Tuesday, August 4, 2015

หลักการของ กฏหมายจำกัดตัดสิทธิพลเมือง...มีอะไรที่คนไทยควรรู้???

ผลของการ ที่บัญญัติเอาหลักการของ กฏหมายจำกัดตัดสิทธิพลเมือง หรือ Bill of Attainder และ Bill of Pain and Penalties ไปใส่ไว้ในรัฐธรรมนูญทุกฉบับ ผลที่ได้คืออะไร?
นี่คือคำตอบ ที่ขอตอบ ให้ท่านผู้อ่านทั้งหลายได้ทราบ พอเป็นสังเขปในชั้นนี้
๑. เรื่อง กฏหมายจำกัดตัดสิทธิพลเมือง หรือ Bill of Attainder และ Bill of Pain and Penalties ที่ลงไว้แล้วในตอนที่ ๑ จะมีตอนที่สอง ตอนที่สาม จนจบโดยละเอียด

๒.เมื่อรัฐธรรมนูญ ที่กำลังจัดร่างอยู่นี้ ที่จริงต้องนับตั้งแต่รัฐธรรมนูญ ปีพ.ศ.๒๕๔๐ แล้ว จนมาถึง รัฐธรรมนูญในฉบับปัจจุบัน

๓. มีการยกร่าง และ นำมาประกาศใช้ ประกอบด้วยหลักการใหญ่ ที่เป็นโมฆะ คือ:

๓.๑. หลักการอนุญาตให้กระทำการได้ตามอำเภอน้ำใจ ของผู้มีอำนาจ
๓.๒. หลักการว่าด้วย กฎหมายจำกัดตัดสิทธิพลเมือง หรือ Bill of Attainder หรือ Bill of Pain and Penalties
๔. ซึ่งหลักการที่กล่าวมานี้ เป็นหลักการ ที่พลเมืองมีสิทธิ (Vested Rights) และ เป็นการใช้สิทธิ (Exercising of Powers from the Vested Rights) ของพลเมือง
๕. จึงทำให้รัฐธรรมนูญฉบับนั้นๆ ต้องตกเป็นโมฆะทั้งหมดทันที
๖. ทั้งนี้เพราะรัฐธรรมนูญเป็น กฏบัตรใหญ่ของประเทศ หรือ ตราสารสำคัญ ที่แสดงการ มีสิทธิ และ ใช้สิทธิแห่งพลเมือง ที่ต้องตราแสดงไว้ให้ปรากฏต่อนานาชาติ เพื่อรับทราบ

๗. เมื่อคุณไปจัดร่างรัฐธรรมนูญ ขึ้นมาในลักษณะนี้ จึงทำให้รัฐธรรมนูญฉบับใดก็ตาม
๘. ที่มีคุณลักษณะเช่นที่ว่านี้ ต้องตกเป็นโมฆะทั้งฉบับ เพราะไปขัดหลักการใหญ่ คือ the Separation of Powers

๙. ดั่งที่ทำให้สิ่งที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ในเรื่องการมีสิทธิ และใช้สิทธิของพลเมือง ตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ ตามหลักการแห่งรัฐธรรมนูญสากล หรือ ลัทธิรัฐธรรมนูญ อันเป็นสากล หรือ the Constitutionalism

๑๐. เมื่อปรากฏโดยแจ้งชัดว่า รัฐธรรมนูญของประเทศไทย มีหลักการ ทางกฏหมาย ที่ไปขัดกับ หลักการ ในเรื่องการมีสิทธิ และใช้สิทธิของพลเมือง ซึ่งหลักการที่ว่านี้ ถือกำเหนิดเกิดมาไม่ต่ำกว่า ๓๐๐ - ๔๐๐ ปีแล้ว
๑๑. จึงต้องตกเป็นโมฆะ ทั้งฉบับ ไม่ใช่เฉพาะ มาตราใด มาตรา หนึ่งที่มีคุณลักษณะ ที่ขวาง กั้นต่อการมีสิทธิ(Vested Rights) และ การใช้สิทธิ (the Exercising of Powers from Vested Rights) ของพลเมือง
๑๒.หวังว่าท่านผู้อ่านทุกท่าน ที่มาอ่านบทความนี้ คงเข้าใจตามนี้โดยกระจ่างชัด.

No comments:

Post a Comment