ชีวิตผู้ลี้ภัยการเมืองในต่างแดน: อั้ม เนโกะ ณ ฝรั่งเศส
เครดิตจาก
https://www.facebook.com/mesiah.un/posts/894159733977215
ตั้งแต่การรัฐประหารยึดอำนาจโดย คสช. นำโดย พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
เมื่อวันที่ 22 พ.ค. 2557 จนถึงวันนี้
มีนักกิจกรรมหนีออกไปจากประเทศไทยประมาณร้อยคนแล้ว
จำนวนมากเป็นนักกิจกรรมเสื้อแดง จำนวนมากในนั้นถูก คสช.เรียกรายตัว หลายๆ
คนก็ถูกตั้งข้อหามาตรา 112 ยิ่งต้องตัดสินใจหนี
เมื่อเห็นศาลทหารพิพากษาลงโทษจำเลยคดีหมิ่่นพระบรมเดชานุภาพอย่างหนัก
โดยไม่มีสิทธิอุทธรณ์อีกด้วย อย่างไรก็ตาม การตัดสินใจทิ้งชีวิตในประเทศไทย
ทิ้งการศึกษา การเงิน ทรัพย์สิน และคนที่พวกเขารัก
และเริ่มต้นชีวิตใหม่ในต่างแดนก็ไม่ใช่เรื่องง่าย
เหล่าผู้ลี้ภัยไปยังหลายประเทศ ส่วนใหญ่คือ ประเทศเพื่อนบ้าน ยุโรป และ
อเมริกา ฝรั่งเศสเป็นหนึ่งในนั้น ในตอนแรกของซีรียส์ผู้ลี้ภัยในต่างแดน
ผู้สื่อข่าวประชาไทเล่าชีวิตของนักกิจกรรมข้ามเพศ ซึ่งใช้นามว่า อั้ม เนโกะ
นักข่าวประชาไทได้ไปเยี่ยมอั้มที่เมืองเมืองหนึ่งในฝรั่งเศส
(อั้มขอไม่ให้เปิดเผยว่า เธออาศัยอยู่ในเมืองใด เพื่อความปลอดภัยของเธอ)
ในช่วงเดือนเมษายน พร้อมๆ กับผู้ลี้ภัยอีกสองคน คือ นักกิจกรรมฝ่ายซ้าย
จรัล ดิษฐาอภิชัย และ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล อดีตอาจารย์ประวัติศาสตร์
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คุณสามารถชมวิดิโอสัมภาษณ์ได้ด้านล่าง
-------------------
ชื่อจริงของอั้มคือ ศรันย์ ฉุยฉาย ชื่อผู้ชายที่เธอไม่ภูมิใจนัก เฟซบุ๊ก
“อั้ม เนโกะ” ของเธอถูกเฟซบุ๊กปิดไปหลังจากตรวจพบว่า ไม่ใช่ชื่อจริง
อั้มปฏิเสธที่จะใช้ชื่อจริงของเธอจึงสร้างบัญชีเฟซบุ๊กขึ้นใหม่
แต่ก็ไม่สามารถเปิดเผยที่นี่ได้ด้วยข้อจำกัดจากกฎหมาย มาตรา 112
อั้มเริ่มเป็นที่รู้จักต่อสาธารณะในปี 2555
หลังจากที่เธอโพสต์รูปภาพที่เธอทำท่ายั่วยวนกับรูปปั้น ปรีดี พนมยงค์
พร้อมข้อความว่า "ความรัก ความคลั่งคืออะไร
แต่ประเทศไทยก็ไม่มีกฎหมายหมิ่นท่านปรีดี เพราะเราทุกคนเท่ากัน"
รูปภาพดังกล่าวทำให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์อั้ม
และเริ่มมีกระแสต่อต้านจากประชาคมธรรมศาสตร์
เธอทำให้เกิดกระแสอีกครั้งในเดือน ก.ย. 2556
ด้วยการแปะโปสเตอร์รณรงค์ยกเลิกการบังคับใส่ชุดนักศึกษา
ซึ่งแสดงรูปชายหญิงแต่งชุดนักศึกษาทำกริยาเหมือนกำลังร่วมรัก
