Monday, July 13, 2015

ปัญหา ของการกล่าวโทษในคดีของคุณรินดา ปฤชาบุตร หรือ หลิน

ปัญหา ของการกล่าวโทษในคดีของคุณรินดา ปฤชาบุตร หรือ หลิน ตามกฏหมายของคณะ คสช. หรือ การใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) ปีพ.ศ.๒๕๕๗ [ที่เป็นกฏหมายเถื่อน] จะมีผล อย่างไร? ภายใต้บริบท บังคับของกฏหมายระหว่างประเทศ
๑. ก่อนอื่นต้องถามในลำดับแรก ต่อท่านผู้อ่าน ที่เป็นพี่น้องประชาชนคนไทยว่า ท่านคิดว่า “เรื่องนี้ เป็นการทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพ หรือไม่? ครับ ท่านผู้ใฝ่รู้ทั้งหลาย ท่านอยากรู้คำตอบ ท่านต้องอ่านตรงนี้ครับ
๑. ในเรื่องอย่างนี้ คือ เรื่องการประกันตัวคุณรินดานั้น ถ้าจะทำให้สำเร็จ บุคคลที่เป็นทนายความ ต้องบรรยายให้ปรากฏชัดว่า
๑.๑. "เมื่อประเทศไทย ได้ไปลงนามในกติการะหว่างประเทศ ว่าด้วย สิทธิพลเมือง และ สิทธิในทางการเมือง ปีค.ศ. ๑๙๖๖ (the International Covenant on Civil and Political Rights, 1966) ในเดือนตุลาคม ปีพ.ศ.๒๕๓๙ นั้นให้ผลบังคับ ตามกฏหมายระหว่างประเทศ หรือ International Law อย่างไร?
๑.๒.คำตอบ ก็คือ สนธิสัญญาฉบับนี้ มีผลบังคับประเทศไทยในวันที่ ๑ มกราคม ปีพ.ศ.๒๕๔๐ ภายในเวลา เก้าสิบวัน ตามความ ที่บัญญัติไว้ ในสนธิสัญญาฉบับ ที่กล่าวมา อย่างที่ปรากฏตามความในสนธิสัญญา และ ย่อมมีผลบังคับ ตลอดบูรณภาพแห่งดินแดนไทย ในทันที.
๒. ประเทศไทย ไม่ได้เป็นประเทศ ที่ใช้ระบบกฏหมาย ในแบบคอมมอนด์ลอว์ว (Common Law) ซึ่งเป็น ระบบกฏหมายในแบบฉบับ ดวลล์ซีสเต็ม (Dual System) แบบอังกฤษ ที่ต้องให้รัฐสภา ออกกฏหมาย มารับรอง จึงจะมีผลต่อ การบังคับสนธิสัญญา ภายในประเทศ เพราะอังกฤษ มิได้ใช้ ระบบกฏหมายลายลักษณ์อักษร (Unwritten Law) แต่ประเทศไทยใช้ ระบบกฏหมายแบบลายลักษณ์อักษร (Written Law) ฉะนั้นประเทศไทย จะอ้างนำความ ที่มุ่งประสงค์ จะบังคับใช้กฏหมายในแบบอย่างของอังกฤษ มาใช้อ้างยันต่อบุคคลใดๆไม่ได้เลย รวมทั้งบุคคลทั้งหลาย ที่ดำรงสถานภาพ เป็นบุคคล ทั้งนี้ ภายใต้บังคับแห่ง กฏหมายระหว่างประเทศ หรือ the International Law.

