอาเข้าจริง บริหารแบบ หมาไม่แดก 
-

รัฐบาลทรราช คสช. ใช้เสียงข้างมากในสภาที่มีพฤติกรรมเผด็จการรัฐสภา ใช้อำนาจบาตรใหญ่แก้ไขกฎเกณฑ์ จ้องแก้กฎหมาย แล้วออกนโยบายมาทำลายโครงสร้างเศรษฐกิจหลายๆ เรื่องจนล้มเหลวไม่เป็นท่า
-

ทรราช คสช.ฝ่ายเศรษฐกิจ  มีการออกประกาศฉบับที่ 75/2557 ตั้ง"คณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ" หรือ SUPER BOARD ที่จะเข้ามาทำหน้าที่กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจไทยทั้ง 56 แห่ง เรื่องนี้รัฐบาลพรรคผสมสามารถทำได้แต่เป็นไปได้ยาก เพราะมีอุปสรรคในการฝ่า"ด่านการเมือง" จนอาจทำให้ความยากนั้นแทบเป็นไปไม่ได้เลย 

   -             
หลายๆอย่างที่ซูเปอร์บอร์ด(บอด)สามารถทำได้เมื่อมีการแต่งตั้งแล้วคือ การมีหลักการบริหารวางรากฐานให้ดี ทบทวนบทบาท"ทุกรัฐวิสาหกิจ" เพราะหลายรัฐวิสาหกิจตั้งขึ้นด้วยพรบ.ที่ล้าสมัย หลายแห่งไม่จำเป็นต้องมีอีกต่อไปแล้ว หลายแห่งต้องปฏิรูป หลายแห่งควรเป็นผู้แข่งขันเต็มตัวกับเอกชน ทั้งนี้ขึ้นกับบทบาทของแต่ละรัฐวิสาหกิจต่อการบริการประชาชน และหลายแห่งไม่ได้มุ่งทำงานตามพันธกิจขององค์กร เอาง่ายๆ ธอส.เน้นสงเคราะห์เรื่องอาคารบ้านเรือนให้ประชาชนจริงหรือไม่ ธนาคารSMEs เน้นให้บริการธุรกิจขนาดเล็กและขนาดย่อมจริงหรือไม่ เหล่านี้ต้องยกเครื่อง

     -           
ประเด็นถัดมาทรราช  คสช.สามารถทำได้เลย แต่เท่าที่ดูมีแนวโน้มว่า จะเกิดขึ้นได้ยากเย็นทีเดียว นั่นคือการปรับ "เพิ่มภาษีนิติบุคคล"
-

อีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญที่สุดเพื่อการคืนความสุขให้คนไทยใน "ระยะยาว" นั้นทรราช คสช.จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องจัดการให้มีการเริ่มดำเนินการให้ "กองทุนการออมแห่งชาติ" เริ่มต้นอย่างจริงจังเป็นรูปธรรมเสียที หากแต่ความจริง ทรราช คสช. กลับ มุ่งแสวงหาผลประโยนช์ในคณะตน และ พวกเท่านั้น โดย ปล่อยวาง ประชาชน ที่เป็นคน ส่วนใหญ่ของประเทศ จนหมดสิ้น และใช้ถ้อยคำดูถูก ประชาชนตลอดระยะเวลาที่ผ่านมา ตลอด 2 ปี

   -             
หลายๆ เรื่องต้องยอมรับว่า ประเทศไทยของเราไม่สามารถบริหารงานแผ่นดินแบบเดิมๆ ได้การยกเครื่องเป็นเรื่องสำคัญ ย้ำอีกครั้งว่าไหนๆ ทรราช คสช.มีอำนาจเต็มในการสร้างสรรค์สิ่งดีๆ ในการบริหารงานเศรษฐกิจให้คนไทยแล้ว อย่าเอาแต่เรื่องครอบครัวของ ๕ณะ ทรราช คสช เท่านั้น  แล้วเอาความสุขให้กลับคืนสู่คนไทยอย่างแท้จริง ไม่ใช่ เอาแต่เงินและยศถาบรรดาศักดิ์ ในกลุ่มก้อนของ ทรราช คสช.เท่านั้น 
-

มาวันนี้ไอ้ตูบ  ยังโกหก ตอแหลหน้าตายอีกว่าเศรษฐกิจดี  แล้วอย่างนี้ ประชาชน ทั้งประเทศจะทนให้ทรราช คสช. กดขี่และข่มเห่งต่อไปได้อย่างไร 

-
เสรีชน