Sunday, July 5, 2015

ดร.ทักษิณ ชินวัตร สามัญชนผู้ยิ่งใหญ่ ผู้นำวิสัยทัศน์ระดับโลก life the era of microchip medicine



Download



รู้กันหรือยัง ทักษิณไปทำอะไรในงานประชุมทางการแพทย์

กระทู้สนทนา
ทักษิณไปทำอะไรที่อิมพีเรียล คอลเลจ?



เมื่อเดือนที่แล้ว ไอจีของพานทองแท้ ลงรูปทักษิณที่ลอนดอน
บอกว่าไปประชุมที่อิมพีเรียล คอลเลจ
ตั้งข้อสงสัยให้ทั้งฝ่ายตรงข้ามและนักวิทย์ทั้งหลายว่า
แม้วไปทำแป๊ะอะไรที่นั่น ไม่ยักมีอะไรน่าเกี่ยวข้องกัน ขนาดผมยังสงสัยเลย
เพราะที่งานประชุมเป็นงานสายพันธุศาสตร์ ไม่ใช่ด้านสมุนไพรที่แม้วชอบพูด
แบบว่าถ้าประชุมเรื่องถั่งเช่านี่ไม่น่าแปลก



ดูความเคลื่อนไหวจากโอ๊ค ก็เห็นว่าไม่มีการขยายความอะไรต่อ
เหมือนแม้วบินไปเที่ยวแล้วบินกลับ ฝ่าย IO ตลกๆ
พวกเสธน้ำเงินก็บอกว่ารูปตัดต่อไปซะนั่น



ผมอดรนทนไม่ไหว สงสัยแท้สงสัยว่า เลยไปขุดหาข้อมูลดู



ปรากฏว่า ไปจริง เชิญไปจริง และไปนั่งฟังจริง แถมในการบรรยาย ผู้บรรยายยังกล่าวถึงและอ้างอิงทักษิณด้วย พ่ะน่ะ



ในการบรรยายเกเบอร์ (Gabor Lecture) ของศาสตราจารย์ คริส โทมาโซ (Regius
Professor Chris Toumazou) เรื่อง U + life the era of microchip medicine



ศ.โทมาโซ นักวิทยาศาสตร์ลูกครึ่งชาวกรีก/ไซปรัส
ได้บรรยายถึงการที่เขาได้พบกับทักษิณในปี 2003
ช่วงที่ทักษิณยังดำรงตำแหน่งนายกฯ อยู่
และทักษิณได้แนะนำให้เขารู้จักกับเครก เวนเตอร์
ที่เป็นหัวหน้าที่ปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ของทักษิณ



ทำให้เขากับเวนเตอร์ได้ทำงานร่วมกัน ในการเปลี่ยนแปลงระบบการอ่านลำดับจีโนม
(Genome sequencing)
จากการต้องทุ่มเงินเป็นพันล้านเหรียญในโครงการของคลินตันเพื่ออ่านลำดับจีโน
มมนุษย์เพียงจีโนมเดียว ให้มาเป็นการใช้ไมโครชิปฝัง DNA
ในการอ่านลำดับจีโนม



ศ.โทมาโซ เลยตั้งบ.ชื่อ DNA Electronics มารับทุนจากทักษิณ กับ
นักธุรกิจมาเลย์ พอเจอ เครก เวนเตอร์ ที่ทักษิณแนะนำให้รู้จักที่กรุงเทพ
เลยปิ๊งวิธีที่เปลี่ยนการจ่ายกระแสไฟฟ้าลงบนไมโครชิป เป็นการใช้ DNA
ลงในไมโครชิป และถอดรหัสอ่านลำดับจีโนม



ทำให้เครื่องอ่านลำดับจีโนมที่ใช้กันอยู่ใน ร.พ. หลักๆ ทุกแห่งในโลก ใช้เทคโนโลยีนี้ ไม่ต้องมีแล็บใหญ่ๆ อีกต่อไป



