โดย ทีมงานกฎหมายภาคีไทยเพื่อสิทธิมนุษยชน
เครดิตจาก http://tahr-global.org/?page_id=22168 และ http://tahr-global.org/?p=22171
การส่งผู้ร้ายข้ามแดนเป็น
ช่องทางหนึ่งที่ประชาคมระหว่างประเทศ ใช้ในการติดตามจับกุมผู้กระทำความผิด
หรือผู้ถูกกล่าวหา ที่หนีไปประเทศอื่น โดยปกติแล้ว
อำนาจอธิปไตยของรัฐย่อมจำกัดเฉพาะภายในดินแดนหรืออาณาเขตของตนเท่านั้น
ตามกฎหมายระหว่างประเทศ
รัฐหนึ่งจะใช้อำนาจอธิปไตยเหนือกว่าอีกรัฐหนึ่งโดยที่รัฐนั้นไม่ยินยอมไม่
ได้ ดังนั้น เมื่อผู้ถูกกล่าวหาหรือจำเลยได้ไปอยู่ต่างประเทศ
รัฐเจ้าของสัญชาติของผู้ถูกกล่าวหา หรือจำเลย
จะส่งเจ้าหน้าที่ของรัฐไปจับกุมในต่างประเทศไม่ได้
เพราะเป็นการละเมิดอำนาจอธิปไตยของรัฐอื่น ดังนั้น
รัฐเจ้าของสัญชาติจึงต้องร้องขอให้มีการช่วยเหลือที่จะติดตามจับกุมผู้ต้อง
หาหรือจำเลยมาให้ โดยปกติแล้ว
ความร่วมมือระหว่างประเทศในเรื่องการส่งผู้ร้ายข้ามแดน
จะกระทำในรูปของสนธิสัญญาทวิภาคีการส่งผู้ร้ายข้ามแดน
ซึ่งเป็นฐานของความร่วมมือระหว่างรัฐที่ร้องขอให้มีการส่งผู้ร้ายข้ามแดน
(Requesting state) กับรัฐที่ถูกร้องขอให้ส่งผู้ร้ายข้ามแดน (Requested
state) อย่างไรก็ดี หากไม่มีสนธิสัญญาระหว่างกัน รัฐก็สามารถใช้
“หลักต่างตอบแทน” (Reciprocity) ได้ (ซึ่งผิดกับกรณี “การโอนตัวนักโทษ”
ที่ต้องมีสนธิสัญญาระหว่างรัฐที่ร้องขอกับรัฐที่ได้รับการร้องขอเสมอ)
อย่างไรก็ดี แม้จะมีสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนก็ตาม
ก็มิได้หมายความว่าเมื่อมีการร้องขอให้มีการส่งผู้ร้ายข้ามแดนแล้ว
รัฐที่ได้รับการร้องขอจะต้องส่งให้ตามคำร้องเสมอ โดยปกติแล้ว
ตามสนธิสัญญาว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน
หรือกฎหมายภายในเกี่ยวกับการส่งผู้ร้ายข้ามแดน
จะระบุเงื่อนไขหรือเกณฑ์ที่ใช้พิจารณารวมถึงข้อยกเว้นบางประการด้วย
เกณฑ์หรือเงื่อนไขของการส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่สำคัญคือ
ประการเเรก
ความผิดที่จะส่งให้แก่กันได้นั้นต้องเป็นความผิดของทั้งสองประเทศ
คือทั้งของประเทศที่ร้องขอ และประเทศที่ได้รับการร้องขอ
ไม่ว่าจะเรียกฐานความผิดในชื่อใดก็ตาม เกณฑ์นี้นักกฎหมายเรียกว่า
Double-criminality หรือ Double-jeopardy
ประการที่สอง โทษขั้นต่ำของฐานความผิด (เช่น ต้องไม่ต่ำกว่า 1 ปี)
ประการที่สาม
ความผิดที่จะถูกดำเนินคดีได้เมื่อมีการส่งผู้ร้ายข้ามแดนตามคำขอนั้น
รัฐที่ร้องขอจะพิจารณาคดีเเละลงโทษได้เฉพาะความผิดที่ร้องขอเท่านั้น
จะไปดำเนินคดีในความผิดฐานอื่นที่เกิดขึ้นก่อนที่จะมีการร้องขอให้มีการส่ง
ผู้ร้ายข้ามแดนไม่ได้
เกณฑ์ข้อนี้มีไว้เพื่อป้องกันมิให้มีการดำเนินคดีในความผิดที่ไม่อาจส่ง
ผู้ร้ายข้ามแดนให้เเก่กันได้
แต่รัฐได้อาศัยช่องทางของการส่งผู้ร้ายข้ามแดนในความผิดฐานหนึ่ง
เพื่อไปดำเนินคดีหรือลงโทษในอีกความผิดฐานหนึ่ง เกณฑ์นี้เรียกว่า
“Specialty”
ความผิดทางการเมือง (Political Offenses)
เป็นที่ยอมรับกันในหมู่ประเทศตะวันตกหลังการปฏิวัติฝรั่งเศสว่า
การแสดงความคิดเห็นทางการเมืองที่แตกต่างกันเป็นสิ่งปกติในสังคมระบอบ
ประชาธิปไตย และเป็นสิทธิมนุษยชนที่สำคัญยิ่ง ดังนั้น
หากบุคคลได้กระทำความผิดที่มีลักษณะทางการเมืองแล้ว