ด้วยเพศสภาพที่เธอเลือกไม่ตรงกับเพศกำเนิด
อั้มถูกบังคับให้ใส่ชุดนักเรียนชายมาเกือบทั้งชีวิตนักเรียน
ที่คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพศสภาพของเธอถูกมองว่า
ไม่เหมาะสมกับผู้ที่จะเป็นครูในอนาคต การที่เธอถูกบังคับให้แต่งชุดนิสิตชาย
เธอจึงลาออกและสอบเข้าที่คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
เอกภาษาเยอรมัน
ที่ธรรมศาสตร์เธอก็ยังหนีไม่พ้นการบังคับให้แต่งชุดนักศึกษาชายในบางครั้ง
(เช่น ถ่ายรูปติดบัตรนักศึกษา) และการบังคับให้แต่งชุดนักศึกษา (หญิง)
ในหลายกรณี เช่น เมื่อเข้าสอบ อั้มท้าทายเหล่าอนุรักษ์นิยม
ด้วยการแต่งตัววาบหวิว เช่น กางเกงสั้นเท่าหู และบราเกาะอกไปมหาวิทยาลัย
ด้วยการแต่งตัววาบหวิวและการแสดงความคิดทางการเมืองที่ดุดัน
มีการล่าชื่อภายในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์เพื่อขับไล่เธอ
ฟางเส้นสุดท้ายที่ทำให้มหาวิทยาลัยตั้งกรรมการสอบเธอและมีมติลงโทษก็คือ
กิจกรรมที่เธอพยายามชักธงดำขึ้นที่ตึกโดมแทนธงชาติ
เพื่อประท้วงท่าทีของอธิการบดี สมคิด เลิศไพฑูรย์ ที่ดูจะสนับสนุนกลุ่ม
กปปส. มหาวิทยาลัยมีมติพักการเรียนอั้มสองปี
นอกห้องเรียน
อั้มเป็นนักกิจกรรมเพื่อประชาธิปไตย
และการยกเลิกกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ในปี 2556 เธอถูกฟ้องด้วยมาตรา 112
หลังไปบันทึกเทปรายการโทรทัศน์รายการหนึ่ง
หลังการรัฐประหาร คสช.
เรียกเธอมารายงานตัวในวันที่ 9 มิ.ย. 2557 พร้อมๆ
กับนักกิจกรรมเสื้อแดงอีกหลายคนที่เข้าข่ายถูกจับตาในประเด็นสถาบันกษัตริย์
ซึ่งพวกเขาส่วนใหญ่ก็ลี้ภัยอยู่ด้วยเช่นกันในตอนนี้
ความเสี่ยงที่ศาลทหารจะพิพากษาให้รับโทษจำคุกหลายปีในข้อหาหมิ่นพระบรม
เดชานุภาพ และจะต้องไปอยู่ในคุกชายทำให้เธอตัดสินใจหนีออกนอกประเทศ
นี่เป็นการตัดสินใจที่ยากสำหรับอั้ม
เพราะอั้มต้องทิ้งการเรียนปริญญาตรีที่อีกปีการศึกษาเดียวก็จะสำเร็จเป็น
บัณฑิตจากรั้วธรรมศาสตร์
ตำรวจออกหมายจับในข้อหาไม่รายงานตัวเมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 2557
อั้มหนีไปประเทศเพื่อนบ้านและนั่งเครื่องบินมายังฝรั่งเศสในช่วงปลายเดือน
ตุลาคม ระหว่างการเปลี่ยนเครื่องบินที่กรุงโซล เกาหลีใต้ อั้มเล่าว่า
ตำรวจตรวจคนเข้าเมืองเกาหลีใต้มารอเธอถึงงวงเครื่องบิน และบอกว่า
เธออยู่ในรายชื่อ “อาชญากร” ที่ทางการไทยส่งมา อั้มแอบเห็นชื่อของคนอื่นๆ
