Saturday, April 4, 2015

รัฐประหาร ด้วยรถถังและลายมือกษัตริย์ ก่อให้เกิดรัฏฐาธิปัตย์ อย่างถูกกฎหมายสากล จริงหรือ?


รัฐประหาร ด้วยรถถังและลายมือกษัตริย์ ก่อให้เกิดรัฏฐาธิปัตย์ อย่างถูกกฎหมายสากล จริงหรือ?


By Ajaan Thanaboon Chiranuvat


เมื่อเกิดคำถามว่า การยึดอำนาจ และการรัฐประหาร ทำให้คณะบุคคลที่เข้าจับยึดกุมอำนาจรัฐที่ว่า กลายเป็นรัฏฐาธิปัตย์ หรือ Sovereignty หรือไม่? วิธีที่ถูกที่ควรต้องปฏิบัติในทางแก้ไขอย่างไร?
คุณ Donmuang นั่นเป็นความเข้าใจ ที่คลาดเคลื่อนต่อ ข้อกฏหมายของศาลไทยในอดีต ในวันนี้ เราไปลงนาม และ ให้สัตยาบันต่อ Convention Against Corruption, 2003 แล้วในวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ.๒๕๕๔ หรือปีค.ศ.๒๐๑๑.......................................................ฯ


เมื่อประเทศไปก่อพันธกรณีในระหว่างประเทศ กับนานาชาติผูกพันตน เกิดเป็นภาระหน้าที่ๆต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญานั้น คุณมาถามผมว่า ใครจะเป็นคนบังคับ คำตอบ ก็คือ ศาลโลก และองค์การสหประชาชาติไงเล่าครับ ขอยกตัวอย่างสนธิสัญญาว่าด้วยการป้องกัน และการลงโทษความผิดอาญาว่าด้วยการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ ปีค.ศ.๑๙๕๑ เมื่อมีการลงนามกันแล้ว และ ให้สัตยาบัน เพื่อการปฏิบัติแล้ว มีชาติคู่ภาคีสมาชิกชาติหนึ่ง หรือหลายชาติ ไปออกคำสงวนสิทธิ (Reservation) ที่จะเลี่ยง ไม่ปฏิบัติตามสนธิสัญญาในภายหลัง.......................................................................ฯ

""""
ฝรั่งเศสซึ่งเป็นหนึ่งในชาติคู่ภาคีสมาชิก นำเรื่องดังกล่าวนี้ ไปร้องเรียนในสมัชชาใหญ่ และ คณะมนตรีความมั่นคง ของสหประชาชาติ ในที่สุดเกิดการสอบสวน และนำไปให้ศาลโลกชี้ขาดในแผนก Advisory Opinion ศาลโลก ก็นำไปตีความชี้ขาด (เมื่อชี้ขาดแล้ว เกิดผลบังคับทันทีทั่วโลก) ศาลโลกชี้ขาดว่า "Reservation ของชาติคู่ภาคีใดๆ ที่ต้องการหลีกเลี่ยงจะไม่ปฏิบัติตามสนธิสัญญา Reservation เช่นว่านั้น ไม่มีผลบังคับต่อสนธิสัญญา" (ซึ่งคุณอาจไปศึกษาค้นคว้าเอาได้ด้วยตนเอง ผมคงไม่ต้องสอนคุณ โดยคุณเปิดไปหาคดีนี้ได้ในเว็ปไซด์ของศาลโลก)......................................ฯ