ความผิดทางการเมืองย่อมไม่อยู่ในข่ายที่จะส่งผู้ร้ายข้ามแดน
ปัญหาก็คือ
สนธิสัญญาทวิภาคีส่งผู้ร้ายข้ามแดนก็ดี
กฎหมายภายในของรัฐเกี่ยวกับการส่งผู้ร้ายข้ามแดนก็ดี
ไม่ได้มีการให้คำนิยามว่า ความผิดทางการเมืองคืออะไร โดยปกติแล้ว
การพิจารณาว่าความผิดใดเป็นความผิดอาญาธรรมดาหรือความผิดทางการเมืองนั้น
เป็นดุลพินิจหรือเป็นปัญหาการตีความขององค์กรตุลาการของรัฐ
ที่ได้รับการร้องขอให้มีการส่งผู้ร้ายข้ามแดน
ไม่เกี่ยวกับรัฐที่ร้องขอแต่อย่างใด
ปัญหาขอบเขตของความหมายความผิดทางการเมืองนั้นเป็นปัญหาที่มีความยุ่ง
ยากอยู่มิใช่น้อย เนื่องจากเกณฑ์ที่ใช้พิจารณานั้นมีอยู่หลายเกณฑ์
และในหลายกรณีศาลก็มิได้อาศัยเกณฑ์หนึ่งเกณฑ์ใดเป็นปัจจัยชี้ขาด
แต่ศาลอาจพิจารณาเกณฑ์อื่นๆ ควบคู่กันไป
อีกทั้งทางปฏิบัติของแต่ละประเทศก็มีความแตกต่างกันไปด้วย
การกระทำบางอย่างอาจมองว่าเป็นความผิดทางการเมืองอย่างแจ้งชัด เช่น
การประท้วงทางการเมือง การก่อกบฏ
การต่อสู้เพื่อแย่งชิงอำนาจทางการเมืองหรือต่อสู้เรียกร้องเอกราช
การวิพากษ์วิจารณ์ทางการเมือง เป็นต้น
การกระทำเหล่านี้นักกฎหมายใช้เกณฑ์ที่เรียกว่า “Incident test”
อย่างไรก็ดี ความผิดทางการเมืองในปัจจุบันมิได้จำกัดแค่
“ความผิดทางการเมือง” (political offense) แต่เพียงอย่างเดียว แต่อาจรวมถึง
“ความผิดที่เกี่ยวข้องหรือเชื่อมโยงกับความผิดทางการเมือง” (an offense
connected with a political offense) ด้วยอย่างเช่น
กฎหมายส่งผู้ร้ายข้ามแดนระหว่างประเทศอังกฤษกับไอร์แลนด์ ฉะนั้น
ปัจจุบันนักกฎหมายบางท่านจึงใช้คำว่า ความผิดที่มีลักษณะทางการเมือง
(Political character) แทน
นอกจากนี้
ความผิดทางการเมืองมิได้จำกัดเพียงแค่ “การกระทำ” (act)
ของผู้กระทำแต่เพียงอย่างเดียวอย่างที่เข้าใจกัน
แต่รวมถึงปัจจัยอย่างอื่นด้วย เช่น
แรงจูงใจของรัฐบาลที่ร้องขอให้มีการส่งผู้ร้ายข้ามแดน
ว่ามีแรงจูงใจทางการเมืองแอบแฝงหรือไม่ ที่เรียกว่า “Political Motive of
the Requesting State” หรือ
การปฏิบัติต่อผู้ต้องหาหรือจำเลยในเรื่องเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งสิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม (Fair Trail)
หากศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า สิทธิมนุษยชนต่างๆ ของจำเลย
หรือผู้ถูกกล่าวหาจะถูกละเมิด ศาลก็อาจปฏิเสธที่จะส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพยานหลักฐานที่ผู้ถูกกล่าวหาหรือจำเลยจะต้องแสดงให้ศาล
เห็นว่า สิทธิการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมหรือสิทธิมนุษยชนอื่นๆ
ของตนจะถูกละเมิดได้
ยิ่งไปกว่านั้น
ศาลของหลายประเทศยังได้ให้ความสำคัญกับระบอบการปกครองของประเทศที่ร้องขอให้
มีการส่งผู้ร้ายข้ามแดนด้วยว่ามีระบอบการปกครองที่เป็นประชาธิปไตยมากน้อย
แค่ไหน มีการรับรองหลักนิติรัฐหรือไม่ เกณฑ์นี้เรียกว่า “The Political
Structure of the Requesting State” เกณฑ์นี้ศาลอังกฤษเคยใช้ในคดี
Kolczynski โดยศาลอังกฤษปฏิเสธที่จะส่งผู้ร้ายข้ามแดนไปให้ประเทศโปแลนด์
ซึ่งพิจารณาตามมาตรฐานของประเทศอังกฤษ (หรือประเทศตะวันตก) แล้ว
โปแลนด์ในเวลานั้นยังไม่เป็นประชาธิปไตยตามมาตรฐานของประเทศตะวันตก
No comments:
Post a Comment