ที่ชื่อภาษาอังกฤษขึ้นต้นด้วยตัว S เหมือนกันว่ามีชื่อ สมศักดิ์
เจียมธีรสกุล และ สุดา รังกุพันธุ์อยู่ด้วย
อั้มว่า
เธออธิบายให้ตำรวจเกาหลีฟังว่า เธอเป็นเพียงผู้เห็นต่างจากรัฐ
และตอนนี้ประเทศไทยก็อยู่ใต้เผด็จการเหมือนกับประเทศเกาหลีเหนือ
ตำรวจเกาหลีก็ปล่อยให้เธอขึ้นเครื่องต่อมายังฝรั่งเศส
หลังจากอั้มมาถึงฝรั่งเศสอย่างปลอดภัย
อั้มได้ผลิตคลิปวิดิโอโจมตีราชวงศ์ไทยหลายคลิป ในคลิปๆ หนึ่งอั้มทำการ
“หมิ่น” ที่จุดที่พระเจ้าหลุยส์ที่ 16
และพระนางมารีอังตัวเนตถูกประหารชีวิตโดยกิโยติน ณ จตุรัสคองคอร์ด
กรุงปารีส
คลิปดังกล่าวทำให้เธอโต้เถียงกับนักกิจกรรมเพื่อประชาธิปไตยไปทั่ว
พวกเขาต่อว่าเธอว่า ทำอะไรอย่างสะใจ โดยไม่คิดถึงผลต่อขบวนการในระยะยาว
อั้มว่า การแสดงออกดังกล่าวเป็นสิ่งที่เธอมีสิทธิจะทำได้
และไม่ได้เป็นการละเมิดความเป็นมนุษย์ของใคร เธอยอมรับว่า
คลิปนั้นไม่มีผลต่อการเปลี่ยนความคิดของใครแน่นอน แต่เธอเหนื่อย
และขี้เกียจเกินไปที่จะคิดทำอะไรสวยๆ น่ารักๆ ตอนนี้
อั้มมักจะมีข้อสังเกตเรื่องเพศต่อเหตุการณ์ต่างๆ เสมอ
บุคลิกการถกเถียงที่ดุดันทำให้เธอทะเลาะกับคนไปทั่วอีกเช่นกันในเฟซบุ๊ก
ฉันก็ไม่รู้ว่าใครผิดใครถูก และไม่เคยไปตามอ่านการถกเถียงเหล่านั้น
แต่มารู้อีกทีคือ มีการล้อเลียนอั้มเกี่ยวกับเพศสภาพของเธอไปทั่ว
และกลายเป็นมีมอินเทอร์เน็ตด้วย เช่น วลี “มองซิเออศรัณย์ ฉุยฉาย” และ
"ถ้ามาทำแบบนี้ที่ฝรั่งเศส ดิฉันจะแจ้งตำรวจจับแน่ค่ะ"
ก็กลายเป็นชื่อเพจเฟซบุ๊กเลยทีเดียว
(อ่านสัมภาษณ์อั้มเรื่องการถูกล้อเลียนและทำเป็นมีมด้านล้าง)
เรื่องนี้ทำให้ฉันรู้สึกหวั่นๆ เล็กน้อย ก่อนจะพบและสัมภาษณ์เธอ
ฉันไม่เคยรู้จักเธอเป็นการส่วนตัวมาก่อนเลย
ได้ยินแต่ชื่อเสียงของความดุดันของเธอเมื่อเธอปรากฏในสื่อและโพสต์เฟซบุ๊ก
อย่างไรก็ตาม นั่นเพียงเป็นแค่บุคลิกของเธอเมื่ออยู่หน้าสื่อ
เมื่อไม่ได้ออกสื่อ อั้มกลายเป็นคนที่สุภาพและอ่อนหวานมาก
ช่างเป็นภาพที่แตกต่างอย่างสุดขั้ว ฉันคงบอกไม่ได้ว่า อันไหนคือ “ตัวจริง”
ของเธอกันแน่ ซึ่งคนๆ หนึ่งจะมีทั้งสองด้านก็ไม่แปลก
อุปสรรคใหญ่ๆ
ของการลี้ภัยในฝรั่งเศส คือภาษาฝรั่งเศส ถ้าคุณพูดฝรั่งเศสไม่ได้
คุณจะอยู่ที่นั่นอย่างลำบากมาก เพราะคนฝรั่งเศสไม่สนใจที่จะพูดภาษาอังกฤษ
ป้ายตามถนน หนทาง รถไฟฟ้า ก็ล้วนเป็นภาษาฝรั่งเศส
การติดต่อราชการฝรั้่งเศสเพื่อดำเนินเรื่องการลี้ภัย ก็ต้องใช้ภาษาฝรั่งเศส
แต่การฝึกฝนภาษาฝรั่งเศสไม่ได้เป็นปัญหาสำหรับอดีตนักเรียนภาษา