ทีนี้มาพิจารณาว่า "การทำการรัฐประหาร"ทำให้คณะผู้ทำการรัฐประหาร เป็นรัฏฐาธิปัตย์ หรือ Sovereignty "หรือไม่? คำตอบ คือ ไม่เป็นครับ เมื่อไม่เป็น เพราะเหตุใด? ไม่เป็นเพราะเรามี the Geneva Conventions, 1949 โดยเฉพาะอย่างยิ่งฉบับที่ ๔ พร้อมบทบัญญัติที่ ๓ ร่วม ที่ประเทศนี้ ไปประกาศขอเข้าร่วม เป็นชาติคู่ภาคีสมาชิก และ ต้องให้สัตยาบัน ในวันที่ ๒๙ ธันวาคม ปีค.ศ.๑๙๕๔ หรือปีพ.ศ.๒๔๙๗ ขวางกั้นเอาไว้ คนไทย ยังมีความเข้าใจ ที่คลาดเคลื่อนต่อ the Geneva Conventions,1949 ที่คลาดเคลื่อนทั้งในข้อกฏหมายและข้อบัญญัติของสนธิสัญญาแบบผิดๆ แล้วไม่ศึกษา คิดว่าสนธิสัญญาบังคับเฉพาะพลเรือน ยกตัวอย่างเช่น ๑.บทบัญญัติที่ ๕๙ ของสนธิสัญญา บังคับฝ่ายที่เป็นทหารด้วย วัตถุประสงค์ของ the Geneva Conventions, 1949 ก็เพื่อช่วยมนุษย์ ที่กำลังอยู่ระหว่างภัยสงคราม และ การสู้รบในสนามรบ การประกาศใช้สนธิสัญญานี้ ก็เพื่อขจัดการปกครองทางทหารในแบบ NAZI เยอรมันที่โลกทั้งใบไม่ต้องการ คือสั่งคนทั้งประเทศ ให้ซ้ายหัน และขวาหัน ตามคนที่สั่ง ที่เราเรียกว่า "ใช้ Absolute Power" และมนุษยชาติ เพิ่งเผชิญภัยนั้นมา แบบสดๆร้อนๆ...ฯ

๒. เมื่อพัฒนาการทางกฏหมายของมนุษย์ และ พลวัตรในสังคมมนุษย์เจริญขึ้นเกิด Convention Against Corruption, 2003 ข้างต้น คำว่า Corruption Act ตามสนธิสัญญาฉบับนี้ ไม่หมายเฉพาะ การกระทำการ ลัก วิ่ง ชิง ปล้น ฉ้อโกง ยักยอก รับของโจร เพื่อเอาทรัพย์ หรือ การฟอกเงิน การกระทำใดๆ ที่ขัดขวางต่อกระบวนการยุติธรรมอย่างเดียว แต่ยังหมายถึง การกระทำใดๆที่เป็นการใช้อำนาจโดยมิชอบ เพื่อประโยชน์ตน (Abused of Powers for Private Gains) และประโยชน์เช่นนี้ไม่ต้องเป็นเงินเป็นทองก็ได้ เช่น ได้รับความพึงพอใจส่วนตนของผู้ปฏิบัติฯลฯ เป็นต้น ก็เป็น Corruption Act แล้วครับ......................................................................................................................ฯ


๓. เมื่อเป็นไปตามข้อกฏหมายดังที่ว่ามา การกระทำการยึดอำนาจ และ การรัฐประหาร เป็นการกระทำ ที่เข้าองค์ประกอบของคำว่า " Corruption" หรือไม่ ? ถ้าใช่ไทยมีพันธกรณีที่ต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญานี้ หรือไม่? ถ้ามีพันธกรณีที่ไทย ต้องปฏิบัติ ประชาชนในชาติ ที่ได้รับความเดือดร้อน เขา ย่อมเกิดสิทธิ ที่จะไปร้องขอให้สหประชาชาติ ให้ต้องดำเนินการในการทำการสอบสวน ในเรื่องที่ร้องทุกข์มา แล้วส่งเรื่อง ที่ประมวลได้มาทั้งหมดไปยังศาลโลก เพื่อการตีความได้หรือไม่? โดยยกคดีของประเทศฝรั่งเศสข้างต้น ที่บรรยายมา เป็นคดีตัวอย่าง ในการร้องขอต่อองค์การสหประชาชาติ ............................................................................................................ฯ

นี่จึงเป็นการตอบคำถามในใจ ของคน ที่ยังมีความคลางแคลงสงสัยในเรื่องดังกล่าว ที่คุณยกมาถามผม เมื่อผมให้คำตอบแก่คุณ อย่างสิ้นสงสัยแล้วใช่ไหม? ครับ เอวัง ก็มีด้วยประการฉะนี้.





No comments:

Post a Comment