๓. ความผิดในเรื่องนี้ เป็นได้อย่างมาก ก็คือ ความผิดในฐาน หมิ่นประมาท คือ Label หรือ Slander แต่เนื่องจากคุณประยุทธฯ เป็น "บุคคลสาธารณะ" ย่อมสามารถถูกตรวจสอบ และ ติชมด้วยความเป็นธรรมได้เสมอ
๔. ซึ่งความข้อนี้ อาจกลับกลาย เป็น การทำให้ การกระทำ ในการกล่าวโทษต่อ คุณรินดาฯ กลายเป็นไม่มีความผิดอย่างใดๆเลย เพราะ ในคดีหมิ่นประมาท จะยกเอา การจองจำบุคคล เพื่อให้เป็น จุดเยือกแข็ง ในอิสรภาพ ของบุคคลไม่ได้ ที่เรียกกัน ในภาษาอังกฤษว่า "Chilling Effect" เพราะ เป็นการต้องห้าม ตามบทบัญญัติที่ ๑๙ ของปฏิญญาสากล ว่าด้วย สิทธิมนุษยชน, ปีค.ศ. ๑๙๔๘ ที่ไทย เป็นหนึ่งในสิบชาติ ที่เป็นฝ่าย ไปสนับสนุนริเริ่ม ให้องค์การสหประชาชาติประกาศใช้บังคับ ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ปีค.ศ. ๑๙๔๘ ในวันที่ ๑๐ ธันวาคม ปีค.ศ. ๑๙๔๘ และ กติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิพลเมือง และสิทธิในทางการเมือง ปีค.ศ.๑๙๖๖ ที่ออกตามความในปฏิญญาสากลฯ ที่ว่านั้น ก็ปรากฏความเช่นที่ว่านี้ ในบทบัญญัติที่ ๑๙ เช่นกัน ในเรื่องสิทธิของการแสดงออกของบุคคลใดๆ (the Right to the Expression) ประเทศไทย มีพันธกรณี ที่ต้องปฏิบัติตามนี้ โดยเคร่งครัด ไม่ทำไม่ได้
๕.กติกาสากลว่าด้วยสิทธิพลเมือง และ สิทธิในทางการเมือง เมื่อมีผลบังคับแล้วต่อประเทศไทย ย่อมให้สิทธิ ในการประกันตัว แก่จำเลยในคดีนี้ เป็นหลัก การไม่ให้ประกันตัว กลายเป็น ข้อยกเว้นของกฏหมาย
๖. โดย วิธีการของการใช้ข้อยกเว้น ไปจำกัดตัดสิทธิผู้ใด ตามที่ปรากฏ ในความ ตามที่บัญญัติไว้ในสนธิสัญญา จะต้องใช้ การตีความอย่างแคบที่สุด เท่าที่จะเป็นไปได้ ไม่ใช่ใช้การตีความอย่างกว้าง
๗. ดังปรากฏความของกฏเกณฑ์เหล่านี้ ในสนธิสัญญากรุงเวียนนา ว่าด้วย สนธิสัญญาและผลของสนธิสัญญาปีค.ศ.๑๙๖๘
๘. การไม่ให้ประกันตัว จึงเป็น การหน่วงเหนี่ยวอิสรภาพส่วนบุคคล หรือ ทำให้เสื่อมเสียเสรีภาพในส่วนบุคคล ที่ไม่มี ศาลใดกล้าปฏิบัติในโลก
๙. การไปกระทำการอย่าง ที่กล่าวมานี้ จะกลับกลาย เป็นการทำให้ ศาลทหาร ก้าวล่วงต่อ สนธิสัญญา CAT, 1984 ที่ไทย มีพันธกรณีต่อนานาชาติ และองค์การสหประชาชาติในปีค.ศ.๑๙๘๘ (ไทยให้สัตยาบันรับรองสนธิสัญญานี้แล้ว) ทั้งตามรัฐธรรมนูญ (ฉบับชั่วคราว) ปีพ.ศ. ๒๕๕๗ ซึ่ง [เป็นกฏหมายเถื่อน] ที่บัญญัติรับรอง ในเรื่อง การที่ประเทศไทย ต้องถูกผูกมัดตามพันธกรณีระหว่างประเทศ (ให้ท่านทั้งหลายไปพลิกอ่านดู) และในเรื่องผลบังคับของกฏหมายระหว่างประเทศ หรือ International Law ในเรื่อง กฏหมาย อันมีที่มาจาก สนธิสัญญา ที่ดำรงสถานะสูงกว่า กฏหมายภายในของประเทศไทย ตามหลักการ ทฤษฎีกฏหมายรัฐธรรมนูญ หรือ Constitutionalism อันแพร่หลาย.
๑๐. การจับกุม และคุมขัง หรือจองจำ บุคคลใดๆ นับได้ว่า เป็น การกระทำที่เป็น การทรมานจิตใจบุคคล ซึ่งนับได้ว่า เป็นการกระทำ โดยทรมานในรูปแบบหนึ่งตามความที่บัญญัติไว้ในสนธิสัญญาฉบับนี้อยู่ในตัวเอง (Per se’)
๑๑. ให้อ้างคดี Filartiga v. Pena Irla-la ที่ตัดสิน และ ตีความโดยศาลอุทธรณ์เขตที่ ๒ ของสหรัฐอเมริกา ที่ทำหน้าที่อย่างเป็นศาล Supreme Court (ศาลรัฐธรรมนูญของสหรัฐฯ) ตามระบบกฏหมายภายใน ของสหรัฐอเมริกา ที่โลกทั้งใบ ยอมรับโดยดุษฎี ทั้งนี้ศาลอุทธรณ์ ที่อ้างถึงนี้ ได้พิพากษา โดยวางหลักเกณฑ์นี้ ไว้ในปีค.ศ. ๑๙๘๐ - ๑๙๘๒ ที่ประชาคมโลก ทุกๆประชาคม รวมทั้ง องค์การสหประชาชาติ ก็ต้องให้ การยอมรับ ในผลของคดีนี้ รวมทั้งคำอธิบาย และ มีผลบังคับทั่วไป ในโลกใบนี้อยู่ในตัวเองแล้ว."
เอวัง ก็มีด้วยประการ ฉะนี้

No comments:

Post a Comment