จากรั้วแม่โดมอย่างอั้ม เพียงไม่กี่เดือน
อั้มสามารถพูดภาษาฝรั่งเศสระดับชีวิตประจำวันได้แล้ว
นอกจากเรื่องภาษา อั้มปรับตัวกับชีวิตในฝรั่งเศสได้เป็นอย่างดี
เธอเป็นผู้เชียวชาญเรื่องขนส่งมวลชนสาธารณะและเส้นทางต่างๆ
ของเมืองที่เธออยู่ มีครั้งหนึ่งที่มีครอบครัวชาวฝรั่งเศสจากต่างเมือง
มาถามทางเธอ ซึ่งเธอก็บอกทางพวกเขาเป็นภาษาฝรั่งเศสได้
อั้มให้ความสำคัญกับการเรียนภาษามาเป็นอันดับหนึ่ง
แม้ว่าเธอจะใช้ชีวิตด้วยเงินอันน้อยนิด และต้องคิดถึงทุกยูโรที่ใช้
แต่เธอเลือกที่ลงทุนกับการเรียนภาษา
เพราะทักษะภาษาฝรั่งเศสของเธอจะเป็นตัวกำหนดอนาคตในการศึกษาและการงานหลัง
จากนี้ อั้มเรียนภาษาฝรั่งเศสทุกวันจันทร์ถึงศุกร์ในช่วงเช้า
และยังเรียนภาษาเยอรมันในตอนบ่ายบางวันอีกด้วย
ตอนนี้อั้มกำลังเรียนภาษาฝรั่งเศสในระดับ A2 (ระดับพื้นฐาน)
และเรียนภาษาเยอรมันในระดับ C1 (ระดับสูง)
นอกจากนี้
อั้มยังดูมีความรื่นรมย์กับการใช้ชีวิตในประเทศที่มีชื่อเสียงเรื่องการเดิน
ขบวนประท้วงยิ่งนัก แถมยังเป็นที่ตั้งของกลุ่มนักกิจกรรมต่างๆ อีกด้วย
อั้มเล่าให้ฉันฟังถึงการเมืองฝรั่งเศสและกิจกรรมเดินขบวนต่างๆ
ที่เธอไม่ร่วมมาอย่างกระตือรือร้น
ประเด็นที่อั้มแอคทีฟที่สุดในการไปร่วมกิจกรรมที่ฝรั่งเศสคือ
กิจกรรมประเด็นผู้อพยพ สิทธิผู้หญิง และ LGBT อั้มยังเข้าร่วมกับกลุ่ม
FEMEN
ซึ่งเป็นกลุ่มเฟมินิสต์ที่มีชื่อเสียงจากการชอบเปลือยอกประท้วงอีกด้วย
อย่างไรก็ตาม อั้มมีความเป็นอยู่ที่ค่อนข้างลำบาก
อั้มเป็นคนที่ต้องยืนอยู่บนลำแข้งของตัวเอง
เธอไม่ได้ติดต่อกับครอบครัวของเธอที่กรุงเทพบ่อยนักเพราะเป็นห่วงความ
ปลอดภัยของพวกเขา เมื่อมาถึงฝรั่งเศสแรกๆ
จรัลได้ช่วยประสานกับกลุ่มคนเสื้อแดงที่นั่น ที่มีน้ำใจให้อั้มพักอยู่ฟรีๆ
อั้มต้องย้ายจากที่หนึ่งไปอีกที่หนึ่งเรื่อยๆ โดยอยู่ที่ละเดือนสองเดือน
อั้มต้องทำงานอย่างหนัก เช่น การเป็นพี่เลี้ยงเด็ก เพื่อหาเงินเลี้ยงตัวเอง
อั้มเข็มงวดกับการใช้เงินมาก เธอจะกินแต่แมคโดนัลด์
และขนมปังฝรั่งเศสที่รวมแล้วตกมื้อละไม่เกินสามยูโร “อั้มชอบแมคโด”
(คนฝรั่งเศสเรียกแมคโดนัลด์ว่า “แมคโด”) เธอบอกฉันเมื่อฉันถามเธอว่า
เธอไม่เบื่อกับการกินจังก์ฟู้ดบ้างหรอ เธอบอกว่า เธอเป็นคนกินง่าย
กินอะไรก็ได้ และชอบจังก์ฟู้ดอยู่แล้ว แต่จริงๆ ฉันคิดว่า
เธอพยายามประหยัดมากกว่า
ตอนที่ฉันไปถึง
เธอเพิ่งย้ายไปอพาร์ทเมนต์ใหม่ซึ่งแชร์กับเพื่อนนักกิจกรรมคนหนึ่ง
