Tuesday, April 14, 2015

พระบิดาแห่งการปล้นประชาธิปไตย (ของคนไทย)



หลายคนเชื่อว่า กษัตริย์ภูมิพลไม่ได้ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง และถามหาหลักฐาน
ฝ่ายที่เชื่อว่า ยุ่งด้วยแน่ ๆ นั้น อธิบายเชิงโครงสร้างอำนาจและการใช้กลไกต่าง ๆ
เพื่อเสริมบารมีและเอื้อผลประโยชน์ให้กับเจ้าไทย และคนที่ร่วมเครือข่าย
และหนึ่งในหลักฐาน ก็คือ การร่วมมือกับทหารที่เจ้าเชื่อใจ ในการล้มอำนาจของประชาชน ด้วยการรัฐประหาร ซึ่งได้ทำมาอย่างสม่ำเสมอและยาวนาน จนทำให้สถิติเด่นชัด สมพระเกียรติอันเกรียงไกร
ในฐานะ "พระบิดาแห่งการปล้นประชาธิไตย (ของคนไทย)"
 
         


ข้อมูลที่เรียบเรียงโดย  krapook.com ระบุไว้ดังนี้ครับhttp://hilight.kapook.com/view/76346


 เมื่อวันที่ 19 กันยายน 2555 องค์กร The Center for Systemic Peace (CSP) ได้ทำการรวบรวมข้อมูลการทำรัฐประหารในประเทศต่าง ๆ ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1946 - 2010 (พ.ศ. 2489 - 2553) หรือในรอบ 64 ปีที่ผ่านมา โดยกำหนดให้นิยามของการทำรัฐประหาร หมายถึง การใช้กำลังเข้ายึดอำนาจบริหารสูงสุดโดยกลุ่มการเมืองภายในประเทศ อันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของขั้วอำนาจ

          โดยข้อมูลจะนับรวมทั้งรัฐประหารที่ทำสำเร็จ, รัฐประหารที่ไม่สำเร็จ, รัฐประหารที่่เป็นเพียงแผนการยังไม่ได้ลงมือ และรัฐประหารที่ถูกกล่าวหาว่ากำลังวางแผน แต่จะไม่นับรวมการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง การลุกฮือของประชาชน สงครามกลางเมือง การลงจากอำนาจโดยสมัครใจ การส่งต่ออำนาจให้ทายาททางการเมือง การเสียชีวิตของผู้นำ การลอบสังหารผู้นำ และการถูกรุกรานจากกองกำลังต่างชาติ

จากการสำรวจพบว่า ประเทศที่มีการรัฐประหารมากที่สุดเรียงตามลำดับ มีดังนี้

 1. ประเทศซูดาน มีการทำรัฐประหาร 31 ครั้ง
 2. ประเทศอิรัก มีการทำรัฐประหาร 24 ครั้ง
 3. ประเทศโบลิเวีย มีการทำรัฐประหาร 19 ครั้ง
 4. ประเทศกินี-บิสเซา, ซีเรีย โตโก และไทย มีการทำรัฐประหาร 17 ครั้ง (+1)
 5. ประเทศบุรุนดี และชาด มีการทำรัฐประหาร 16 ครั้ง
 6. ประเทศอาร์เจนตินา, กานา, กินี มีการทำรัฐประหาร 15 ครั้ง

          นอกจากนี้ ประเทศไทยยังติดอันดับ 1 ใน 8 ประเทศ (กาน่า, ไทย, ชาด, กินี-บิสเซา, ซูดาน, โตโก, กินี และบุรุนดี) ที่ยังมีรัฐประหารเกิดขึ้นตั้งแต่หลังปี 2000 (พ.ศ. 2543) เป็นต้นมา อีกด้วยเช่นกัน
          ทั้งนี้ สำหรับสถิติการก่อรัฐประหารในประเทศอื่น ๆ มีดังนี้ เซียร่า-ลีโอน (14), ปานามา (13), กัมพูชา (12), ฟิลิปปินส์ (11), บังกลาเทศ (8), พม่า (6), ลาว (6), อินโดนีเซีย (5), ปากีสถาน (5), เนปาล (5), แคเมอรูน (4), เกาหลีใต้ (3), เกาหลีเหนือ (2), อินเดีย (1), ซาอุฯ (1) และศรีลังกา (1)



No comments:

Post a Comment