ซึ่งการค้นพบนี้
ทำให้สามารถจัดการและผลิตยาที่เหมาะกับยีนของแต่ละคนได้อย่างรวดเร็ว เป็น
Bespoke medicine หรือ "ยาสั่งทำเฉพาะตัว" ซึ่งบริษัทยาใหญ่ๆ อย่าง Roche
ได้ขอใช้สิทธิบัตรไปทำแล้ว



นอกจากนี้ ยังทำให้การอ่านลำดับจีโนมง่ายขึ้น
ขยายการแพทย์ไปสู่ดินแดนที่คนยากจนและอดอยาก ทำให้ยาและการรักษาเฉพาะชนชาติ
ชนเผ่า ที่มียีนแตกต่างจากคนทั่วไป ง่ายขึ้นด้วย



ทำให้ ศ.โทมาโซ ได้รับรางวัล European Inventor Award ในปี 2014 และมาบรรยายเกเบอร์ในปี 2015 นี้



ในงานนี้ เนื่องจากทักษิณเป็นบุคคลสำคัญที่ทำให้เกิดการร่วมงานขึ้น (ศ.
โทมาโซ ถึงกับใช้คำว่า inspired by this two gentlemen) เขาถึงเชิญไป
พร้อมกับบุคคลสำคัญท่านอื่นๆ เช่น ดยุคแห่งยอร์ค รอน เดนนิส(ผู้ก่อตั้งทีม
F1 แมคลาเรน) ฯลฯ



แก้ไขเพิ่มเติม: 30/06/2015 17:09



อธิบายเรื่องการอ่านลำดับจีโนม และผลที่ได้จากการอ่านลำดับจีโนม



แก้ไขเพิ่มเติม: 30/06/2015 19:02



แก้ไขคำแปลของ Genome sequencing เป็น การอ่านลำดับจีโนม ตามคำแนะนำของ อ.เจษฎา เด่นดวงบริพันธุ์



- จีโนม คือ พันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต ที่กำหนดสภาพทั้งหมดของสิ่งมีชีวิตนั้นๆ ไม่ว่าจะเป็นอวัยวะ ความแข็งแรง ความบกพร่อง โรคต่างๆ

- การอ่านลำดับจีโนม (Genome sequencing) เป็นกระบวนการเพื่อถอดรหัสพันธุกรรม เพื่อหาการทำงานของจีโนม

- การอ่านลำดับจีโนมได้ เป็นต้นทางของการทำยีนบำบัด (Genotherapy) เพื่อรักษาโรคที่เกิดจากพันธุกรรม และผลิตยาที่ได้ผลเฉพาะตัว

- รัฐบาลคลินตัน ใช้งบประมาณกว่า 3 พันล้าน $ ในการถอดรหัสจีโนมมนุษย์ ในโครงการ Human genome project

- ปัจจุบันการถอดรหัสอ่านลำดับจีโนมทำได้ง่ายขึ้นมาก และใช้เงินน้อยลงมาก
เนื่องจากการพัฒนาเทคโนโลยีสมัยใหม่ โดยเฉพาะ เคร็ก เวนเตอร์
ซึ่งเป็นนักวิทยาศาสตร์และคิดค้นเทคโนโลยีถอดรหัสจีโนมเอกชน
(และเป็นหัวหน้าที่ปรึกษาวิทยาศาสตร์ของทักษิณ)



ลองดูเล็คเชอร์ครับ https://www.youtube.com/watch?v=54Fcn4-m1J0&feature=youtu.be&t=38m55s



http://www3.imperial.ac.uk/newsandeventspggrp/imperialcollege/newssummary/news_24-6-2015-16-10-6



ข่าวจากสำนักข่าวต่างๆ

http://www.theguardian.com/business/2014/jul/27/christopher-toumazou-lab-chip-dna-european-inventor-award



http://www.wired.co.uk/magazine/archive/2011/11/features/the-data-will-see-you-now/



สรุปว่า อีตาโอ๊คยังไม่รู้เลยว่าพ่อตัวเองทำอะไรอยู่ ว่าซั่น = = การมีพ่อเก่งกว่าตัวเองนี่ลำบากเนอะ









ที่มา

https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10152832067966809&set=a.179824101808.128902.684336808&type=1







84

McLeod



 











No comments:

Post a Comment