และจึงเพิ่งได้ฤกษ์ฝึกทำอาหาร เธอบอกฉันว่า
เธอลองทำไข่เจียวที่อพาร์ทเมนต์และนั่นช่วยให้เธอประหยัดเงินได้มากเลย
หลังจากฉันใช้เวลากับอั้มพอสมควร ฉันพบว่า
อั้มมีเสน่ห์ต่อผู้ชายฝรั่งเศสไม่น้อยเลยทีเดียว
มีอยู่สองครั้งที่หนุ่มบริกรฝรั่งเศสเดินเข้ามาจีบเธอ
และครั้งหนึ่งขอเบอร์เธอด้วย อั้มจะบอกพวกเขาว่าเธอชื่อ “มีมี่” เพราะว่า
“อั้ม” น่าจะออกเสียงยากเกินไปสำหรับชาวฝรั่งเศส เธอบอกว่า Mimi ย่อมากจาก
Mignon (มิยง) ที่แปลว่า น่ารัก ภาษาฝรั่งเศส
ในขณะที่ชายไทยคงสามารถบอกว่าเธอเป็นกะเทยได้ไม่ยาก
และปฏิบัติกับเธอในฐานะที่เธอเป็นกะเทย แต่ชายฝรั่งเศสไม่น่าจะดูออก
และปฏิบัติกับเธอเหมือนที่เธอเป็นผู้หญิงคนหนึ่ง ฉันคิดว่า
มีบางอย่างเกี่ยวกับบุคลิกของอั้มที่ถูกใจหนุ่มฝรั่งเศส
แต่ฉันอยู่ฝรั่งเศสสั้นเกินไปที่จะรับรู้ได้
แม้ว่าอั้มจะไม่ได้อยู่อย่างสบาย
เธอกลับดูร่าเริงและมีกำลังใจดีตลอดเวลาที่เราอยู่ด้วยกัน เธอยังคงคอนเซปต์
“อั้ม เนโกะ” โดยการทำท่าแมวกวักและร้อง “เมี้ยวๆ” เรื่อยๆ
โดยเฉพาะเวลาเธอกำลังมีความสุข “เมี้ยวๆ” แม้กระทั่งเวลาโดยสารรถไฟใต้ดิน
อั้มดูผอมมาก และผิวก็แห้งมาก
ฉันเกรงว่าเธอประหยัดเกินไปจนไม่ยอมซื้อโลชั่นมาทาหรือเปล่า
จึงให้โลชั่นเธอไปกระปุกหนึ่ง แม้ว่าอากาศในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิจะหนาว
อั้มก็ยังแต่งตัวค่อนข้างเปิดเผย (แต่เปิดเผยน้อยกว่าตอนอยู่กรุงเทพมาก)
ในบางคืน แม้ว่าเธอจะหนาวจนตัวสั่น ก็ยังเดินมาส่งฉันถึงที่โรงแรม
อั้มเปิดเผยต่อสาธารณะว่าเป็นผู้นิยมระบอบสาธารณรัฐ
เมื่อออกจากประเทศไทยแล้ว อย่างไรก็ตาม
เธอไม่ได้มีความหวังสูงนักต่ออนาคตของการเมืองไทย เธอเพียงหวังว่า
สังคมไทยจะมีความอดทนอดกลั้นต่อความคิดเรื่องสาธารณรัฐมากขึ้น
เหมือนในประเทศอังกฤษที่ซึ่งกลุ่มนิยมสถาบันกษัตริย์สามารถอยู่ร่วมกับกลุ่ม
นิยมสาธารณรัฐได้อย่างสันติ
และประชาชนก็มีเสรีภาพถึงการพูดคุยเรื่องระบอบสาธารณรัฐโดยไม่ต้องติดคุก
ฉันถามเธอว่า เธอเริ่มสนใจเรื่องสาธารณรัฐตั้งแต่เมื่อไหร่ อั้มว่า
ตั้งแต่เธอเรียนปีหนึ่งที่จุฬา เมื่อลงวิชาสถาบันกษัตริย์กับการเมืองไทย
สอนโดย ไชยันต์ ไชยพร ซึ่งได้เปิดมุมมองของเธอให้เห็นว่า
มีระบอบการปกครองหลายแบบในโลกนี้ รวมถึงระบอบสาธารณรัฐด้วย
อั้มบอกฉันว่า เธอมุ่งมั่นว่า ต้องจบปริญญาตรีที่ฝรั่งเศสเป็นอย่างน้อย
และอยากเรียนวรรณคดีฝรั่งเศส ซึ่งต้องใช้ทักษาภาษาฝรั่งเศสระดับสูง
เธอเชื่อว่า ทักษะสี่ภาษาของเธอจะทำให้หางานง่ายในฝรั่งเศสเมื่อเธอเรียนจบ
อั้มพูดถึงแผนชีวิตที่ดูเป็นแผนระยะยาวทีเดียว ฉันถามว่า
แล้วเธอยังอยากจะกลับไทยไหม เธอว่า เธออาจจะกลับ
เมื่อมีการเปลี่ยนผ่านในราชวงศ์ไทย และมีการยกเลิกมาตรา 112
“ไม่คิดถึงบ้านหรอ” ฉันถาม “ไม่อ่ะค่ะ” อั้มตอบ “คิดถูกที่หนีมา
เพราะมองว่า การที่อยู่ในสภาพสังคมที่ต้องปิดหูปิดตาตัวเองนั้นอึดอัด
และน่าขยะแขยง”
การสัมภาษณ์เพิ่มเติมทางตัวอักษร
ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมา อั้มถูกล้อเลียน (bully)
ในเครือข่ายสังคมออนไลน์เยอะมาก เช่นการเรียกว่า "มองซิเออศรัณย์ ฉุยฉาย"
และประโยค "ถ้ามาทำแบบนี้ที่ฝรั่งเศส ดิฉันจะแจ้งตำรวจจับแน่ค่ะ"
ซึ่งมีคนเอาไปทำเป็นเพจเฟซบุ๊กเลยทีเดียว อยากทราบว่า 1
คนที่มาล้อเลียนอั้มส่วนใหญ่คือใคร 2 ทำไมถึงคิดว่าโดนแบบนี้ และ 3
รู้สึกอย่างไร
ก่อนจะตอบคำถามแรกอั้มคงต้องตอบข้อ 2 กับ 3
ก่อนเพื่อที่จะปูความเป็นมาว่าการ bully เหล่านี้มันมีปัญหาอย่างไร
ชัดเจนมากว่านี้คือปัญหาทางวิธีคิดอย่างหนึ่งในขบวนการต่อสู้เพื่อ
ประชาธิปไตยในไทยที่เรียกได้ว่าเหมือนจะก้าวหน้าแต่ก็ก้าวหน้าไม่ถึงไหน
โดยเฉพาะเรื่องของการเมืองเชิงอัตลักษณ์ที่เป็นเรื่องของการเมืองวัฒนธรรม
ของประชาชนที่มีอัตลักษณ์ที่แตกต่างหลากหลาย
อันเป็นหนึ่งในปัจจัยชี้วัดสำคัญว่าสภาพสังคมและรัฐเหล่านั้นมีความเป็น
ประชาธิปไตยมากแค่ไหน คือ
ถ้าเป็นรัฐที่เคารพหลักการประชาธิปไตยที่เชื่อในความเสมอภาคของศักดิ์ศรี
ความเป็นมนุษย์ขั้นพื้นฐานของทุกคนรัฐก็จะมีนโยบายในการยอมรับการมีอยู่ของ
อัตลักษณ์เหล่านี้
และการคุ้มครองการกดขี่และเลือกปฏิบัติต่อตัวบุคคลด้วยอัตลักษณ์ส่วนบุคคล
นี้คือสิ่งที่ขบวนการประชาธิปไตยในไทย "กระแสหลัก"
เลือกที่จะผลักประเด็นเหล่านี้ออกไป
จะเรียกว่าเป็นประเด็นชายขอบมาตลอดก็ว่าได้
แถมบางส่วนของขบวนการยังแชร์ไอเดียร่วมกันกันฝั่งอนุรักษ์นิยมที่มีความคิด
เกลียดกลัวคนรักเพศเดียวกัน (homophobia) และ เกลียดกลัวคนข้ามเพศ
(transphobia) อีกด้วย
ดังนั้นเนี่ยเมื่อเราในฐานะที่ติดตามความเคลื่อนไหวจริงๆ จังๆ
ของฝากฝั่งประชาธิปไตยในไทยมาตั้งแต่เริ่มเป็นนักศึกษาปีแรกๆ
ที่โหนหินปรีดี บอกก่อนว่าตอนนั้นยังไม่รุ้หรอกเฟมินิสม์มีหน้าตาอย่างไร
แต่เราตระหนักเสมอว่าความไม่เสมอภาคมีอยู่จริงในฐานะที่เราต่อสู้ในสายคิด
ของนักมนุษยนิยมทั่วๆ ไป อั้มเองโดน bully
ครั้งแรกแบบเป็นทางการคือหลังจากสื่อ matichon online
เอาเรื่องเราปีนหินปรีดีคือ ไม่ต้องอัญเชิญเด็จแม่เดอ โบวัว (de Beauvoir
มาก็รู้สึกเองได้ค่ะว่าคำพูดที่เขาแทนตนเราตอนนั้นค่อนข้างเหยียดเพศไม่ใช่
เรื่องคำนำหน้านะคะ
แต่คือการบรรยายอัตลักษณ์ความเป็นคนข้ามเพศเราอะไรแบบนั้น
จนเราไปถามพี่ที่รู้จักว่าแบบอ่านข่าวแล้วรู้สึกไม่ดีเลย
คือแบบไปบอกใครได้บ้าง
พี่คนนั้นจึงให้ส่งข้อความไปหาคนที่ทำงานมติชนคนหนึ่งและได้แก้ตัวข่าวให้
นั้นไม่ใช่แค่ครั้งแรกแต่คือการเอาอัตลักษณ์ของเรามาเป็นตลกมุกโง่ๆ
เหยียดเพศมีมาเสมอ ในขณะที่นักกิจกรรม
และนักวิชาการส่วนมากในขบวนการที่ส่วนมาก perform sexuality
แบบผู้ชายเสียส่วนใหญ่กลับไม่ถูกนำมาเหยียดอะไรแบบนี้
เพราะมันชัดเจนแล้วว่า sexuality
แบบไหนในสังคมรวมทั้งขบวนการประชาธิปไตยแบบไทยๆ ที่เป็น "ความแปลกแยก"
และชัดเจนที่สุดคืออัตลักษณ์ที่ลื่นไหลอย่างการเป็นคนข้ามเพศโดยเฉพาะข้ามมา
perform "femininity"
นี้จึงเป็นจุดที่ทำให้เราตกเป็นเหยื่อของระบบคิดชายเป็นใหญ่เหล่านี้ที่ครอบ
อยู่ทั้งในกระแสคิดของฝั่งอนุรักษ์นิยมและฝั่งประชาธิปไตย
แต่ทว่านั้นฝ่ายประชาธิปไตยก็ไม่กล้าที่จะผลักเราออกไปเต็มๆ
ตัวเพราะเรายังเป็นเหมือน "ไม้ประดับ"
ให้อุดมการณ์ของพวกเขาดูเปิดกว้างทางสังคม ทางเพศ ดูก้าวหน้า ดู
international (เบะปากรัวๆๆ)
แต่คือหลังจากเราโดนแซะนิดแซะหน่อยมาเรื่อยมาจนคนที่ bully
เหล่านั้นคิดว่าการทำสิ่งเหล่านี้คือสิ่งปกติทั่วๆ ไป เราก็ยังทนมาเป็นปีๆ
คิดในแง่ดีว่า เขาคงไม่ได้ตั้งใจหรอก ฮาๆ บ้าง แม้ว่าเราจะรับรู้ว่า
การสร้างบางสิ่งให้ตลกก็เป็นสิ่งหนึ่งในสร้างความชอบธรรมให้แก่การกดขี่หรือ
การกดทับทางสังคมให้มันดูเป็นเรื่องเฮฮาปกติไปก็ตาม คือโลกสวยไงคะตอนนั้น
จนกระทั่งมาพูดมาเคลื่อนไหวประเด็นความเสมอภาคทางเพศจริงๆ จังๆ
เราก็เริ่มไม่เชื่อฟังขบวนการนี้แบบเดิมๆ อีกต่อไป
การที่เราออกมายืนยันในหลักการว่าการดูถูกคนเพียงเพราะชาติกำเนิด เพศสภาพ
ความพิการ อะไรเหล่านี้คือสิ่งที่ผิดต่อหลักการประชาธิปไตย
และย้ำว่าความเสมอภาคทางเพศคือส่วนหนึ่งของขบวนการ
ก็กลับกลายเป็นว่าอีพวกที่เคย bully เราเป็นงานปกติโมโหสิคะ
เพราะปกติอินี้เชื่องไง
ขบวนการก็พร้อมต้อนรับไงได้คนให้กดขี่เล่นในขบวนการตาใสๆ ไม่มีปากเสียง
พอมันริมาด่าพวกเดียวกันว่าขบวนการมึงห่วยแตก บุคคลเหล่านี้จึงรับไม่ได้
และบุคคลเหล่านี้คือ "ใคร" ??? ?
ชัดเจนค่ะว่าคนเหล่านี้ที่มา bully โดยมากกำลังใช้เพศสภาพชายในการแสดงออก
และที่สำคัญคือบุคคลที่ใช้เพศสภาพชายเหล่านี้ในสังคม คือ บุคคลที่ได้รับ
(male) privilege
หรืออภิสิทธิ์ทางสังคมในฐานะของการครอบครองความเป็นชายเอาไว้
การที่สถานะความเป็นชายที่มันถูกประเมินค่าไว้ดีอยู่แล้ว
ไม่ได้ถูกกดทับทางอัตลักษณ์ให้ต่ำกว่าเท่ากับอัตลักษณ์อื่นๆ ง่ายๆ
คำด่าอิงเพศสภาพชายมีแค่ไม่กี่คำเช่น "หัวควย"
แต่คำด่าอิงเพศสภาพหญิงมีมหาศาล "หน้าหี" "เอาผ้าถุงไปใส่" "หน้าตัวเมีย"
"อีกากี" "อีแพศยา" "ใจตุ้ด" "กะหรี่" และอีกมากมาย
นี้คือสิ่งที่คนที่นิยามตนเป็นชายยากที่จะหันมาเข้าใจเพราะตัวเองไม่ได้คิด
ว่ามันเป็นปัญหาของตนเพราะทั้งระบบคิดในสังคม ระบบการศึกษา เศรษฐกิจ
การเมืองล้วนเอื้อประโยชน์ให้แก่พวกเขาทั้งนั้น
การที่เขาจะมาสู้เพื่อให้คนอื่นที่ต่ำกว่าเขามามีสถานะเท่าๆ กันจริงๆ
จึงเป็นแค่ "เรื่องตอแหล"
เพราะพวกนี้เอาเข้าจริงที่เข้ามาสู้เพื่อสังคมยุติธรรมประชาธิปไตยอะไรพวก
นี้จริงๆ
ก็แค่อยากถีบตัวเองขึ้นไปเป็นส่วนหนึ่งของฟันเฟืองระบอบทางการเมือง สังคม
เศรษฐกิจแบบเดิมๆ ที่ตัวเองมีโอกาสน้อยกว่า ลูก "ผู้มีอันจะกิน" เช่น
ลูกข้าราชการ เด็กเส้น ลูกท่านหลานเธอบ้าง คือ ง่ายๆ
อยากไปอยู่แบบเขาแต่คนเป็น somebody มันถีบตัวเองเข้าสังคมตอแหลยากไง
และระบบที่จะทำให้ somebody
พวกนี้ถีบตัวเองไปสรรแบ่งอำนาจกับลูกผู้ดีก็คือประชาธิปไตย
ดังนั้นคนกลุ่มนี้จึงต้องการประชาธิปไตยแค่เป็นการสรรอำนาจให้ตนได้ไปสวาปาม
ร่วมกับเผด็จการ โดยไม่ได้ใส่ใจประเด็นอื่นๆ ทางสังคมมากจริงๆ ถ้า
"ไม่ใช่เรื่องที่พวกเขา (ผู้ชาย) เดือดร้อน